pandapurpose ความมุ่งมั่นตอบแทนสังคมของ foodpanda - Forbes Thailand

pandapurpose ความมุ่งมั่นตอบแทนสังคมของ foodpanda

foodpanda เผยแพร่รายงานด้านสังคมฉบับแรก ในธีม “pandapurpose 2021” เน้นย้ำถึงความคิดริเริ่มที่บริษัทได้ทำเพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในเอเชีย ในฐานะแพลตฟอร์มอาหาร และของกินของใช้แนวหน้าแห่งเอเชีย

รายงาน pandapurpose 2021 นำเสนอการดำเนินงานของ foodpanda ใน 12 ตลาด ได้แก่ บังกลาเทศ กัมพูชา ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ปากีสถาน สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และฟิลิปปินส์ ในการสนับสนุนไรเดอร์ ร้านค้า และลูกค้า ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

foodpanda ได้จัดสรรงบประมาณกว่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อช่วยเหลือให้ชุมชนสามารถเติบโตได้ ผ่านการส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (MSMEs) ด้วยนวัตกรรมของดิจิทัลใหม่ๆ และการเสริมสร้างศักยภาพให้ไรเดอร์ในเอเชีย และอีกหลากหลายโครงการ เช่น โครงการท้องถิ่นในปากีสถาน และบังกลาเทศที่ช่วยให้ผู้ประกอบการหญิงได้มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจมากขึ้น ผ่านโครงการ Home Chef ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา
Jakob Sebastian Angele ซีอีโอแห่ง foodpanda ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญของปี 2021 และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความยั่งยืนทั่วภูมิภาค ตั้งแต่ foodpanda ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2012 เรายึดมั่นใน core value ของเราคือพรุ่งนี้ต้องดีขึ้นร้อยละ 1” (get 1% better every day) เราต่อยอดเทคโนโลยี มาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ผู้คนนับล้าน เพราะเราเชื่อว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ต่อยอดธุรกิจ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และสร้างพื้นที่ที่เกิดประโยชน์กับระบบนิเวศของเรา ทั้งพันธมิตรร้านค้า ไรเดอร์ และลูกค้า Jakob Sebastian Angele ผู้นั่งเก้าอี้ซีอีโอแห่ง foodpanda ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว

โดย รายงานด้านสังคมฉบับแรกนี้ พูดถึงเป้าหมายหลัก 3 ด้าน ซึ่งอยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ของ foodpanda อันประกอบไปด้วย ผู้คน ความก้าวหน้า และสิ่งแวดล้อม

ผู้คน: ส่งเสริมการเติบโตของชุมชน 

foodpanda เชื่อว่าสังคมจะเติบโต ก็ต่อเมื่อมีระบบนิเวศที่ส่งเสริมและเอื้อให้ธุรกิจท้องถิ่นสามารถเติบโตและไปต่อได้

ในปี 2021 ทางบริษัทได้ลงทุน 29 ล้านเหรียญ เพื่อสนับสนุนธุรกิจ MSMEs ทั่วทั้งภูมิภาค เช่น ร้านค้าในตลาดสดในไทยและไต้หวัน ร้านโชห่วยในมาเลเซียและฟิลิปปินส์ และร้านค้าริมถนนในสิงคโปร์ โดยเป็นการช่วยเหลือด้านนวัตกรรมดิจิทัล ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มช่องทางหารายได้และเชื่อมต่อกับลูกค้าแบบออนไลน์ได้

นอกจากนี้ foodpanda ยังได้บรรเทาสถานการณ์คนตกงานผ่านการจ้างไรเดอร์รายใหม่กว่า 370,000 คนในปี 2021 อีกทั้ง มีการลงทุนเพิ่มถึง 6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อพัฒนาสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ของไรเดอร์ ไม่ว่าจะเป็นการอบรมด้านความปลอดภัย ประกัน และการช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับการซื้อจักรยานหรือมอเตอร์ไซค์

ทางบริษัทยังจัดสรรงบอีก 500,000 เหรียญ เพื่อสนับสนุนรัฐบาลท้องถิ่นและชุมชนในการบรรเทาสถานการณ์โควิด ผ่านการจัดส่งอาหาร ของใช้จำเป็น และอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ขาดแคลน รวมถึงส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนผ่านความร่วมมือกับกระทวงสาธารณสุขของแต่ละประเทศอีกด้วย

ความก้าวหน้า: ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมดิจิทัลและการมีส่วนร่วมแบบไม่แบ่งแยก 

ในปี 2021 foodpanda ทำให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทด้านเศรษฐกิจมากขึ้น โดยมีจำนวนไรเดอร์ผู้หญิงเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า และส่งเสริมธุรกิจของผู้ประกอบการหญิงในแพลตฟอร์มผ่านโครงการ Home Chef

นอกจากนี้ยังมีการลงทุน 91,000 เหรียญ เพื่อพัฒนาศักยภาพไรเดอร์ ในฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ และไต้หวัน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา การพัฒนาตนเอง และการตลาด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานในอนาคต

ในสิงคโปร์ foodpanda มีการอบรม 19,500 ชั่วโมงเพื่อส่งเสริมคนทำงานระดับ mid-career ให้ก้าวสู่การเป็นวิศวกรข้อมูลและซอฟต์แวร์ผ่านโปรแกรม GoSchool และ #GetReadySG และยังได้ลงทุนกว่า 70,000 เหรียญในด้านสุขภาพจิต และมีแอปสำหรับการดูแลจิตใจให้แก่พนักงานและไรเดอร์อีกด้วย

สิ่งแวดล้อม: สร้างคนรุ่นใหม่ หัวใจสีเขียว

ในฐานะบริษัทขนาดใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจใน 12 ประเทศทั่วเอเชีย foodpanda ได้ริเริ่มโครงการด้านเทคโนโลยีเพื่อเชิญชวนให้ร้านค้า ไรเดอร์ และลูกค้า ใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โดยทางบริษัทได้ร่วมกับพาร์ทเนอร์ในประเทศต่างๆ เดินหน้าทำโครงการเกี่ยวกับความยั่งยืนด้านอาหาร และลดขยะพลาสติกเพื่อช่วยลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งเป็นความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญต่อธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ในปี 2021

foodpanda ลดการใช้ช้อนส้อมพลาสติกได้ถึง 900 ล้านชิ้น ผ่านฟีเจอร์ในแอปที่ให้ลูกค้าเลือกไม่รับช้อนส้อมพลาสติก และยังมีสินค้ายั่งยืน กว่า 25,000 ชนิด (เช่น อาหาร plant-based) ให้เลือกซื้อผ่าน pandamart และ foodpanda shops โดยฮ่องกงและไต้หวันเป็นตลาดแรกของทางบริษัทที่มีการมอบตราสัญลักษณ์ “ร้านค้าสีเขียวให้กับร้านค้าพันธมิตร ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 70 ร้าน ที่ได้รับการรับรองจาก foodpanda โดยโมเดลนี้จะขยายสู่ตลาดอื่น ๆ ในปี 2022

อีกทั้ง ในปี 2021 foodpanda สิงคโปร์ เป็นแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่เจ้าแรกที่มีเมนู cultured-meat จำหน่าย โดยร่วมมือกับ GOOD Meat อีกด้วย

นอกจากนี้ ทางบริษัทยังมีเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกิดจากการจัดส่งอาหาร จึงรณรงค์ให้ใช้วิธีจัดส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผลที่ได้คือ กว่าร้อยละ 20 ของ foodpanda ไรเดอร์ทั่วเอเชีย เปลี่ยนวิธีการจัดส่งเป็น การเดิน การขี่จักรยาน หรือการใช้ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้าแทน

ก้าวต่อไปในปี 2022 และในอนาคต

รายงานด้านสังคมฉบับแรกนี้ตอกย้ำความมุ่งมั่นของ foodpanda ในการเติบโตไปพร้อมกับระบบนิเวศอันประกอบไปด้วยไรเดอร์ ร้านค้า และลูกค้า ใน 11 ตลาดทั่วเอเชีย foodpanda จะขยายโครงการเพื่อสังคมต่อไปในปี 2022 และในอนาคต ผ่านการส่งเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยนวัตกรรมดิจิทัล

อ่านเพิ่มเติม: oHouse สุดยอดแอปพลิเคชันด้านไลฟ์สไตล์แห่งเกาหลี


ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine