ไทยเบฟฯ สร้างชื่อ "ความยั่งยืน" ระดับโลก - Forbes Thailand

ไทยเบฟฯ สร้างชื่อ "ความยั่งยืน" ระดับโลก

ร่างประกาศเผยแพร่รางวัลด้าน "ความยั่งยืน" จากมาตรฐานดัชนีความยั่งยืน Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI ประจำปี 2020 ใน 2 เวอร์ชั่นได้ถูกจัดเตรียมเพื่อรอประกาศให้สังคมรับรู้ใน 2 เวอร์ชั่น เวอร์ชั่นที่ไม่ได้รับอันดับที่หนึ่งและเวอร์ชั่นสองที่ได้รับอันดับหนึ่ง 3 ปีซ้อน

ถึงแม้ประเมินจะออกมาด้านไหนสิ่งที่ โฆษิต สุขสิงห์ ผู้บริหารจากไทยเบฟฯ ได้กล่าวย้ำจากสัมภาษณ์กลุ่มกับสื่อมวลชนคือความภูมิใจของชาวไทยเบฟฯ ทั้งองค์กรที่รวมกันสร้างและพัฒนาความยั่งยืนโดยมีพนักงานและพันธมิตรธุรกิจเป็นหัวใจหลักร่วมกันส่งมอบความยั่งยืนให้กับโลกใบนี้ โดยปกติแล้วการประกาศผลมาตรฐานดัชนีความยั่งยืน Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI จะเกิดขึ้นเป็นประจำในอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนกันยายน แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 การประกาศผลจึงเลื่อนมาช่วงวันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน ราว 5 นาฬิกา โดยผลประกาศ ไทยเบฟฯ ได้รับการจัดอันดับ 1 เป็นปีที่ 3 ติดต่อกันในกลุ่มอุตสาหกรรม Food & Beverage จากบริษัทที่ยื่นสมัครแข่งขันทั้งหมด 48 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีบริษัทเข้าร่วม 34 แห่ง DJSI มีมิติการแข่งขัน 20 ด้าน ไทยเบฟฯ ทำคะแนนเต็มได้ 15 ด้าน เพิ่มขึ้นจาก 14 ด้าน ในปีที่ผ่านมา “แม้คู่แข่งเราเพิ่มขึ้น แต่เรายังทำคะแนนได้ดี” โฆษิต สุขสิงห์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มธุรกิจต่อเนื่อง และผู้บริหารสูงสุดสายธุรกิจเบียร์ประเทศไทย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าว สำหรับการจัดอันดับดัชนีความยั่งยืนของ DJSI นั้นเขาเรื่องมองการบริหารจัดการคุณค่าที่เน้นหลักในมิติ 3 ด้านได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมิติด้านเศรษฐกิจและสังคม ไทยเบฟฯ ทำได้คะแนนเต็มร้อย ขณะที่ด้านสิ่งแวดล้อมปีนี้เราได้ 96 % โดยใน มิติเศรษฐกิจ สิ่งที่ไทยเบฟฯ เน้นหลักคือแนวทางการจัดการโดยเฉพาะเรื่องการจัดการด้านภาษี เรื่องการจัดการด้านตราสินค้า บริหารจัดการเครือข่ายซัพพลายเชนอาทิเช่น ด้านโลจิสติกส์ ที่ในปีนี้มีเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเกี่ยวข้องกับรถบรรทุกสินค้าในด้านการปล่อยมลพิษ ด้านบริหารจัดการเครือข่ายซับพลายเชน ไทยเบฟฯ เน้นในเรื่องการจัดซื้อจัดหา การกระจายสินค้า การขาย การตลาด และการเก็บกลับ ปีนี้หลายองค์กรชูเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) ค่อนข้างเยอะ ในแง่ของเรื่องซัพพลายเชน ไทยเบฟฯ บริหารเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ดี โดยเรื่องของการเก็บกลับเราทำกับพันธมิตรค่อนข้างเยอะ เรามี case study อาทิ “สมุย โมเดล” ที่เราทำงานกับท้องถิ่น “ถ้าเราคิดว่าเราส่งผลิตภัณฑ์เรากลับไปบนเกาะคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ เราเก็บกลับมาคิดเป็น 125 เปอร์เซ็นต์ แปลเราเก็บของคนอื่นกลับมาด้วยและไปช่วยการหมุนเวียนของเศรษฐกิจบนเกาะเพราะไปทำการซื้อขายกับผู้ประกอบการท้องถิ่น” โฆษิต กล่าว สำหรับด้านโลจิสติกส์ ไทยเบฟฯ เองได้เซ็นความร่วมมือ MOU ระหว่าง ไทยเบฟฯ กับ ปูนซีเมนต์ไทย อาทิ การนำโรงเรียนที่ใช้อบรมพนักงานขับรถของทั้งสองแห่งมารวมกันและพัฒนาเป็น แพลตฟอร์ม การให้ความรู้ เรื่องของการขับขี่อย่างปลอดภัย เรื่องของการจัดการสิ่งแวดล้อม  เป็นต้น ผสานเทคโนโลยีบริหารน้ำและพลังงานให้ธุรกิจ สำหรับการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา ไทยเบฟฯ ได้นำเทคโนโลยีมาบริหารการจัดการทรัพยากรน้ำ ภายใต้ 3 คอนเซ็ปต์ หลักได้แก่ การปรับตัว, การบรรเทา และ ส่งต่อองค์ความรู้ ด้าน “การปรับ” ตัวนั้น ไทยเบฟฯ เน้นการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาวะอากาศโดยใช้เทคโนโลยีการจัดการจากีดาวเทียม ส่วนที่สองด้าน “การบรรเทา” ในเรื่องภัยแล้งจากพื้นที่ต่างๆ โดยนำเทคโนโลยีจากดาวเทียมมาวิเคราะห์โดยเฉพาะเรื่องของโฟล์วการไหลของน้ำที่ทำให้มองเห็นมากกว่าตาเปล่า “มีน้ำเต็มในแม่น้ำอยู่จริง แต่ในด้านคุณภาพไม่เหมือนเดิม” โดยภาพมุมสูงสามารถบอกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงการไหลเป็นแบบไหน ไปกว้านสิ่งอื่นจากชุมชนหรือโรงงานอื่นๆ ก่อตั้งขึ้นมาหรือไม่ และด้านสุดท้าย “ส่งต่อองค์ความรู้” ในการสร้างความรู้ให้กับสังคมที่อยู่รอบพื้นซึ่งเป็นแหล่งผลิตสินค้าของเราทั้งหมด โดยปีนี้เป็นปีแรกที่เราได้เริ่มสร้างความตระหนักให้กับชุมชนและปีถัดไป ต้องเป้าการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร่วมกัน “เราเป็นบริษัทเครื่องดื่มเพราะฉะนั้นน้ำถือว่าเป็นต้นทาง เป็นต้นน้ำของธุรกิจของเรา ปีนี้เราถือว่าเราประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากไม่ใช่แค่บริหารจัดการน้ำเพื่อตัวเราเอง เรานำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการน้ำกับสังคมที่อยู่รอบข้างเราด้วย” โฆษิตกล่าว สำหรับการใช้งานพลังงานทดแทน ตลอดปี 2019 ที่ผ่านมา ไทยเบฟฯ สามารถใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32 ของพลังงานทั้งหมด อาทิ ไบโอแมส ไบโอแก๊ส พลังงานไฟฟ้าจากโซล่าร์ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการลดอัตราการใช้พลังงานทดแทนร้อยละ 40 ในปี 2025 พื้นฐานความยั่งยืนประเทศไทย คำว่า "ความยั่งยืน" ถึงกำเนิดขึ้นราว 10 ปีที่ผ่านมา แต่ในมุมของคนทำธุรกิจแล้วนั้น ถ้าใครใส่ใจในการทำธุรกิจและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม ทุกคนจะตระหนักว่า “ความยั่งยืน” คือสิ่งที่จำเป็น เป็นเนื้อแท้ขององค์กร สำหรับไทยเบฟฯ ตั้งแต่การประกาศวิสัยทัศน์ 2020 มี 2 คีย์เวิร์ดสำคัญคือ “stable” และ “Sustainability” “สิ่งที่คุณฐปน พูดชัดเจนกับผู้บริหารทุกท่านว่า ไทยเบฟฯ ไม่ได้คาดหวังกับรางวัล แค่ต้องการแบ่งปันในสิ่งที่เราคิดว่าดีที่สุด และถ้าการทำตรงนั้นได้รางวัลกลับมาถือว่าเป็นผลพลอยได้ เราเริ่มจากมุมนี้มาตลอดและได้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงว่าสิ่งที่เราทำมาแต่เดิมมันถูกต้องอยู่แล้ว” โฆษิตกล่าว ไทยเบฟฯ ได้เข้าร่วมของการจัดอันดับดัชนี DJSI ตั้งแต่ 6 ปีก่อน เพียง 1 ปี ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสมาชิก Emerging Market และปีถัดไปอยู่ในอันดับสมาชิก world Member (World Index) สำหรับ การจัดอันดับดัชนีความยั่งยืนประจำปี 2020 มีบริษัทจากทั่วโลกเข้าร่วมราว 1,800 บริษัท เป็นจำนวนลดลงจากปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่จำนวน 1,600 บริษัท ความเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งของดัชนี DJSI ในปีนี้คือการเป็นส่วนของ SME Global ที่มีบริษัทซึ่งเป็นสมาชิกราวหมื่นกว่าบริษัท โดยมี 4,500 บริษัทได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการจัดอันดับความยั่งยืน “ประเทศไทยเรามี 12 บริษัท ที่เข้ามาอยู่ใน World Index และมี 8 บริษัทครองแชมป์อันดับหนึ่ง แนวคิดนี้ความยั่งยืนเกิดจากประเทศตะวันตก แต่คุณรู้สึกดีไหมว่ามีบริษัทไทย 12 บริษัทอยู่ในดัชนีและ 8 บริษัทเป็นเบอร์หนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรม ตอนเราเริ่มคอนเซ็ปต์ความยั่งยืน เราน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ เราเองก็กลับไปคิดว่าทำไมประเทศจึงมีบริษัทมากมายได้รับรางวัลนี้ อาจเป็นเพราะรากฐานของคนไทยกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหรือเปล่า” โฆษิต กล่าวและทิ้งท้ายว่า “คอนเซ็ปต์ของความยั่งยืนคือต้องไม่หยิบอนาคตมาใช้ในปัจจุบัน เราเห็นความแตกต่างนะครับว่าคนที่บริหารการจัดการได้อย่างยั่งยืนแปลว่าเขามีมุมมองบริหารจัดการคุณค่าที่อยู่รอบตัวและตอบโจทย์กับส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างรอบด้าน” อ่านเพิ่มเติม:  ดีแทค – อาซีฟา ผุด 5G โซลูชันบริหารพลังงานระบบไฟฟ้าอัจฉริยะครั้งแรกในไทย

ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine