เปิด 5 เมกะเทรนด์ Big Data ปี 65 - Forbes Thailand

เปิด 5 เมกะเทรนด์ Big Data ปี 65

Blendata เปิด 5 "เมกะเทรนด์ Big Data" ปี 2565 โควิด 19 เร่งการเชื่อมต่อโลกออนไลน์ ออฟไลน์ แบบเรียลไทม์ เกิดข้อมูลมหาศาล แนะธุรกิจเร่งปรับตัวยกระดับกลยุทธ์องค์กร รับมือการแข่งขันสูง เพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกิจออนไลน์ รองรับธุรกรรมดิจิทัลขยายตัว

ณัฐนภัส รชตะวิวรรธน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เบลนเดต้า จำกัด บริษัทผู้พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการ Big Data เปิดเผยว่า ในปี 2565 Big Data จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการยกระดับกลยุทธ์ต่างๆ ขององค์กร เพื่อรับมือการแข่งขันในยุคดิจิทัล ซึ่ง โรคระบาดโควิด-19 เป็นปัจจัยเร่งให้ทุกคนคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีและเชื่อมโลกออนไลน์เข้ากับออฟไลน์แบบไร้รอยต่อมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีข้อมูลจำนวนมหาศาลเกิดขึ้นในทุกวินาที ภาคธุรกิจมีความจำเป็นต้องเร่งปรับใช้ข้อมูลที่รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อก้าวสู่ผู้นำในการแข่งขัน ซึ่งหากช้ากว่าผู้เล่นรายอื่น ก็อาจเสียโอกาสทางธุรกิจและอาจถูกดิสรัปชันไปในที่สุด ทั้งนี้ข้อมูลจาก Forrester Research พบว่า ธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายด้านรายได้มากกว่าบริษัทที่ไม่เน้นการใช้ข้อมูลถึงร้อยละ 58 “ธุรกิจต้องการความเร็วในการนำข้อมูลไปปรับใช้เพื่อครองใจลูกค้า ซึ่งข้อมูลมหาศาล หรือ Big Data เป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจพฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภค สามารถคาดการณ์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและแก้ไขได้ทันท่วงที สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมทั้งเพิ่มประสบการณ์ที่ดีจากการให้บริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า รวมทั้งเพิ่มศักยภาพของระบบภายในองค์กร ซึ่งถือเป็นความท้าทายของภาคธุรกิจที่จะต้องพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการ Big Data จากทุกระบบขององค์กรให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ เพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดและสร้างความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนให้กับธุรกิจ” ณัฐนภัสกล่าว เปิด 5 เมกะเทรนด์ Big Data สำหรับ 5 เมกะเทรนด์ ปี 2565 Big Data ประกอบด้วย 1.Real-Time Data การวิเคราะห์ข้อมูลและใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ จะมีความสำคัญมากขึ้น จากการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้น ทุกวินาทีจึงมีความสำคัญ ความล่าช้านำมาซึ่งการเสียโอกาสทางธุรกิจไปทันที จากเทคโนโลยีเดิมที่อาจใช้เวลาจัดเก็บและรอประมวลผลวันต่อวัน องค์กรจึงต้องมองหาเทคโนโลยีที่สามารถประมวลผลแบบ Real-Time เพื่อเพิ่มความเร็วในการนำข้อมูลไปปรับใช้สำหรับกลยุทธ์ทางธุรกิจต่างๆ และสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัล การทำ Real-Time Analytics วิเคราะห์และประมวลผล Big Data แบบ Real-Time ช่วยให้สามารถตัดสินใจ แก้ไขปัญหา วางแผน ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ คาดการณ์แนวโน้มต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที หรือในด้านการนำ Real-Time Data ไปปรับใช้เพื่อทำกุลยุทธ์การตลาด เช่น การทำ Personalized Recommendation และ Next Best Action Marketing โดยใช้ Big Data มาช่วยวิเคราะห์ความต้องการและพฤติกรรมเชิงลึกของลูกค้า เพื่อแนะนำสินค้า บริการ หรือโปรโมชั่นให้ตรงกับความสนใจของลูกค้าแบบเจาะจงรายบุคคล รวดเร็ว ทันเทรนด์ในช่วงเวลาและช่องทางที่เหมาะสม จะช่วยส่งเสริมการขายให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสในการซื้อมากยิ่งขึ้น 2.การนำBig Data มาเสริมเฟรมเวิร์กในระบบ Cybersecurity & Risk ธุรกิจและผู้คนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจและอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตมากขึ้น การเก็บบันทึก Data ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมหาศาล เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภัยไซเบอร์ เช่น การโจรกรรมข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่หรือ Ransomware ซึ่งนับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรง ส่งผลเสียหายต่อข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลธุรกิจเป็นมูลค่ามหาศาล อีกทั้งยังส่งผลเชิงลบกับภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือขององค์กร การมีระบบ Security Analytics คือการตั้งรับการโจมตีทางไซเบอร์ทั้งเชิงรับและเชิงรุก โดยการรวบรวม Big Data ที่เกี่ยวข้องกับ Cybersecurity ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชั่นบนคลาวด์ หรือข้อมูลบันทึก (Log) ของอุปกรณ์โครงข่าย เพื่อค้นหาสาเหตุ ตรวจสอบเหตุการณ์ย้อนหลังจากข้อมูลที่ถูกเก็บไว้เป็นระยะเวลานาน เพื่อใช้แก้ไขปัญหาหรือวางแนวทางป้องกัน ผนวกกับเทคโนโลยี Artificial Intelligence และ Machine Learning หรือ AI/ML ให้สามารถตรวจจับความผิดปกติได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น “การใช้ Big Data ยังครอบคลุมถึงการตรวจสอบการทุจริต หรือ Fraud Analytics ทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์พฤติกรรมผิดปกติที่เข้าข่ายการทุจริต เช่น บัญชีธนาคารลูกค้าถูกโอนเงินออกจำนวนมหาศาล หรือมีหลายบัญชีถูกโอนเงินออกพร้อมกัน ซึ่งการตรวจสอบการทุจริตได้อย่างรวดเร็วจะช่วยสามารถลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้” ณัฐนภัสระบุ 3.การใช้ Big Data เพิ่มประสิทธิภาพกลยุทธ์ Omni-Channel Customer Experience การแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน เป็นยุคที่ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า จึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ โดยองค์กรจะต้องพัฒนาการสร้างประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) ให้ดีตลอด Customer Life Cycle เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่าและเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ ให้ได้รับการบริการแบบ Real-Time ไม่ว่าลูกค้าจะใช้บริการผ่านช่องทางออฟไลน์หรือออนไลน์ ซึ่งทุกช่องทางจะถูกรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อบริการที่ราบรื่นไม่มีสะดุด Big Data ที่รวบรวมจากทุกช่องทาง เช่น ข้อมูลจาก Offline Store ข้อมูลจาก Call Centre ข้อมูลคงคลัง ข้อมูลการขาย จนถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นในยุคโควิดอย่างโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ หรือ Online Store ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ คือกำลังสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพกลยุทธ์ Omni-Channel Customer Experience โดยรวมเป็นศูนย์ข้อมูลเพื่อให้เห็นทุกกิจกรรมของลูกค้าในลักษณะ Customer 360 และใช้วิเคราะห์พฤติกรรมเชิงลึกของลูกค้าอย่างละเอียด เพื่อนำมาพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง และนำไปต่อยอดในการบริหารการขาย รวมถึงพัฒนาบริการและสินค้าชนิดใหม่ 4.การเปลี่ยนเทคโนโลยีจัดการข้อมูลแบบเก่าเป็น Big  Data เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางด้านสารสนเทศให้กับองค์กร การจัดการและประมวลผลข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิม ที่องค์กรอาจมีใช้งานเป็นปกติอยู่แล้ว อาทิ การสร้างข้อมูลรายงานการขายประจำวัน การดูรายงานคงคลังประจำเดือนจากระบบฐานข้อมูลปกติ ซึ่งปัจจุบันเมื่อข้อมูลเริ่มมีขนาดใหญ่ และจัดเก็บอยู่ในหลายระบบ จึงทำให้เกิดค่าใช้จ่ายรวมถึงค่าดูแลรักษาระบบจัดการข้อมูลแบบเดิมที่ค่อนข้างสูง เมื่อถึงยุคปัจจุบันที่มีปัจจัยความเสี่ยงภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เช่นโควิด ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นโดยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมต่องานมากขึ้น ทั้งนี้ การบริหารข้อมูลในรูปแบบ Big Data ยังช่วยให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จาก Data ได้อย่างเต็มที่ ทั้งในด้านการเข้าถึงข้อมูล และการประมวลข้อมูลได้คราวละมากๆ แต่ทำได้รวดเร็ว รวมถึงปลดล็อกขีดจำกัดในการวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบใหม่ๆ ช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันกับตลาด โดยมีต้นทุนทางสารสนเทศโดยรวมที่ต่ำลงอีกด้วย 5.Data Citizen ใครๆ ก็เข้าถึง Data ได้ ในยุคที่องค์กรต่างปรับตัวสู่การเป็น Data-Driven Organization แต่การเข้าถึง Data ในหลายองค์กรยังถูกจำกัดอยู่แค่ในฝ่าย IT ทีมเทคนิค หรือทีม Data เท่านั้น ซึ่งทำให้องค์กรไม่สามารถผลักดันการทำกลยุทธ์ Data-Drivenให้เกิดกับทุกการทำงานและการตัดสินใจได้ Data Citizen คือคอนเซ็ปต์ที่ทำให้ทุกคนในองค์กรสามารถใช้ Data ในการวิเคราะห์และตัดสินใจได้ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับผู้บริหารจนถึงระดับปฏิบัติการ โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตามสิทธิ์การใช้งาน ซึ่งเครื่องมือที่จะสามารถสนับสนุนแนวคิดนี้ให้เป็นจริงได้ ก็คือ Big Data ที่รวบรวมข้อมูลไว้เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงและใช้งานข้อมูลได้ง่ายดาย ถึงแม้ไม่มีความรู้ทางด้านเทคนิค อ่านเพิ่มเติม: Nomadica Wine ไวน์และศิลปะในกระป๋องเดียวกัน

ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine