หนังสือด้านการบริหารส่วนใหญ่มักเต็มไปด้วยการพร่ำพรรณนาถึงการทำงานเป็นทีม (เห็นได้ว่าไม่มีตัวอักษร “I” หรือฉันในคำว่าทีม) และคำแนะนำที่น่าเบื่อเกี่ยวกับการติดตามผลการดำเนินงาน หรือไม่ก็เน้นย้ำถึงความสำคัญของการฝึกฝนพัฒนาลักษณะอุปนิสัยต่างๆ ตามบุคคลที่มีศักยภาพสูง
ดังนั้นเป็นเรื่องน่ายินดีที่จะรายงานว่าหนังสือ Work Rules!: Insights From Inside Google That Will Transform How You Live and Lead โดย Laszlo Bock ได้ออกวางแผงแล้ว หนังสือเล่มนี้เจาะรายละเอียดถึงหลักขั้นตอนการทำงานในบริษัท Work Rules! อัดแน่นไปด้วยข้อมูลและผลสรุปที่อาจฟังดูขัดต่อหลักเหตุผลทั่วไป ซึ่งเหมาะสำหรับผู้กำลังมองหาวิธีที่จะทำให้คนอยากร่วมงานกับบริษัทมากขึ้น “มีผู้มาเยี่ยมชม Google อยู่ตลอดเวลา และหลังจากนั้นพวกเขาจะกลับไปติดตั้งโคมไฟลาวาและซื้อเบาะ beanbag มาไว้ที่สำนักงาน” Bock กล่าว “แต่หลักสำคัญที่พวกเขาไม่ได้จากการเยี่ยมชมคือ ‘หลักในการสร้างสิ่งที่น่าอัศจรรย์ได้รวบรวมอยู่ในตำราเล่มนี้’”
ตัวอย่างหลักการที่เราชื่นชอบมีดังต่อไปนี้:
4
คือจำนวนครั้งที่เหมาะสมที่สุดในการสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน Google เคยสัมภาษณ์ผู้สมัครเข้าทำงานมากถึง 25 รอบ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเชิงสถิติชี้ว่าสามารถรับพนักงานเข้าทำงานที่ระดับความเชื่อมั่น 86% หลังสัมภาษณ์ 4 รอบ โดยแต่ละรอบการสัมภาษณ์งานที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นจะเพิ่มความเชื่อมั่นได้เพียง 1%
100
คือร้อยละของจำนวนพนักงาน Google ที่มีอัตราเงินเดือนไม่เท่ากันโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งงาน โดยค่าตอบแทนจะขึ้นอยู่กับผลงาน ไม่ใช่ตำแหน่งหรือหน้าที่การทำงาน แม้ว่าสิ่งนี้จะหมายถึงบางคนจะได้รับค่าเหนื่อยสูงกว่าเพื่อนร่วมงานในตำแหน่งเดียวกัน
0
จำนวนครั้งที่ควรประกาศตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครเว็บไซต์หางานทั่วไป ผู้สมัครงานที่ดีที่สุดจะรู้ตัวดีว่าอยากทำงานที่ไหน และพวกเขาจะไม่สนใจแหล่งหางานประเภทนี้
10
จำนวนวินาทีที่คนเราตัดสินใจภายใต้จิตสำนึกในการรับคนเข้าทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด Google ป้องกันปัญหาการตัดสินใจที่อิงข้อมูลจากความประทับใจครั้งแรกด้วยการเตรียม “แนวทางการสัมภาษณ์งาน” ให้กับผู้จัดการฝ่ายจ้างงานที่จะรับพนักงานใหม่ ซึ่งพร้อมด้วยคำถามที่ “ผ่านการพิสูจน์” แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงในการระบุตัวผู้สมัครที่มีศักยภาพ
คลิ๊ก!! เพืออ่าน บทความสร้างแรงบันดาลใจทางธุรกิจจาก Forbes Thailand ในรูปแบบ E-Magazine