นิยามของ "ชนชั้นกลาง" ตามหลักเณฑ์ทางการตลาด มีความหมายซึ่งถูกแบ่งแยกโดย สถานะทางเศรษฐกิจ (Socio-Economic Class-SEC) โดยใช้รายได้ต่อครัวเรือน เป็นการกำหนดให้สมาชิกในครอบครัวว่าเป็นชนชั้นใดของสังคม
จากรายได้ที่เข้ามาเพื่อกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดของบรรดาสินค้าและบริการที่ต้องการช่วงชิงสัดส่วนทางการตลาดไว้ในมือ โดยการจัดลำดับของชนชั้นกลางของเมืองไทยถูกแบบออกเป็น Class A ถึง D โดยชนชั้นกลาง ตามการใช้มาตรวัดแบบ SEC ชนชั้นกลางคือ Class B ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ 8 % และ Class C ซึ่งมีสัดส่วนที่ 64 % โดยมีรายได้ต่อครัวเรือนระหว่าง 18,001–85,000 ต่อครัวเรือน

หากแต่ผลวิจัยชิ้นล่าสุดจาก ฮาคูโฮโด - ฮิลล์ อาเซียน (Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN: HILL ASEAN) Think-Tank สำคัญแห่ง Hakuhodo Group บริษัทโฆษณาที่ใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น อาจทำให้ได้รับมุมมองใหม่ๆ ในเชิงลึกต่อการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค
โดยผลงานวิจัย “ชนชั้นกลางขั้นเทพ:มุมมองใหม่ของชนชั้นกลางในอาเซียน” ที่เปิดเผยปรัชญาเชิงลึกทางการตลาด “การเข้าถึงวิถีความคิดของ sei-katsu-sha” ที่ไม่ได้จัดกลุ่มชนชั้นกลางเพียงแค่รายได้ แต่มันคือเรื่องราวของชีวิต ไลฟ์สไตล์ ตามแรงปรารถนา
เมื่อกลุ่มคนชนชั้นล่างในระบบเศรษฐกิจของอาเซียน พยายามบรรลุเป้าหมายในการใช้ชีวิตที่ต้องการด้วยการแสวงหารายได้จากอาชีพเสริมในขณะที่ยังทำงานประจำ ซึ่งรายได้เสริมเหล่านี้มักไม่ได้ถูกรวมในรายได้หลักของครอบครัว มีวิธีการอันชาญฉลาดเพื่อหาหนทางใช้ชีวิตตามที่ตัวเองต้องการ โดยการผสานช่องทางหารายได้กับการใช้จ่ายได้อย่างแนบเนียน ข้ามขีดจำกัดของระดับรายได้เดิม
ฉะนั้นการระบุสถานะของชนชั้นกลางจึง “ไม่ได้เกิดจากรายได้เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเรื่องของการมีวิถีชีวิตที่ต้องการ ส่วนผู้คนที่ตั้งเป้าหมายด้วยแรงปรารถนาที่อยากใช้ชีวิตนั้นๆ แล้วพยายามจัดการรายได้และใช้จ่ายเพื่อต่อเติมความต้องการนั้น แม้ว่าบางครั้งอาจต้องลงทุนใช้จ่ายตอนนี้ เพื่อสร้างรายได้ในอนาคตได้อย่างลงตัว”
กลยุทธ์การทำการตลาดและสื่อสารต่อจากนี้เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย "ชนชั้นกลางขั้นเทพ" ต้องตระหนักถึงการออกแบบและผลตอบแทนการลงทุนผ่านหลักการ 3 ประการ กล่าวคือ การเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยดูจากรายได้และทัศนคติชนชั้นที่ตนอยู่ การมองว่าการใช้จ่ายเป็นเรื่องของการลงทุนไม่ใช้ค่าใช้จ่าย และใช้แอมบาสเดอร์ขององค์กร เพื่อตอบสนองการได้มาซึ่งวิถีชีวิตที่แรงปรารถนา