กลุ่มเจมาร์ท ทรานส์ฟอร์มสู่ ‘Tech Investment Company’ - Forbes Thailand

กลุ่มเจมาร์ท ทรานส์ฟอร์มสู่ ‘Tech Investment Company’

กลุ่มเจมาร์ท ประกาศวิสัยทัศน์ธุรกิจก้าวสู่ Technology Investment Holding Company (T-IHC) เตรียมงบลงทุน 2,000 ล้านบาท ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก การเงิน อีกไม่น้อยกว่า 2-3 ดีล สร้างการเติบโตแบบ ‘เจ เคิร์ฟ’ ดันผลกำไรสุทธิโตมากกว่า 50% ในช่วง 3 ปี

กลุ่มเจมาร์ท แถลงแผนธุรกิจปี 2565 พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนองค์กร ภายใต้ Synergy Chapter 7 และต่อยอดพันธมิตร ผลักดันเป้าหมาย All Time High ได้ต่อเนื่อง โดยการใช้เทคโนโลยีจะสร้างการเติบโตให้กับกลุ่มบริษัท ด้วยกลยุทธ์ทรานฟอร์มเป็น Technology Investment Holding Company (T-IHC) พร้อมเปิดโครงการลงทุนในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก และการเงิน ในกลุ่มบริษัท อีกไม่น้อยกว่า 2-3 ดีล ต่อเนื่องจากปี 64 อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) (JMART) เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา เป็นปีแห่งการผนึกพันธมิตรทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยพันธมิตรที่เข้ามาร่วมต่อจิ๊กซอว์กับกลุ่มเจมาร์ท ได้แก่ บริษัท KB Kookmin Card - TIS Inc. และ บริษัทภายใต้กลุ่ม BTS โดย บริษัท วีจีไอ จํากัด (มหาชน) (VGI) และ บริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) (U) และร่วมจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับบริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) และ JMT บริษัทลูก เตรียมจัดตั้งบริษัทร่วมลงทุนกับบริษัทลูกของธนาคารกสิกรไทย (KBANK) สร้าง All Time High ต่อเนื่อง สำหรับผลการดำเนินงานในปี 64 ที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทสามารถสร้างการเติบโตได้ตามเป้าหมาย ทำผลงาน All Time High ได้ต่อเนื่อง โดยกำไรสุทธิรวม 3 ไตรมาสในปี 2564 รวม 836 ล้านบาท และคาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโตมากกว่า 50% เป็นผลจากการผนึกกำลังในเครือ และการจับมือพันธมิตรรายใหม่ ทำให้ Ecosystem ในด้านธุรกิจค้าปลีก (Commerce) และธุรกิจการเงิน (Finance) สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สำหรับปี 65 วางกลยุทธ์ทรานส์ฟอร์มธุรกิจจาก Investment Holding Company เป็น Technology Investment Holding Company อย่างเต็มรูปแบบ คาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 50% “วันนี้เราอยากทรานส์ฟอร์มเป็น Technology Investment Holding Company (T-IHC) เราเชื่อในการลงทุน และการมีพันธมิตรเข้ามาร่วมดำเนินธุรกิจ องค์กรของเราต่างจากสตาร์ทอัพทั่วไป เรามีฐานลูกค้า มีอีโค ซิสเต็มส์ เราเชื่อว่าสิ่งที่จะทำให้เราเติบโตเร็วขึ้น คือ เทคโนโลยี จะสร้างการเติบโตแบบ Exponential หรือการเติบโตแบบ J Curve” อดิศักดิ์กล่าว สำหรับแผนธุรกิจในปี 2565 กลุ่มเจมาร์ทจะเติบโตแบบยกกำลัง 2 จากการต่อยอด Synergy กับกลุ่มบริษัทพันธมิตร โดยเฉพาะ BTS Group ที่คาดจะเห็นเมกะโปรเจกต์ร่วมกันมากขึ้น และเตรียมนำเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุน ช่วงปลายปี 64 ที่ผ่านมา เติบโตต่อยอดธุรกิจ โดยปี 2565 ได้ตั้งงบลงทุนไว้ 2,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เป็น Platform ทางด้านค้าปลีกและการเงิน โดยคาดจะได้เห็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นในปีนี้อีก 2-3 ดีล โดยโปรเจกต์แรกคาดประกาศเร็ว ๆ นี้ จะเป็นพันธมิตรในกลุ่มอุตสาหกรรมด้านค้าปลีกและการเงิน JMT ตั้งงบหมื่นล้านซื้อหนี้ สุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (JMT) ผู้ดำเนินธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพภาคเอกชน เปิดเผยถึง ภาพรวมธุรกิจบริหารหนี้มีการเติบโตชัดเจน ในปี 2565 มองว่าสถาบันการเงินจะมีการขายหนี้ออกมาจำนวนมาก หลังลูกค้าได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด จึงวางงบซื้อหนี้ด้อยคุณภาพในปี 65 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท โดยงบลงทุนมาจากการเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุน พร้อมตั้งเป้าหมายกำไรเติบโตในระดับ 45% ทำนิวไฮต่อ จากการซื้อหนี้เข้ามาบริหาร และการเก็บเงินสด (Cash Collection) สูงขึ้น นอกจากนี้ ล่าสุด JMT ได้เปิดดีลร่วมลงทุนกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK โดยผ่านบริษัทลูกของ KBANK เตรียมจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อประกอบธุรกิจร่วมกัน ในธุรกิจให้บริการงานติดตามหนี้ และธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และคาดจะเห็นการต่อยอดธุรกิจเพิ่มเติมจากธุรกิจปัจจุบันของของ JMT ผ่านการจับมือพันธมิตรรายใหม่เพิ่มเติมในปีนี้ ด้าน กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ (SINGER) เปิดเผยว่า ในปี 2565 SINGER มั่นใจจะสามารถทำผลงาน All Time High ได้ต่อเนื่อง ด้วยเป้าหมายการเติบโตของกำไรสุทธิในระดับ 75% จากปี 64 ที่ผ่านมา โดยมีการขยายพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อ (Hire purchase : HP) และพอร์ตสินเชื่อรถทำเงิน (C4C) อยู่ที 10,500 ล้านบาท ปี 2565 คาดพอร์ตสินเชื่อรวมอยู่ที่ 15,500 ล้านบาท ควบคู่การบริหารจัดการต้นทุนการเงินที่ดี ชูจุดแข็งมีทีมขายกระจายทั่วประเทศ ตั้งเป้าขยายแฟรนไชส์รวมกัน 7,000 แห่งทั่วประเทศ และการขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพิ่มเติมร่วมกับ BTS Group และพันธมิตร Won Suk Jung ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคบีเจ แคปปิตอล จำกัด (KB J) ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ เปิดเผยว่าปี 2565 นี้บริษัท จะขยายการปล่อยสินเชื่อให้ได้มากกว่า 2 เท่าของปี 64 ที่ผ่านมา โดยได้เปิดตัว Cash Card “KashJoy Easy Card” ซึ่งจะทำให้เข้าถึงผู้บริโภคในประเทศไทยได้มากขึ้น โดยจะนำเอาเทคโนโลยีในการดำเนินงานทางด้านการเงินจากประเทศเกาหลีใต้ เข้ามาปรับใช้ในธุรกิจให้ได้มากที่สุด และตั้งเป้าจะเติบโตผลการดำเนินงานให้เติบโตได้ 2 เท่าจากปีที่ผ่านมา ขยายธุรกิจค้าปลีกต่อเนื่อง สุพจน์ สิริกุลภัสสร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน) หรือ (J) เปิดเผยถึง ภาพรวมธุรกิจในปี 65 เดินหน้าขยายอาณาจักรพื้นที่เช่าและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปัจจุบันมี 4 ธุรกิจหลัก ประกอบด้วย ธุรกิจ IT Junction ธุรกิจศูนย์การค้าคอมมูนิตี้มอลล์ ณ สิ้นปี 64 มีจำนวน 5 แห่ง และมีอัตราเช่าพื้นที่ (Occupancy rate) อยู่ในระดับสูงกว่า 95% โดยตั้งเป้าจะมีพื้นที่ให้เช่า 100,000 ตารางเมตร ภายใน 3 ปี และล่าสุด เข้าสู่ธุรกิจที่เป็น Mega เทรนด์ของประเทศคือ Health Care and Service สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ ภายใต้แบรนด์ “SENERA” โดยจะเปิดให้บริการที่ศูนย์การค้าชุมชน JAS GREEN VILLAGE – KUBON ที่แรกภายในสิ้นปีนี้ พร้อมโฟกัส “SENERA” เป็นธุรกิจที่สอดรับเทรนด์สังคมสูงวัยในอนาคต ตั้งเป้ามี 10 แห่ง ภายใน 3 ปีจากนี้ ด้าน นราธิป วิรุฬห์ชาตะพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท โมบาย จำกัด (JAYMART MOBILE)  ผู้ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายมือถือและอุปกรณ์เสริม เปิดเผยถึง ภาพรวมธุรกิจในปี 65 มองว่าเป็นปีแห่งยุคเทคโนโลยี จะสนับสนุนสินค้าของเจมาร์ทโมบาย ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ตั้งเป้าปี 65 รายได้เติบโต 50% หรือแตะ 12,500 ล้านบาท และกำไรที่เติบโตเท่าตัว จากการบริหารจัดการภายในที่ดีต่อเนื่อง รวมทั้ง ปรับเกมธุรกิจภายใต้สถานการณ์โควิด บริษัทมีการขยายสาขาผ่านการเปิดร้านเจมาร์ทซินเนอร์ยี่กับ SINGER และในพื้นที่ของบริษัทในเครือ และการขายสินค้าผ่านช่องทาง Synergy ด้วยสินเชื่อจาก KB J Capital และ SINGER ในปี 2565 วาง 4 กลยุทธ์หลัก คือ Gadget Destination มุ่งเน้นสินค้าด้านเทคโนโลยี สร้างประสบการณ์ใหม่ผู้บริโภค , Financial Destination การตอบโจทย์บริการด้านสินเชื่อ ไม่มีบัตรก็ผ่อนได้, Digital Transformation การขยายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และ Power of Synergy การมีเครือข่ายการขายที่แข็งแกร่ง ผ่านช่องทางของ SINGER และ BTS Group ทั้งนี้ มองว่านโยบายภาครัฐที่ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ ช้อปดีมีคืน จะสนับสนุนให้ภาพรวมการจับจ่ายใช้สอยในช่วงต้นปี 65 คึกคัก ขณะที่ประโยชน์ระยะยาวจากเทรนด์ Digital และ Metaverse เพิ่มโอกาสสินค้าเทคโนโลยีเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ด้าน ธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด (J VENTURE) เปิดเผยว่า บริษัทฯ เดินหน้าขับเคลื่อนเทคโนโลยีและบล็อกเชน ใช้ในการพัฒนา Decentralized Digital Lending Platform (DDLP) และผสานพลังซินเนอร์ยี่ภายในกลุ่มเจมาร์ท โดยมี “JFIN” ซึ่งเป็น Utility Token ในการจัดทำกิจกรรม JFIN Adoption หรือโปรโมชั่น “ลด แลก แจก JFIN” รวมทั้ง ใช้ในกลุ่มพันธมิตรที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ได้แก่ OneSiam และ SF ด้าน BTS Group คาดจะได้เห็นความร่วมมือกับ JFIN ไตรมาส 1 ปีนี้ เพื่อสร้างประสบการณ์ผู้บริโภคในยุคดิจิทัล และมุ่งสู่ JFIN Mass adoption ซึ่งคาดว่า จะทำให้มีผู้ใช้งาน JFIN เพิ่มขึ้นในอนาคต รวมทั้ง การเปิดตัว JNFT Marketplace แพลตฟอร์ม NFT ที่เดินหน้าสนับสนุนให้นักสร้างสรรค์ชาวไทย มีโอกาสผลิตผลงานในรูปแบบดิจิทัลได้ง่ายขึ้น และเป็นโอกาสสร้างรายได้ในอนาคตเช่นกัน ปัจจุบัน JMART ดำเนินธุรกิจบริษัทโฮลดิ้งที่ลงทุนในบริษัทย่อยที่มีศักยภาพ มุ่งเน้นไปที่ธุรกิจค้าปลีก การเงิน และเทคโนโลยี โดยกลุ่มบริษัท ได้แก่ บริษัท เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน) (JMT), บริษัท เจเอเอส แอสเสท จำกัด (มหาชน) (J), บริษัท เจมาร์ท โมบาย จำกัด (Jaymart Mobile), บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด (J Ventures), บริษัท บีนส์แอนด์บราวน์ จำกัด (Beans and Brown), บริษัท เคบี เจ แคปปิตอล จํากัด (KBJ), บริษัท เจมาร์ท ประกันภัย จำกัด (มหาชน) (Jaymart Insurance), บริษัท ซิงเกอร์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) (SINGER)ม บริษัท เอส จี แคปปิตอล จำกัด (SGC), และ บริษัท เอสจี โบรคเกอร์ จำกัด (SG Broker) ทั้งนี้ สัดส่วนรายได้หลักของกลุ่มเจมาร์ทมาจาก เจ โมบายร้อยละ 70–80 JMT ที่ร้อยละ 15 – 20 ที่เหลือเป็นธุรกิจร่วมลงทุน ขณะที่ JMT เป็นธุรกิจที่สร้างกำไรให้กับกลุ่มถึงร้อยละ 70 อ่านเพิ่มเติม: Silom Edge แซนด์บ็อกซ์เพื่อคนเมืองและนักธุรกิจมือใหม่
ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine