อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ - Forbes Thailand

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ

Amadeus เผยรายงาน “ประเทศไทยสู่ปี 2030: จับกระแสอนาคตอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” ยก 4 ประเด็นหลักยกระดับการท่องเที่ยว พร้อมจับมือร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DIPA) และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (PATA) เน้นย้ำถึงความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะยกระดับ "อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย"

Simon Akeroyd รองประธานกรรมการ ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ Amadeus หนึ่งในผู้เขียนรายงานเผยว่า “ประเทศไทยสู่ปี 2030: จับกระแสอนาคตอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” เป็นความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DIPA) และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (PATA) ระบุ ประเทศไทยจำเป็นต้องวางยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเดินทางและการท่องเที่ยวให้มีความชาญฉลาดยิ่งขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตด้านรายได้ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในทศวรรษหน้า “แม้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 6  ในปี 2561 แต่จากรายงานดังกล่าวเผยว่าความสามารถในการรองรับจำนวนผู้โดยสารของสนามบินต่างๆ ในประเทศกำลังจะถึงเพดานสูงสุด ในขณะที่จุดหมายปลายทางยอดนิยมเริ่มได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากเกินไป” Simon Akeroyd กล่าวและเสริมว่า “หากการท่องเที่ยวยังคงเติบโตต่อเนื่องในอัตราเท่ากับปัจจุบัน สนามบินในประเทศไทยจะถูกใช้งานเต็มความจุเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ การขยายอาคารสนามบินอาจเข้ามาช่วยลดปัญหานี้ได้บางส่วน แต่เทคโนโลยีอัจฉริยะจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการรองรับจำนวนผู้โดยสารของท่าอากาศยานในประเทศไทยได้ในอนาคต” อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย โดยรายงาน “ประเทศไทยสู่ปี 2030” ยังได้นำเสนอ 4 ประเด็นหลักที่ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญในทศวรรษหน้า ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสนามบิน, การพัฒนาระบบการเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานและเมือง, การผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อยกระดับประสิทธิภาพเครือข่ายการคมนาคมในเขตเมือง และ การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนักท่องเที่ยวล้นเมือง การนำเทคโนโลยีอัจฉริยะไปประยุกต์ใช้ รองรับการพัฒนาระบบการจัดการผู้โดยสารในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนประเทศไทยถึง 38.27 ล้านคน  และกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาคาดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจะพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องในปี 2562 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้ Simon Akeroyd กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่าการขยายการเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานสู่เมือง เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ MICE ซึ่งมีนักธุรกิจ 2 กลุ่มที่น่าจับตาได้แก่ กลุ่มนักธุรกิจท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวกลุ่มที่เกี่ยวข้องกัน คือกลุ่ม “bleisure” หรือผู้ที่เดินทางมาเพื่อธุรกิจแล้วอยู่ท่องเที่ยวพักผ่อนต่อ โดยตลาดทั้งสองนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ในการสร้างรายได้ที่หลากหลายยิ่งขึ้นในทศวรรษหน้า “ในอนาคตอันใกล้นี้ จุดหมายปลายทางยอดนิยมในกลุ่ม MICE ในภูมิภาคจะหันมาแข่งขันกันที่ความสะดวกและความรวดเร็วในการเดินทาง ดังนั้น เมืองเหล่านี้จึงจำเป็นต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีที่จะช่วยมอบความสะดวกสบายให้นักท่องเที่ยว เช่น บริการเช็คอินและดร็อปกระเป๋า ณ สถานที่จัดประชุม ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีที่นำมาใช้ยังต้องมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะจุดหมายปลายทางในตลาด MICE ข้างต้นไม่ได้แข่งขันกับเพียงจังหวัดอื่นๆ ในประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเมืองอื่นๆ ในภูมิภาคอีกด้วย” Simon Akeroyd กล่าวทิ้งท้าย อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ด้าน ประชา อัศวธีระ ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA สาขาภูเก็ต เผยถึงภาพรวมการพัฒนาภูเก็ตสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ภายหลังดำเนินการผลักดันความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อยกระดับระบบขนส่งในเขตเมือง โดยสิ่งที่ SIPA เตรียมยกระดับใน 4 ด้าน ภายในปี 2020 คือ ความปลอดภัย เศรษฐกิจ สุขภาพ และ สิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการ Smart City ของภูเก็ตนั้น ประชา เผยว่า เตรียมพัฒนาเป็น 3 ส่วน ด้านอุตสาหกรรม ซึ่งภูเก็ตปัจจุบันเติบโตด้วยการท่องเที่ยวเป็นหลัก การนำเทคโนโลยี Smart Economy จะช่วยให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเติบโตได้อย่างยั่งยืน ผ่านการรวมมือจากนักพัฒนาต่างๆ ในศูนย์  Research Center หรือ Innovation Center ด้านที่สอง ด้านความเป็นอยู่ หรือ Smart Living Community ประชาเผยว่า กล้อง CCTV ราว 1,700 ตัว แต่ไม่มีการรวมศูนย์การทำงานร่วม ซึ่งต่อไปจะเกิดศูนย์กลางพร้อมยกระดับ การใช้กล้อง CCTV ทั้งด้านความปลอดภัยและการเป็นเดินทางที่ดีขึ้น “เราเตรียมระบบ face recognition หรือระบบตรวจจับและวิเคราะห์ใบหน้า เข้ามาใช้ร่วมกับระบบฐานข้อมูลด้วย ซึ่งการดำเนินการจะนำร่องใน 2 พื้นที่สำคัญ ได้แก่ เทศบาลป่าตอง กับเทศบาลนครภูเก็ต” อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ด้านที่สามคือเรื่อง Smart Sensor เป็นเซนเซอร์สำหรับการตรวจสอบสภาพอากาศ ตรวจเช็คสภาพของน้ำทะเล “ที่ผ่านมาเราได้แจกฟรีไวไฟให้กับประชาชนรวมถึงนักท่องเที่ยวภายในภูเก็ต ซึ่งทำให้เราสามารถตรวจสอบความหนาแน่นและจำนวนนักท่องเที่ยว เพื่อแก้ไขปัญหาการกระจุกตัวในท่าเทียบเรือหรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ให้กับนักท่องเที่ยวแบบเรียลไทม์ โดยข้อมูลจะวิ่งไปที่มีศูนย์กลางเพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป” ประชา อัศวธีระ กล่าว