IMET เปิดตัว IMET MAX โครงการติดอาวุธผู้นำรุ่นใหม่รับวิถี New Normal - Forbes Thailand

IMET เปิดตัว IMET MAX โครงการติดอาวุธผู้นำรุ่นใหม่รับวิถี New Normal

มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย (IMET) ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2526 บนความ  ร่วมมือของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา โดยมีเงินทุนเริ่มแรกจากองค์การให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (United States Agency for International Development) หรือ USAID เพราะทักษะเดิมๆ ที่เคยมีอาจไม่เพียงพอสำหรับใช้รับมือยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ทุกคนต้องก้าวให้ทันอีกต่อไป ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการเปิดตัว IMET MAX รุ่นที่ 3 (Mentorship Academy for Excellent Leaders) โครงการพัฒนาผู้บริหารรุ่นใหม่ให้ทั้งเก่งและเป็นคนดี ด้วยกระบวนการเมนเทอร์ริ่งอย่างเข้มข้นตลอดเวลา 8 เดือน ระหว่างเมนเทอร์ (Mentor) ที่มีดีกรีเป็นผู้บริหารระดับสูงชั้นนำของประเทศ มาร่วมจุดประกายความคิด ให้มุมมอง ทักษะ แรงบันดาลใจ รวมถึงคำแนะนำที่ช่วยเติมเต็มทั้งในมิติของชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงานให้กับเมนที (Mentee) แบบเอ็กซ์คลูซีฟ ผ่านห้องเรียนเคลื่อนที่ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย! เป้าหมายสูงสุดของโครงการ นอกจากจะหวังสร้างผลผลิตผู้นำรุ่นใหม่ ยังต้องการสร้าง “อุทยานผู้นำ” ที่อุดมไปด้วยปัญญาที่สมบูรณ์พร้อม ( Wisdom for Life) ควบคู่กับการตระหนักถึงความสำคัญและเป็น  ส่วนหนึ่งในการสร้างคุณค่าให้กับสังคม (Social Values) อย่างยั่งยืนด้วย เปิดห้องเรียน IMET MAX ทลายกำแพงห้องเรียนแบบเดิมๆ IMET MAX เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยมูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย (IMET) องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ก่อตั้งเมื่อ 37 ปีก่อน ด้วยความตั้งใจที่จะพัฒนาผู้นำที่เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และประเทศอย่างแท้จริง
สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการบริหาร IMET
สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการบริหาร IMET กล่าวว่า หลังจากดำเนินโครงการมากกว่า 400 โครงการ เข้าถึงผู้บริหารในทุกระดับกว่า 18,000 คน ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ มาถึงวันนี้ วัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ ยังไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่เพิ่มเติม คือรูปแบบของโครงการที่มีการปรับให้เหมาะสมกับยุคสมัยมากขึ้น “ในอดีตยังไม่มีเทคโนโลยีหรืออินเตอร์เน็ตในการเข้าถึงข้อมูลความรู้สะดวกมากเท่าปัจจุบัน มูลนิธิฯ จึง  ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ลงพื้นที่ไปให้ความรู้กับผู้นำทั้งในระดับสูง กลาง ล่าง ตลอดจนในส่วนกลางและท้องถิ่น แต่ปัจจุบันผู้นำรุ่นใหม่มีความรู้ ความสามารถ ส่วนใหญ่จบการศึกษาจากต่างประเทศแล้วจึงกลับมาทำงาน หรือบริหารธุรกิจครอบครัว ดังนั้น IMET ซึ่งมีนโยบายมุ่งสร้างและพัฒนาผู้นำระดับสูงรุ่นใหม่ให้ทั้งเก่งและดีควบคู่กัน จึงริเริ่มโครงการ IMET MAX” จุดเด่นของโครงการ คือ เปิดโอกาสให้ผู้นำระดับสูงรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพและมีใจเปิดกว้าง และเปิดรับสิ่งใหม่เข้ามาเป็นเมนที (Mentee) เพื่อยกระดับตนเองให้เติบโตไปเป็นผู้นำที่ดี ด้วยกระบวนการเมนเทอริ่งจาก  เมนเทอร์ (Mentor) ผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหลายวงการอย่างใกล้ชิด โดยเมนเทอร์แต่ละท่านจะมาร่วมให้ข้อคิดและชี้แนะแนวทาง ทั้งในด้านการทำงาน การใช้ชีวิต และความจำเป็นในการสร้างคุณค่าเพื่อสังคม “ผมเชื่อว่า นอกจากความรู้และประสบการณ์ที่จะได้รับอย่างเข้มข้นตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่อยู่ในโครงการ ยังเป็นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่รู้จบระหว่างเมนเทอร์ เมนที รวมถึงระหว่างเมนที  ด้วยกันต่อให้โครงการจะจบไปแล้ว แต่เครือข่ายความสัมพันธ์นี้ยังคงอยู่”
ธนพล ศิริธนชัย ประธานโครงการ IMET MAX
ห้องเรียนยูนีก ที่ไม่มีใครเหมือน ปัจจุบันมีคอร์สพัฒนาศักยภาพผู้นำรุ่นใหม่มากมาย แต่สิ่งที่แตกต่างและเป็นจุดเด่นของ IMET MAX คือ กระบวนเมนเทอริ่ง ซึ่งธนพล ศิริธนชัย ประธานโครงการ IMET MAX นิยามว่า “ไม่มีโครงการไหนทำมาก่อน” โดยเหตุผลที่เลือกนำกระบวนการดังกล่าวมาใช้ มาจากความเชื่อที่ว่ารูปแบบการเรียนรู้ไม่ได้เกิดจากการอ่านหนังสือ หรือการเล่าเรียนเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการที่่มีเมนเทอร์มาชวนคิดและช่วยคิดให้กับเมนที “ผมเชื่อว่าผู้นำรุ่นใหม่แต่ละท่านมีความเก่งอยู่แล้ว แต่สิ่งที่มองข้ามหรือยังขาดไป คือคนที่มาช่วยกระตุ้นให้พวกเขาเกิดการคิด เลยกลายเป็นที่มาของรูปแบบโครงการที่ให้เมนเทอร์จับคู่เมนทีในลักษณะใกล้ชิด    เมนเทอร์ 1 คน ต่อเมนที 3 คน แม้ว่าบางท่านจะไม่ได้อยู่ในธุรกิจหรือสายงานเดียวกัน แต่ผมเชื่อว่าประสบการณ์และความรู้ที่แลกเปลี่ยนกันจะนำไปต่อยอด และเป็นประโยชน์มากกว่าการนั่งเรียนจากทฤษฎีอย่างแน่นอน” อีกหนึ่งจุดเด่นของห้องเรียนนี้ คือ เป็นห้องเรียนเคลื่อนที่ เมนเทอร์และเมนทีสามารถนัดหมายกันตามความสะดวกว่าจะเลือกสร้างห้องเรียนเคลื่อนที่ที่ไหน เวลาใด พร้อมทั้งกำหนดหัวข้อในการเรียนแต่ละครั้งด้วย  ตัวเอง ห้องเรียนนี้ไม่มีค่าเทอม ธนพล ยังเสริมด้วยว่า เมนเทอร์ทุกท่านที่เข้าร่วมโครงการต่างเป็นอาสาสมัครและเสียสละ พร้อมทุ่มเท    ทำหน้าที่โดยไม่มีค่าตอบแทนใดๆ สมกับเป็นตัวอย่างของบุคลากรคุณภาพของชาติในการทำงานเพื่อสังคมอย่างแท้จริง โดยมูลนิธิ IMET จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น ผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงแต่มีคุณสมบัติครบ 3 ข้อที่ทางมูลนิธิฯ กำหนด ได้แก่ เป็นนักบริหารที่มีศักยภาพระดับสูงหรือมีความมุ่งมั่นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมหรือประเทศชาติ เป็นผู้ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อย และเป็นผู้ที่มีความต้องการและเชื่อมั่นในการพัฒนาตนเองผ่านกระบวนการเมนเทอริ่ง ซึ่งถือเป็นมายด์เซ็ทที่สำคัญของผู้นำรุ่นใหม่ “คุณสมบัติสำคัญของผู้นำรุ่นใหม่ คือ ต้องเป็นคนเก่ง และคนดี ดังนั้นการจะสร้างเมล็ดพันธุ์เช่นนั้นได้ ต้องอาศัยคนรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อให้เมล็ดพันธุ์ที่หว่านไว้กลายเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรงจากภายใน ไม่ใช่เพียงเปลือกนอก และต่อให้เจอวิกฤตก็ไม่หักโค่น นอกจากนี้ ยังหวังว่าการปลูกฝังแนวคิดในการทำเพื่อสังคมของเมนเทอร์ไปยังเมนที จะเป็นการต่อยอดไอเดีย Pay it forward ไม่สิ้นสุด เพราะเมื่อเมล็ดพันธุ์เหล่านี้ได้รับสิ่งดีๆ ก็จะนำสิ่งดีๆ ไปส่งต่อให้สังคมต่อไปอย่างยั่งยืน” เผยโฉม12 เมนเทอร์ สำหรับผู้นำที่ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงระดับประเทศที่ตอบรับคำเชิญของทางมูลนิธิมารับหน้าที่เป็น  เมนเทอร์ (Mentor) ในปีนี้ ประกอบด้วย
  1. ศ. (พิเศษ) กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด
  2. กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด
  3. จรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  4. ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย
  5. ณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ กรรมการที่ปรึกษา บริษัท อีเลิร์นนิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด
  6. นาถ ลิ่วเจริญ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทซีดีจี และกลุ่มบริษัทจีเอเบิล
  7. บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)
  8. ปฐมา จันทรักษ์ รองประธานกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่                  บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
  9. ดร.ประวิช รัตนเพียร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  10. พรรณี ชัยกุล อดีตประธานกรรมการ บริษัท โอกิลวี่ ประเทศไทย
  11. ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานกรรมการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
  12. สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการบริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
IMET MAX รุ่น 3 เปิดรับสมัครเมนทีแล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ก.ค.2563 ผู้สนใจไม่ว่าจะเป็นนักบริหารชั้นนำของภาครัฐหรือเอกชนที่มีความมุ่งมั่นอยากสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมและประเทศชาติ สามารถติดต่อขอรับข้อมูลและสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย (IMET) www.imet.or.th หรือ อีเมล imetmax3@gmail.com