ดีลอสังหาฯ สุดหิน - Forbes Thailand

ดีลอสังหาฯ สุดหิน

FORBES THAILAND / ADMIN
14 Nov 2017 | 09:13 AM
READ 4359
ปลายปี 1989 กลุ่มบริษัท Mitsubishi Estate บรรลุข้อตกลงเข้าบริหาร Rockefeller Center ใน Manhattan นับเป็นสัญญาฉบับปิดฉากยุคที่บริษัทญี่ปุ่นนิยมเข้าซื้อกิจการชั้นนำของสหรัฐฯ ที่มีตั้งแต่ดีล Firestone Tire & Rubber หรือ Columbia Pictures ตลอดจนอสังหาริมทรัพย์ชั้นดีมากมายตลอดระยะเวลา 1 ทศวรรษเต็มๆ สัญญาฉบับดังกล่าวจัดทำขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่ตลาดหุ้นแดนอาทิตย์อุทัยจะพังครืน นับเป็นธุรกรรมสุดอหังการไม่น้อยสำหรับการเข้าซื้ออาคารหรูชื่อดังท่ามกลางภาวะล้มละลายอย่างนี้ดีลอสังหาฯ สุดหิน  

ผลผลิตจากยุคตกต่ำ

Rockefeller Center สร้างขึ้นบนที่ดินว่างเปล่าผืนหนึ่งใน Midtown Manhattan ซึ่ง Columbia University ปล่อยให้เช่าช่วงปลายปี 1929 เดิมที Rockefeller Center ตั้งใจจะใช้เป็นสถานที่ตั้งของ Metropolitan Opera แต่เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเริ่มส่งผลกระทบ John D. Rockefeller Jr. (บุตรของ John D. Rockefeller มหาอำานาจแห่งอุตสาหกรรมน้ำมัน) ก็กัดฟันตัดสินใจเปลี่ยนเป้าหมาย Rockefeller ขายหุ้นของ Standard Oil ทั้งที่ขาดทุนมหาศาล เขาต้องควักเงินส่วนตัวมาแบกรับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างถึง 3 ใน 4 ส่วน (หรือเทียบเท่ากับ 2.1 พันล้านเหรียญในปัจจุบัน) เพื่อให้สุดยอดงานสถาปัตยกรรมสไตล์ Art Deco ที่ประกอบไปด้วยอาคาร 12 หลังได้มีโอกาสตั้งตระหง่าน ซึ่งต้องใช้แรงงานก่อสร้าง 4 หมื่นคนตลอดช่วงต้นยุค 1930 อันแสนอลหม่าน  

เงินออก เงินเข้า

ในปี 1985 ทายาทหลายคนของตระกูล Rockefeller ดึงเงินจากชุดอาคารดังกล่าวออกมาได้รวมกัน 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ผ่านธุรกรรมจำนองรายการหนึ่งที่อยู่ในกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่เปิดให้สาธารณะชนสามารถซื้อขายได้ ทำาให้สภาพคล่องของอาคารเหล่านี้มาถึงทางตันหลังจากที่อยู่ในมือของตระกูล Rockefeller มาหลายสิบปี เมื่อถึงปี 1989 ตระกูล Rockefeller ตัดสินใจยุติอำานาจบริหาร พร้อมขายหุ้น 80% ใน Rockefeller Group ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งไปให้แก่ Mitsubishi ในราคา 1.4 พันล้านเหรียญ  

พลาดที่ซื้อ

Mitsubishi ซึ่งในเวลานั้นดำเนินธุรกิจในสหรัฐฯ ด้วยความมั่นใจ ตั้งใจจะปล่อย Rock Center ให้เช่าในราคา 100 เหรียญต่อตารางฟุต (ตอนทำสัญญาเหลืออยู่ที่ประมาณ 33 เหรียญ) แต่เมื่อเข้าสู่ยุคอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำในสหรัฐฯ ช่วงต้นยุค 1990 บีบให้ Mitsubishi ต้องเปลี่ยนแผน ในปี 1995 Mitsubishi ผิดนัดชำระหนี้อาคารชุดดังกล่าว ทำให้มหาเศรษฐีต่างลุกฮือขึ้นชิงอำานาจบริหาร ไม่ว่าจะเป็น David Rockefeller (ลูกชายของ John Jr.) Jerry Speyer และ Sam Zell (รวมทั้ง Bill Ackman หนุ่มจอมป่วนวัย 28 ปี) 1 ปีหลังจากนั้นก็ได้ผู้ที่คว้าสิทธิ์ไปครองคือกลุ่มนายทุนที่นำาโดย Rockefeller กับ Tishman Speyer ยักษ์ใหญ่แห่งแวดวงอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าและ Goldman Sachs ต่อมาในปี 2000 Tishman Speyer และตระกูล Crown ใน Chicago ก็เข้าซื้อ Rockefeller Center แบบเบ็ดเสร็จไปในราคา 1.85 พันล้านเหรียญ  

ฤาจะซ้ำรอยประวัติศาสตร์

ทุกวันนี้ นายทุนชาวต่างชาติหวนกลับมาเลือกอสังหาริมทรัพย์ล้ำค่าใน Manhattan เป็นที่พักเงินสดกันอีกครั้ง โดยเมื่อ 3 ปีก่อน Anbang Insurance Group กลุ่มบริษัทโนเนมสัญชาติจีนเซ็นสัญญาเข้าซื้อโรงแรม Waldorf-Astoria ด้วยมูลค่าสุดเหลือเชื่อถึง 1.95 พันล้านเหรียญ นับเป็นการพักเงินสดของเศรษฐีเอเชียรูปแบบใหม่ Dealogic รายงานว่า บริษัทจากจีนทุ่มเงินลงทุนในทรัพย์สินของสหรัฐฯ รวมกันแล้วถึง 1 แสนล้านเหรียญนับตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา
ติดตามบทความทางด้านธุรกิจได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ ตุลาคม 2560 ได้ในรูปแบบ e-Magazine