สถานการณ์โควิด กระทบหนัก ธุรกิจอสังหาฯ ยอดการขอจัดสรรใหม่ลดลงมากถึง -46% และยอดโอนคอนโดมิเนียมลดลง -30% จากสถานการณ์ที่เลวร้ายสุดในปี 63 กลายเป็นดีสุดเมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 64

ยอดขาย-โอน 3 ไตรมาสแรกหดตัวน่าห่วง
ไม่เพียงการขออนุญาตจัดสรรใหม่ที่ลดลง แต่ยอดขายและยอดโอนกรรมสิทธิ์ก็ปรับตัวลดลงอย่างมาเช่นเดียวกัน โดยในไตรมาส 2/2564 ภาวะการโอนกรรมสิทธิลดลงทั้งจำนวนและมูลค่า โดยจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ลดลงร้อยละ 22.0 ขณะที่ด้านมูลค่าของยอดโอนกรรมสิทธิ์เองลดลงร้อยละ 8.6 โดยจำนวนหน่วยและมูลค่าที่ลดลงดังกล่าวถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ติดลบร้อยละ -31 และ -16.5 ตามลำดับ สำหรับไตรมาส 3/2564 มีแนวโน้มว่าจะลดลงต่อเนื่อง ทั้งจำนวนและมูลค่า โดยปีต่อปีคาดว่าจะลดลงติดลบที่ -36 และ -24 ตามลำดับ หลังจากนั้นในช่วงไตรมาส 4/2564 คาดว่าธุรกิจอสังหาฯ จะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาใกล้กับค่าเฉลี่ย แต่ทั้งนี้ยังคงติดลบต่อเนื่องทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า โดยจำนวนคาดติดลบ -5.7 และมูลค่าติดลบที่ -6.2 ทั้งนี้โดยภาพรวมของตัวเลขตั้งแต่ ไตรมาส 1-3/2564 อาจมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ลดเหลือเพียง 270,151 หน่วย ลดลงจากปี 2563 ที่เคยมีหน่วยโอนฯ 358,496 หน่วย หรือติดลบที่ร้อยละ -24.6 โดยห่างจากค่าเฉลี่ยติดลบที่ร้อยละ -25.2 ด้านบ้านแนวราบปี 2564 อาจมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ลดลงเหลือเพียง 184,734 หน่วย ลดลงจากปี 2563 ที่เคยมีหน่วยโอนฯ 236,158 หน่วย หรือลลร้อยละ -21.8 ซึ่งห่างจากค่าเฉลี่ยติดลบที่ร้อยละ -23.6 คอนโดมิเนียม ปี 2564 อาจมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ลดลงเหลือ 85,416 หน่วย ลดลงจากปี 2563 ที่เคยมีหน่วยโอนฯ 122,338 หน่วย หรือลบร้อยละ -30.2 ซึ่งห่างจากค่าเฉลี่ยที่ติดลบร้อยละ -28.3 โดยตลาดอาคารชุดคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2565 และคาดว่าจะกลับสู่ค่าเฉลี่ยในภาวะปกติได้ในปี 2570 “ตัวเลขที่แย่ที่สุดในปี 2563 กลายเป็น best ของปี 2564 สะท้อนว่าตลาดแย่ลงอย่างต่อเนื่อง และไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด เพราะสถานการณ์โควิด-19 ปัจจุบันยังไม่ดีขึ้น” ดร.วิชัย กล่าว
คาดภาพรวมทั้งปี'64 หดตัวหนัก
เช่นเดียวกับจำนวนมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ของธุรกิจอสังหาฯ ทั่วประเทศปี 2564 มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปี 2563 ทั้งสินค้าแนวราบ และคอนโดฯ โดยภาพรวมการโอนฯ ปี 2564 มูลค่าการโอนฯ คาดว่าจะลดเหลือเพียง 542,240 ล้านบาท ลดลงจากปี 2563 ที่เคยมีมูลค่าโอนฯ ที่ 804,241 ล้านบาท หรือติดลบร้อยละ -13.4 แต่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 0.8 โดยบ้านแนวราบปี 2564 อาจมีมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ ลดเหลือเพียง 542,240 ล้านบาท ลดลงจากปี 2563 ที่เคยมีมูลค่าโอนฯ 616,939 ล้านบาท หรือติดลบร้อยละ -12.1 แต่สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 5.2 คอนโดมิเนียมปี 2564 อาจมีมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ลดลงเหลือเพียง 262,001 ล้านบาท ลดลงจากปี 2563 ที่เคยมีมูลค่าโอนฯ 311,437 ล้านบาท หรือลดลงติดลบร้อยละ -15.9 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโดยติดลบที่ร้อยละ -7.2 ทั้งนี้จะเห็นว่ามูลค่าลดลงแต่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ในแง่มูลค่าที่ลงไม่ต่ำมากส่วนหนึ่งมาจากมีการโอนสังหาฯ ที่ราคาสูงขึ้น เป็นการปรับตัวของผู้ประกอบการไปสู่การขายสินค้า ในกลุ่มที่มีราคาสูงขึ้นเป็นอีกตลาดที่คาดว่าได้รับผลกระทบจาดโควิด-19 แต่ยังมีกำลังซื้อคือฐานตลาดกลาง-บน ในขณะที่ฐานตลาดระดับแมสในกลุ่มกลาง-ล่าง คาดว่าได้รับผลกระทบหนัก ทำให้กำลังซื้อหดหายอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ สถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดของคนต่างด้าว ในปี 2564 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ของคนต่างด้าว จำนวน 8,258 หน่วย ลดลงจากปี 2562 ติดต่อลบที่ร้อยละ -35.3 และมีสัดส่วนลดลงเหลือร้อยละ 6.8 จากที่เคยมีสัดส่วนในยอดโอนฯ คอนโดฯ ที่ร้อยละ 10 หากดูที่มูลค่า สถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์คอนโดฯ ของคนต่างด้าวในปี 2563 มีมูลค่า 37,716 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 ติดลบร้อยละ -25.5 และมีสัดส่วน และมีสัดส่วนลดลงเหลือร้อยละ 12.1 จากเดิมที่เคยมีสัดส่วนเฉลี่ยประมาณร้อยละ 16.0 อ่านเพิ่มเติม: “ประกันภัยไทยวิวัฒน์” กางผลงานครึ่งแรกปี 2564ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine