GLOCON ไตรมาสแรก 64 โตร้อยละ 6 อานิสงส์จาก WFH - Forbes Thailand

GLOCON ไตรมาสแรก 64 โตร้อยละ 6 อานิสงส์จาก WFH

FORBES THAILAND / ADMIN
12 May 2021 | 12:25 PM
READ 2420

บมจ.โกลบอล คอนซูเมอร์ GLOCON แจงผลงานงวดไตรมาส 1/2564 รายได้รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ทะลุ 410 ล้านบาท ตามการเติบโตธุรกิจหมวดอาหารแปรรูป-ผลไม้อบแห้ง รับอานิสงส์ WFH หลังเร่งเดินหน้าย้ายหมวดธุรกิจจาก “บรรจุภัณฑ์” สู่ “อาหาร” หวังปั้นแบรนด์ พร้อมเตรียมวางจำหน่ายเบอร์เกอร์โปรตีนพืช

หลุยส์ เตชะอุบล ประธานกรรมการบริหาร และรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอล คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOCON ธุรกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าอาหารและบรรจุภัณฑ์สู่ตลาดโลก เปิดเผยภาพรวมผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2564 ว่า บริษัทฯ มีรายได้รวม 410 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการเติบโตของกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 5 แตะ 257 ล้านบาท โดยเฉพาะกลุ่มอาหารแปรรูปแช่แข็งและอาหารกึ่งสำเร็จรูปพร้อมทาน เติบโตขึ้นร้อยละ 12 แตะ 118 ล้านบาท หลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคเน้น Work Form Home หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารนอกบ้าน และกลุ่มผลไม้อบแห้ง เติบโตร้อยละ 9 อยู่ที่ 117 ล้านบาท ขณะที่รายได้จากกลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์เติบโตต่อเนื่องร้อยละ 4 แตะ 150 ล้านบาท
GLOCON
หลุยส์ เตชะอุบล ประธานกรรมการบริหาร และรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอล คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOCON
อย่างไรก็ตาม แม้กลุ่มธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มจะยังคงได้รับผลกระทบจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ซบเซาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ฉุดรั้งกำลังซื้อผู้บริโภค แต่บริษัทฯ ได้มีนโยบายปิดสาขาที่ไม่ทำกำไร พร้อมปรับกลยุทธ์เน้น Delivery และรถฟู้ดทรัค เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายโดยตรง หนุนประสิทธิภาพการทำกำไรให้สูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯพลิกมีกำไรจากการดำเนินการ 0.40 ล้านบาท จากขาดทุน 3.79 ล้านบาทในช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เนื่องด้วยบริษัทฯ ต้องจ่ายค่าปรับให้กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กรณีหุ้น KIAT จำนวน 23.30 ล้านบาท จึงส่งผลให้ภาพรวมไตรมาส 1/64 บริษัทฯยังคงมีผลขาดทุนสุทธิ 5.58 ล้านบาท หลุยส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับภาพรวมไตรมาส 2/64 ต่อเนื่องครึ่งหลังของปี 2564 มีแนวโน้มสดใส จากแผนเดินหน้าย้ายหมวดธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากกลุ่ม “บรรจุภัณฑ์” สู่ “อาหาร” พร้อมเตรียมออกผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งพร้อมทาน (Ready To Eat) ที่จำหน่ายในร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ต่อเนื่องอีกราว 4-5 ตัว อาทิ ข้าวกระเพราปลาหมึก, ซุปกิมจิ, ข้าวผัดปลาเค็ม และแกงจืดกระหล่ำปลียัดไส้ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเตรียมวางจำหน่ายเบอร์เกอร์โปรตีนพืช ผ่านร้าน Kitchen Plus และ A&W รวมถึงผลิตภัณฑ์ Plant Based Food กึ่งสำเร็จรูปพร้อมทาน ผ่านโมเดิร์นเทรด ทดสอบตลาดเมืองไทยในเดือนมิถุนายนนี้ ขณะที่กลุ่มธุรกิจผลไม้อบแห้ง มีสัญญาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ จากการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น อ่านเพิ่มเติม: Sid Sijbrandij ซีอีโอ GitLab ผู้สร้างเทคสนอง WFH แบบเบ็ดเสร็จ
ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine