การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อทั้งชีวิตและระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาลแต่ทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส หากสถานการณ์คลี่คลายลง ประเทศไทยจะมีโอกาสสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ด้วยศักยภาพด้านการสาธารณสุข โดยเฉพาะธุรกิจ Health and Wellness
MedPark: ตั้งเป้าโรงพยาบาลที่ดีที่สุดใน South East Asia ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีโรงพยาบาลเอกชนแห่งใหม่ระดับไฮเอนด์เปิดตัวให้บริการบริเวณถนนพระราม 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ภายใต้ชื่อ โรงพยาบาลเมดพาร์ค (MedPark Hospital) บริหารงานโดยบริษัท ทีพีพี-เฮลท์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 2,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่เกิดจากการรวมตัวของคณะแพทย์หลากหลายสาขา และบริษัท โรงพยาบาลมหาชัย จำกัด (มหาชน) จากการที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาคที่ต่างชาติต้องการเดินทางเข้ามา โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ดังนั้น เป้าหมายสูงสุดของเมดพาร์ค คือ การเป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุดใน South East Asia ภายในระยะเวลา 5 ปี ด้วยความมั่นใจในความพร้อมของโรงพยาบาลในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์จำนวนกว่า 200 คนจากสาขาต่างๆ ที่เข้ามาร่วมถือหุ้นกับบริษัท โดยส่วนใหญ่ล้วนเป็นแพทย์ระดับศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ รวมถึงเมดพาร์คยังได้ลงทุนในอุปกรณ์และเคร่อื งมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยกว่า 1.6 พันล้านบาท ศ.นพ.สิน อนุราษฎร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมดพาร์ค เล่าถึงที่มาของการพัฒนาโรงพยาบาลเมดพาร์ค ซึ่งเกิดจากความสนใจย้อนหลังไปเมื่อประมาณ 4-5 ปี ก่อนหน้านี้ ด้วยการมอบหมายให้อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาตลาดโรงพยาบาลเอกชนระดับไฮเอนด์ว่ามีจำนวนเพียงพอหรือไม่ จากการศึกษาในช่วงเวลานั้นพบว่า แม้จะมีโรงพยาบาลระดับไฮเอนด์เกิดขึ้นแล้วหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลกรุงเทพ และโรงพยาบาลสมิติเวชแต่ด้วยศักยภาพของกรุงเทพฯ และประเทศไทย ยังสามารถเปิดโรงพยาบาลระดับไฮเอนด์ได้อีก 5 แห่ง ประกอบกับโรงพยาบาลส่วนใหญ่ให้บริการเฉพาะด้านการรักษาพยาบาลทั่วไปเท่านั้น ขณะที่โรงพยาบาลเมดพาร์คจะมุ่งเน้นการรักษาคนไข้ภายในประเทศเป็นหลัก แต่ไม่ละเลยโอกาสในการรองรับตลาดต่างชาติ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเมียนมา และกัมพูชารวมถึงประเทศอื่นๆ ที่นิยมเข้ามารักษาพยาบาลในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นประเทศจากตะวันออกกลาง หรือชาวยุโรป ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นประเทศไทยได้รับการยอมรับในมาตรฐานการรักษาพยาบาลและระบบสาธารณสุข โดยถูกจัดอันดับให้อยู่ระดับ Top 5 อย่างต่อเนื่อง เป็นภาพที่ทำให้ทั่วโลกเห็นถึงศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ของไทย จึงเป็นโอกาสที่จะสร้างความสำเร็จและนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ “ภายหลังจากการเปิดประเทศ คนไข้ต่างชาติจะเข้ามารักษาพยาบาลในประเทศไทยมากขึ้นและเติบโตจากผีที่ผ่านมาที่ทำรายได้มากกว่า 2 แสนล้านบาทอย่างแน่นอน เพราะต่างชาติอยากมาไทย และมองไทยเป็น Exotic City เป็นเมืองที่มีครบทุกอย่าง” “สถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบกับโรงพยาบาลไม่มากนัก แม้จะทำให้การก่อสร้างล่าช้า แต่ยังสามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งหนึ่งในข้อดีในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 คือ คนไข้ที่จะต้องรอคิวการรักษาหรือผ่าตัดไม่สามารถเข้าโรงพยาบาลได้นานกว่า 6 เดือน ทำให้ภายหลังจากสถานการณ์คลีคลาย โรงพยาบาลเมดพาร์คจะกลายเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่ถูกเลือกเพื่อจะเข้ามาทำการรักษาพยาบาลหรือการผ่าตัด เช่นการคลอดบุตร” ชีวาศรม: COVID-19 ดันไทยสู่ ฮับสุขภาพ ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดและบริหารจัดการด้านสาธารณสุขที่ดีติดอันดับโลก ซึ่งกลายเป็นปัจจัยบวกต่อประเทศไทยในอนาคต หากสถานการณ์แพร่ระบาดของCOVID-19 ยุติลง และมีการคิดค้นวัคซีนพร้อมนำมาใช้ได้ผลจริงกับมนุษย์เป็นผลสำเร็จ โดยมีการประเมินกันว่า จะมีชาวต่างชาติกลุ่มต่างๆ เดินทางเข้ามาประเทศไทยจำนวนมหาศาลธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ การดูแลสุขภาพ การท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์ จะได้รับอานิสงส์และมีโอกาสเติบโตได้แบบก้าวกระโดด “ชีวาศรม” รีสอร์ตเพื่อสุขภาพแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ผสานศาสตร์ของไทย เอเชีย และองค์ความรู้จากตะวันตกมุ่งเน้นการคืนความสมดุลให้กับร่างกายจิตใจและจิตวิญญาณจิตวิญญาณ ออกมาเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม คาดหวังว่า หากประเทศเข้าสู่ภาวะปกติ ชาวต่างชาติจะหลั่งไหลเข้ามาประเทศไทย เพื่อรับบริการด้านต่างๆ โดยเฉพาะ Health and Wellness ซึ่งประเทศไทยได้รับการยอมรับในด้านศักยภาพความพร้อมจากนานาชาติ โดยเป็นประเทศอันดับต้นๆ ที่สามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้เป็นอย่างดี และไม่เกิดการแพร่ระบาดระลอก 2 กฤป โรจนเสถียร ประธานและประธานบริหาร ชีวาศรม อินเตอร์เนชั่ลแนล เฮลท์ รีสอร์ท แสดงความเห็นว่า แม้ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 แต่ในวิกฤตยังมีโอกาส จากความสามารถของประเทศไทยในการควบคุมโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยซึ่ง จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นสถานที่ที่ชาวต่างชาติอยากเดินทางมาท่องเที่ยวและใช้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Wellness Tourism) มากที่สุด “ธุรกิจ Wellness ยังมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะสังคมไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยคาดว่าภายในไม่เกิน 10 ปีหน้านี้ สัดส่วนจำนวน 1 ใน 4 ของประชากรไทยจะมีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือประมาณ 17-18 ล้านคนหากกลุ่มผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพหรือเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณจำนวนมากในการดูแล และถ้ากรณีรุนแรง จะมีผู้สูงอายุเจ็บป่วยถึง 50% ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด ซึ่งรัฐบาลอาจจะต้องใช้งบประมาณหลายล้านล้านบาทเข้ามาดูแล ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงควรเริ่มต้นส่งเสริมสุขภาพของคนไทยให้มีสุขภาพแข็งแรง มีการรักษาสมดุลของชีวิตและการทำงาน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพได้ในอนาคต” นอกจากนี้ เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีในปี 2563 ชีวาศรมได้เพิ่มอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย เช่น ห้องออกกำลังกายแบบ Functional Studio ที่ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบและสามารถผสมผสานการออกกำลังกายแบบกายภาพบำบัดเข้ากับการออกกำลังกายทั่วไปไว้ในห้องเดียวกัน อุปกรณ์ Isokinetic Dynamometer ที่ช่วยทดสอบและเสริมสร้างมรรถภาพการเคลื่อนไหวและความสมดุลของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงทรีตเมนต์และคลาสที่ทำให้บริการ ชีวาศรมกว่า 200 รายการ ล่าสุด ชีวาศรมเตรียมเปิดบริการ โครงการ สุเลา เวลเนส รีสอร์ท โดย ชีวาศรม (Zulal Wellness Resort by Chiva-Som) ประเทศกาตาร์ ในปี 2564 ซึ่งโครงการตั้งอยู่ริมชายหาด Khasooma ทางตอนเหนือของประเทศกาตาร์ บนพื้นที่กว่า280,000 ตร.ม. โดยรีสอร์ตจะให้บริการห้องพักและห้องสวีตรวทั้งหมด 180 ห้องแบ่งการบริการออกเป็นโซน Zulal Serenityเน้นความเป็นส่วนตัว สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป มีห้องพักและห้องสวีต 60 ห้อง พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ กายภาพบำบัด ฟิตเนส สปา โฮลิสติก และความงาม รวมทั้งโซน Zulal Discovery ให้บริการแก่ผู้รักสุขภาพในทุกช่วงวัย มีพื้นที่เรียนรู้และทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ และห้องพักรวม 120 ห้อง BDMS: ภารกิจสร้างคนไทยสุขภาพดี จากโครงสร้างประชากรที่มีความเปลี่ยนแปลง โดยสังคมไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Silver Age) อย่างสมบูรณ์ในปี 2564 ด้วยจำนวนผู้สูงอายุในวัย 60 ปีมีสัดส่วนมากกว่า 20% ก่อนจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุขั้นสุด ด้วยจำนวนประชากรอายุเกิน 65 ปี ขึ้นไปในสัดส่วนเกิน 20% ภายในปี 2574 ขณะที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจและตื่นตัวในเรื่องการดูแลสุขภาพ ให้แข็งแรงและมีความสุขแบบองค์รวม หรือ Wellness จนเกิดเป็นกระแส Future Trends ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเนื่องจากคนส่วนใหญ่เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพที่ควรป้องกันมากกว่าการรักษาพยาบาลในภายหลัง ซึ่งเสียทั้งเวลาและเงินจำนวนมาก รวมถึงวิทยาการทางการแพทย์ที่มีความเจริญก้าวหน้าไปมาก ทำให้สามารถตรวจร่างกายของมนุษย์ได้ละเอียดลึกถึงระดับพันธุกรรม พร้อมวิเคราะห์ความเสี่ยงของโรคในอนาคตได้ นอกจากนี้ อัตราการเสียชีวิตของคนไทยในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs (Non-communicable Diseases) เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ความดัน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก และโรคมะเร็ง มีอัตราสูงถึง 75% ของจำนวนผู้เสียชีวิตในแต่ละปี ดังนั้น โรงพยาบาลกรุงเทพ (BDMS) ของบริษัท กรุงเทพ ดุสิตเวชการ จำกัด ซึ่งทำหน้าที่รักษาผู้ป่วยมานานจนก้าวสู่ปีที่ 50 และมีโรงพยาบาลในเครือถึง 49 โรงพยาบาล ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเปิดให้บริการ BDMS Wellness Clinic เพื่อให้บริการด้านการดูแลป้องกันสุขภาพแบบองค์รวม ด้วยชื่อเสียงและคุณภาพการรักษาพยาบาลของ BDMS ที่ได้รับการไว้วางใจจากกลุ่มผู้ป่วยทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมประกาศความมุ่งมั่นในภารกิจการส่งเสริม ให้ความรู้ และป้องกันไม่ให้คนไทยเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เพราะการป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ดีกว่า นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังถือเป็นตัวเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะการหันมาใส่ใจและดูแลสุขภาพของตนเอง เพราะการสร้างภูมิคุ้มกันหรือทำให้ร่างกายแข็งแรงจะเป็นเกราะป้องกันการได้รับเชื้อโรคต่างๆ รวมถึง COVID-19 นอกจากนี้ ยังส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพเติบโตตามด้วย ไม่ว่าจะเป็นอาหารสุขภาพ อุปกรณ์การออกกำลังกาย และสิ่งของต่างๆ ที่จะทำให้ร่างกายดีขึ้น “COVID-19 ส่งผลกระทบทั่วโลก แต่หลังจากนี้ ชาวต่างชาติจะต้องการเดินทางมาประเทศไทย เพื่อรับบริการดูแลด้านสุขภาพและการลงทุนกับสุขภาพซึ่งลักษณะของคนไทยเหมาะสมที่จะทำการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพราะเป็นสยามเมืองยิ้ม คนไทยมีความอ่อนน้อมถ่อมตน” “ในปัจจุบันนักท่องเที่ยวอาจจะยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้ แต่เราสามารถประชาสัมพันธ์ประเทศไทยได้ว่าอะไรดี หรืออะไรน่าท่องเที่ยวบ้าง ซึ่งปัจจุบันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ดำาเนินการอยู่แล้ว แต่การทำงานควรจะเป็นการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยแต่ละส่วนทำงานที่ตนเองถนัดและมีความเชี่ยวชาญ” นายแพทย์ตนุพล ให้ความเห็นเพิ่มเติมปิดท้ายถึงโอกาสสร้างการเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่ม Wellness Tourism หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งมีโอกาสเติบโตได้หลายเท่าตัว เรื่อง: ธนาธิป ประสพสุข ภาพ: MedPark, ชีวาศรม และ BDMSคลิกอ่านบทความทางด้านธุรกิจจากผู้บริหารระดับสูงได้ที่นิตยสาร ForbesLife Thailand ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2563 ในรูปแบบ e-magazine