การทวีความรุนแรงของโรคระบาดโควิด-19 รวมถึงมาตรการล็อกดาวน์ ผลักดันให้อีคอมเมิร์ซกลายมาเป็นช่องทางสำคัญสำหรับผู้บริโภค และ "นักช้อปออนไลน์" ที่หันมาพึ่งช่องทางออนไลน์มากขึ้น ขณะเดียวกัน อีคอมเมิร์ซยังกลายเป็นช่องทางหลักสำหรับผู้ประกอบการในการประคับประคองธุรกิจให้ไปต่อได้
ลาซาด้า ผู้สร้างการเติบโตให้วงการอีคอมเมิร์ซไทยอย่างต่อเนื่องมากว่า 9 ปี รวบรวมสถิติน่าสนใจจากผู้บริโภคบนแพลตฟอร์ม พร้อมเผยทิศทางอีคอมเมิร์ซเพื่อเป็นแนวทางให้แบรนด์และร้านค้าปรับตัวให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค โดยอินไซต์ที่น่าสนใจของผู้บริโภคและนัก นักช้อปออนไลน์ ในช่วงนี้ เช่น ซื้อถี่ขึ้น และใช้เวลาอยู่บนแพลตฟอร์มยาวนานขึ้นอีกด้วย ลาซาด้า พบว่าปัจจุบัน ผู้บริโภคใช้เวลาเฉลี่ยบนแอปฯ ต่อเดือน มากกว่า 70 นาที และความถี่ในการเข้ามาใช้งานเฉลี่ยเดือนละ 7 ครั้งต่อคน ซื้อเป็นเซ็ตคุ้มกว่าจูงใจมากกว่า เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันที่ทำให้ยอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง (Average budget size spending) ของผู้บริโภคลดลงถึงร้อยละ 30 เมื่อเปรียบเทียบกับยอดการใช้จ่ายในปี 2563 การจัดผลิตภัณฑ์เป็นเซ็ตพร้อมโปรโมชั่นช่วยเพิ่มความคุ้มค่าให้กับสินค้าและบริการ จูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ผู้หญิงยังครองแชมป์ แต่นักช้อปชายมาแรงไม่แพ้กัน ลาซาด้ามียอดนักช้อปหญิงมากถึงร้อยละ 52 ทำให้สินค้าสำหรับผู้หญิง อย่าง สกินแคร์ เครื่องสำอาง เสื้อผ้า ยังคงเป็นที่ต้องการในตลาดอีคอมเมิร์ซ ส่วนนัก ช้อปชายก็หันมาซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้น และจำนวนร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าสำหรับผู้ชายก็เติบโตกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปี 2563 อยู่ที่ไหนก็ซื้อได้ คนต่างจังหวัดก็ซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น แรกเริ่มสัดส่วนนักช้อปลาซาด้าอยู่ที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ๆ เป็นหลัก แต่ปัจจุบัน ยอดนักช้อปบนแอปฯ มากถึงร้อยละ 85 อาศัยอยู่ต่างจังหวัด เนื่องจากผู้บริโภคชาวไทยได้ปรับตัวหันมาช้อปออนไลน์จากการล็อกดาวน์ครั้งแรกจนเกิดปรากฏการณ์ New Normal และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน สัดส่วนอายุของนักช้อปออนไลน์ โดยพบว่าผู้บริโภคในกลุ่ม Gen Y มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 70 ของผู้ใช้งานทั้งหมด มั่นใจในแบรนด์ที่มีทั้งออนไลน์และออฟไลน์ จากรายงาน Future Shopper 2021 ของวันเดอร์แมน ธอมสัน คนไทยร้อยละ 82 นิยมซื้อของจากแบรนด์ที่มีร้านทั้งออฟไลน์และออนไลน์ การมีร้านทั้งสองช่องทางจะช่วยให้แบรนด์ชนะใจผู้บริโภคง่ายขึ้น โดยเฉพาะการขยายไปอีคอมเมิร์ซ ซึ่งช่วยให้สามารถเข้าถึงนักช้อปได้ทั่วประเทศ โดยที่ผ่านมา หลายแบรนด์ประสบความสำเร็จในการเข้าถึงผู้บริโภคจากการเปิดร้านบน LazMall ปัจจุบัน ลาซาด้ามีแบรนด์บน LazMall มากกว่า 9,000 แบรนด์ เพิ่มขึ้น 350 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2563 สินค้ายอดฮิตยังคงเกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 รวมไปถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำ Home Isolation เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ เครื่องวัดออกซิเจนจากปลายนิ้ว ถุงขยะสีแดงมีหูผูกสำหรับขยะติดเชื้อ เป็นต้น โดยตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สินค้าในกลุ่มเหล่านี้มีความต้องการเพิ่มมากถึงร้อยละ 70 สินค้าดิจิทัล (Digital Goods) มาแรง เช่น บัตรเติมเงินมือถือ บัตรกำนัล ประกัน แพ็กเกจตรวจสุขภาพ ใบจองคอนโด โดยที่ผ่านมายอดขายแพ็กเกจตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลต่างๆ บนลาซาด้าเติบโตขึ้นถึง 1,000 เปอร์เซ็นต์ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพ และนั่นหมายความว่าในอนาคตไม่ว่าอะไรก็สามารถขายบนช่องทางออนไลน์ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าที่จับต้องได้อีกต่อไป นักช้อปคาดหวังในบริการด้านการจัดส่งมากขึ้น การจัดส่งสินค้าฟรีจึงเป็นแต้มต่อให้กับร้านค้า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา นักช้อปใช้คูปองจัดส่งสินค้าฟรีบนแอปฯ ลาซาด้าไปแล้วถึง 117 ล้านครั้ง ช่วยผู้บริโภคประหยัดเงินค่าขนส่งไปได้มากถึง 350 ล้านบาท ส่วนผู้ขายที่มีโปรโมชั่นส่งสินค้าฟรีพบว่ามียอดขายเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 40 นอกจากนี้ โครงการอื่นๆ ของลาซาด้า เช่น แคมเปญเลขคู่ หรือฟีเจอร์ช้อป 9 บาททุกวัน ก็ช่วยดันยอดขายให้ร้านค้าได้เติบโต 560 เปอร์เซ็นต์ ลาซาด้าจึงจัดโปรโมชั่นส่งสินค้าฟรีในแคมเปญต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงแคมเปญ 9 Mega Brands Sale เมกะแคมเปญที่จะมาถึงในเดือนกันยายนนี้ พร้อมระบบลาซาด้าโลจิสติกส์ที่รวดเร็วและครอบคลุมเพื่อช่วยผู้ขายตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและสนับสนุนให้คนไทยก้าวผ่านช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ไปด้วยกัน อ่านเพิ่มเติม: GS Retail ปิดดีล Yogiyo เสริมทัพค้าปลีก ชิงส่วนแบ่งในตลาดส่งอาหารเกาหลีใต้ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine