บริษัท เอ็นทีที เดต้า (ประเทศไทย) จำกัด เตรียมส่งบริการ NXT Mobility Charge ระบบแพลตฟอร์มบริหารจัดการจุดชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจร ตั้งแต่ให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหาระบบ พัฒนาแอปพลิเคชัน และบริการหลังการขาย เจาะกลุ่มค่ายรถยนต์ ผู้ประกอบการสถานีเติมน้ำมันและแก๊ส ธุรกิจอสังหาฯ และภาครัฐ
Hironari Tomioka ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็นทีที เดต้า (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้เครือบริษัท เอ็นทีที เดต้า คอร์ปอเรชัน จำกัด เปิดเผยว่า บริษัท เตรียมพร้อมส่งมอบบริการ NXT Mobility Charge หรือ บริการ EV Charging Platform เครื่องมือบริหารจัดการสถานีชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% หรือ รถยนต์ EV (Electric Vehicle) อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้บริการแพลตฟอร์ม ซึ่งจะเป็น Software ช่วยบริหารจัดการจุดชาร์จได้จากศูนย์กลางแบบเบ็ดเสร็จ และบริการพัฒนา Mobile Application ด้วยการออกแบบและจัดทำแอปพลิเคชันตามความต้องการของลูกค้า เพื่อสนับสนุนการสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
“โครงสร้างพื้นฐานหลังบ้านสามารถทำได้ทั้งบน Cloud และ On-Premise เจาะกลุ่มเป้าหมาย ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์ EV ผู้ประกอบการสถานีเติมน้ำมัน และสถานีแก๊สเชื้อเพลิงขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ รวมไปถึงผู้ให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ EV ในสังกัดภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการค้าปลีก และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่มีนโยบายสนับสนุนการใช้งานรถยนต์ EV เพื่อตอบสนองการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมุ่งให้ความสำคัญกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์”
สำหรับ NXT Mobility Charge ได้ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน Open Charge Point Protocol (OCPP standard) เวอร์ชั่นล่าสุด ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก สามารถยกระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดสถานีชาร์จได้จากศูนย์กลาง โดยมีจุดเด่นด้านเทคนิค ได้แก่ โครงสร้างของชุดซอฟท์แวร์ แบบ Multi-tenant สำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายจุดชาร์จรถยนต์ EV (Charge Point Operators: CPO) และผู้ให้บริการการเข้าจุดชาร์จที่หลากหลายรอบพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (e-mobility providers: EMPs) สามารถปรับรูปแบบของ Software ให้เข้ากับรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกัน
ขณะเดียวกันยังมีจุดเด่นด้านสถาปัตกรรมไอทีแบบ Kernel-based และแนวคิดการให้สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายจุดชาร์จรถยนต์ EV (CPO) และผู้ขับขี่ รวมถึงช่วยเพิ่มส่วนขยายฟังก์ชั่นการทำงานแบบเฉพาะเจาะจงตามความต้องของลูกค้า ด้วยโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ การพัฒนาแอปพลิเคชันยังสามารถนำไปใช้งานบนคลาวด์ (Cloud-native application) ด้วยเทคโนโลยีที่มีความพร้อมใช้งานสูงและปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น รวมถึงสามารถให้บริการในรูปแบบ PaaS (Platform as a Service) พร้อมทั้งใช้ระบบ API ที่การันตีว่าสามารถผสานการทำงานร่วมกับระบบที่มีอยู่เดิมได้อย่างง่ายดาย โดยสามารถให้บริการครบวงจรตั้งแต่บริการให้คำปรึกษา วางแผนและออกแบบ ดำเนินการติดตั้งและการดูแลรักษาระบบ
ยิ่งไปกว่านั้นผู้ให้บริการยังสามารถนำระบบแพลตฟอร์มดังกล่าวไปใช้สนับสนุน Customer Experience เพื่อต่อยอดบริการที่ดียิ่งขึ้นและส่งเสริมการตลาด รวมถึงบริการหลังการขาย โดย
NXT Mobility Charge จะช่วยให้ผู้ใช้งาน ค้นหาจุดชาร์จที่อยู่ใกล้ และทำการจองคิวเพื่อใช้งานล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ส่งเสริมการทำ Marketing Campaign ผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อสร้างความสนใจในระหว่างรอใช้บริการ และต่อยอดสู่ระบบสะสมคะแนนหรือการเก็บข้อมูลเพื่อการทำ CRM สามารถผสานการทำงานร่วมกับระบบ Payment gateway ผ่านแอปพลิเคชันที่รองรับการชำระเงินได้หลายรูปแบบ
ตัวอย่างเช่น Credit card, Debit card, QR code และ Mobile banking รวมถึง e-Wallet หรือระบบการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นบริการเสริมที่ช่วยให้การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ต่อยอดกิจกรรมทางการตลาดและพัฒนารูปแบบการให้บริการ
NXT Mobility Charge ยังช่วยส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และบริการจัดการการใช้พลังงานจุดชาร์จรถยนต์ EV ให้คุ้มค่าที่สุด ด้วยระบบ Intelligent Energy Management
“ปัจจุบันทั่วโลกกำลังผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐอย่างจริงจัง เพื่อมุ่งสู่ Net Zero ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO
2) ให้เป็นศูนย์เพื่อให้โลกสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยสมาพันธ์ Zero Emission Vehicle Transition Council มีข้อตกลงเห็นพ้องตรงกันว่า ภายในปี 2583 ผู้ผลิตรถยนต์จะเดินหน้าผลิตและจำหน่ายยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ประกอบกับยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเป็นหนทางสำคัญในการหลุดพ้นจากปัญหาราคาน้ำมันที่ผันผวน โดยทั่วโลกเริ่มหันมาให้ความสำคัญมากขึ้น มีการออกกฎระเบียบและใช้มาตรการกระตุ้นต่างๆ เพื่อผลักดันยอดจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นรวมถึงประเทศไทย
ในขณะที่ไทยเริ่มมีความชัดเจนในมาตรการกระตุ้นการผลิตและการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น ทั้งในส่วนของมาตรการทางภาษี โดยวางเป้าหมายภายปี 2573 จะผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% หรือ EV ให้ได้ร้อยละ 30 หรือประมาณ 6.22 ล้านคัน และความท้าทายสำคัญในการกระตุ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้รถยนต์ EV ให้ประสบผลสำเร็จ คือการเพิ่มจำนวนจุดชาร์จไฟฟ้าแบบเร็วตามพื้นที่สาธารณะต่างๆ ให้เพียงพอ ปัจจุบันประเทศไทยมีจุดชาร์จประมาณ 600 จุด โดยหัวใจสำคัญของการให้บริการจุดชาร์จ คือการบริหารจัดการจุดชาร์จอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า คุ้มทุน และสร้างรายได้ให้กับธุรกิจอย่างยั่งยืน”
Hironari กล่าวสรุป