สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ "ดีป้า" พร้อมด้วย AIS, PMH-ผู้ให้บริการ POMO กลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ และสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย รวมพลังสร้างชาติฟื้นฟู "การท่องเที่ยวภูเก็ต" เปิดตัว “โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์-Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย หลังวิกฤตหนักการท่องเที่ยว
ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า “วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย และสร้างความเสียหายเชิงเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว และพึ่งพาจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยในปี 2563 ภูเก็ตสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวสูงกว่า 320,000 ล้านบาท” ล่าสุด ดีป้า พร้อมด้วยพันธมิตร อย่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส, บริษัทพีเอ็มเอชโฮลดิ้ง จำกัด (POMO) กลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ และสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย เล็งเห็นปัญหาในจุดนี้ จึงได้ร่วมมือจัดทำ “โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์ -Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย" ด้วยแพลตฟอร์มนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ ผ่านเทคโนโลยี NB-IoT (NB-IoT Wristband Tourist Tracking) เครื่องมือมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Monitoring) ของนักท่องเที่ยวระหว่างกักตัว 14 วัน ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจและเสริมความปลอดภัยด้านสาธารณสุขแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังจังหวัดภูเก็ต ทำให้การกักตัวบนเรือยอชต์ของนักท่องเที่ยวและการทำงานของทีมแพทย์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร เอไอเอส กล่าวว่า “ในฐานะ Digital Life Service Provider ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งเป็นอันดับ 1 ด้วยเครือข่าย AIS 4G, 5G ที่มีคลื่นมากที่สุด ครบทั้งย่านความถี่ต่ำ,กลาง และสูง ครอบคลุมการใช้งานทุกรูปแบบ (คลื่น 700 MHz, คลื่น 2600 MHz และคลื่น 26 GHz) ตลอดจนเครือข่าย IoT ทั้ง NB–IoT และ eMTC ที่ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด เรามีความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและขีดความสามารถของทีมงาน มายกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมากับ “โครงการ AIS5G สู้ภัยโควิด” ที่ได้นำศักยภาพของโครงข่ายไปใช้ในพื้นที่กักตัวและโรงพยาบาลสนามหลักหลายแห่ง อาทิ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ,ศูนย์ห่วงใยคนสาคร, ฯลฯ ซึ่งล่าสุดกับ “โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์-Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย ด้วยศักยภาพโครงข่าย AIS NB- IoT และนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ” (NB-IoT Wristband Tourist Tracking)” ที่เป็นรูปแบบการกักตัวนักท่องเที่ยวบนเรือยอชต์กลางทะเลก่อนเดินทางขึ้นบก เราจึงเลือกใช้เครือข่าย Narrow Band IoT ที่รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT บนคลื่น 900 MHz ที่สามารถกระจายสัญญาณออกไปในทะเลได้มากกว่า 10 กม. พร้อมด้วยแพลตฟอร์ม Cloud มาเป็นเครือข่ายหลัก เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ (NB-IoT Wristband Tracking) ที่พัฒนาขึ้นโดย บริษัท พีเอ็มเอช โฮลดิ้ง หรือ POMO ผู้ให้บริการโซลูชั่น Tracking และ Monitoring ที่จะมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Monitoring) ของนักท่องเที่ยว ทั้งอุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ สัญญาณชีพจร รวมถึงพิกัดของนักท่องเที่ยว และส่งข้อมูลต่อมายังแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพของนักท่องเที่ยวได้แบบเรียลไทม์ ในระหว่างกักตัว 14 วันบนเรือก่อนเดินทางขึ้นบกเพื่อท่องเที่ยวต่อไป สำหรับ โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์-Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย ด้วยศักยภาพโครงข่าย AIS NB- IoT และนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ (NB-IoT Wristband Tourist Tracking) มีขั้นตอนในการให้บริการคือ เมื่อมีนักท่องเที่ยวประสานเดินทางเข้ามาทางเรือ ทางสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย จะเป็นตัวแทนประสานงาน กับหน่วยงานทางการแพทย์เพื่อทำการตรวจโรคในครั้งแรก พร้อมให้นักท่องเที่ยวสวม สายรัดข้อมืออัจฉริยะ หรือ NB-IoT Wristband Tourist Tracking ที่จะส่งตัวเลขสุขภาพของนักท่องเที่ยวแต่ละท่านตลอด 14 วันของการกักตัวเข้ามาที่ Dash Board ณ ที่ทำการ ท่าเทียบเรืออ่าวปอ ซึ่งหลังจากที่กักตัวครบ 14 วัน จะมีการนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์อีกครั้งว่า นักท่องเที่ยวมีความเสี่ยงโควิด-19 มากน้อยเพียงใด เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนให้นักท่องเที่ยวเดินทางขึ้นฝั่งภูเก็ตต่อไป” ด้าน ฉัตรชัย ตั้งจิตตรง ประธานกรรมการ บริษัท พีเอ็มเอช โฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า " POMO เริ่มดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2557 โดยเป็นสตาร์ทอัพไทยด้าน IoT สำหรับเด็กและนวัตกรรมสร้างสรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่รายแรกที่สามารถนำสินค้าเข้าสู่ตลาดโลกได้สำเร็จ โดยความร่วมมือกับเอไอเอส และดีป้า ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสนับสนุนการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในโครงการ Digital Yacht Quarantine กักตัวนักท่องเที่ยว 14 วันบนเรือ ที่ท่าเทียบเรืออ่าวปอ จ.ภูเก็ต ครั้งนี้ เราได้ใช้ดีไวซ์ 2 รุ่นคือ Activ 10+ และ Smartwatch Active 30+ ที่เป็นทั้ง Tracker และ Health Device ให้นักท่องเที่ยวใส่ที่ข้อมือติดตัวตลอดเวลา เพื่อติดตามและเฝ้าระวังป้องกันการออกนอกพื้นที่ โดยระบบจะทำงานอย่างแม่นยำด้วยเซนเซอร์อัจฉริยะที่สามารถวัดชีพจร ค่าความดัน และวัดอุณภูมิร่างกายของนักท่องเที่ยว อีกทั้งยังสามารถแจ้งสัญญาณ SOS ได้ หากนักท่องเที่ยวเกิดเหตุต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งข้อมูลต่างๆ จะแสดงไปยัง Dashboard บนเว็บไซต์ แบบ Real time เพื่อให้ส่งต่อความช่วยเหลือ หรือ ให้คำแนะนำได้ได้ตลอดเวลา โดยรูปแบบของการให้บริการ Health Monitoring ผ่านนวัตกรรมสายรัดข้อมืออัจฉริยะนี้ เป็นรุ่นเดียวกันกับที่ใช้บนเกาะ Cayman สำหรับ Hotel bubble project ที่ได้ผลอย่างดีอีกด้วย” อ่านเพิ่มเติม: ฉัตรชัย ตั้งจิตตรง ปั้น ‘POMO’ แบรนด์ไทยสู่ตลาดโลก ตัญญุตา สิงห์มณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย แปซิฟิค ซุปเปอร์ยอชท์ จำกัด ตัวแทนสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย (TYBA) กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อสมาชิกสมาคมฯ อย่างหนัก เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากเรือยอชต์ต่างชาติ สูญเสียรายได้มากถึง 50- 60% เราจึงพยายามหาโซลูชั่นให้คนในธุรกิจเรือยอชต์ได้กลับมามีงานทำ จึงเป็นที่มาของโครงการกักตัวบนเรือยอชต์ ที่ได้ร่วมมือกับเอไอเอส, ดีป้า,PMH-ผู้ให้บริการ POMO กลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ ยกระดับ Digital Yacht Quarantine นี้ เชื่อว่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว และทุกภาคส่วนมีความสบายใจว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับเรือยอชต์นี้ผ่านการกักตัวที่ได้รับมาตรฐานจากระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการ Yacht Quarantine ในเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา มีสถิติการติดเชื้อโควิดเป็นศูนย์ และนักท่องเที่ยวรู้สึกมีความสุขกับการกักตัวบนเรือ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าภายในปี 2564 นี้ จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยด้วยเรือยอชต์ประมาณ 100 ลำ จำนวนนักท่องเที่ยว 300-500 คน” ธนภัทร ทั่วไตรภพ กรรมการบริหาร บริษัท โฟล คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า “เราดำเนินธุรกิจ บริหารจัดการความปลอดภัยท่าเรือและนักท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยี ภายใต้แพลตฟอร์มชื่อว่า FLOWLOW เพื่อสร้างมาตรฐานและประสบการณ์ใหม่ที่ดีให้กับนักเดินทางในทุกด้าน อาทิ ข้อมูลการเดินทางท่องเที่ยวอันดามัน คำแนะนำในกรณีฉุกเฉิน ประกันการเดินทาง และระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) ในนาม Flowpay สำหรับโครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์ “Digital Yacht Quarantine” นั้น โฟล คอร์ปอเรชั่น ได้ร่วมกับบริษัท พัชทรีทัวร์ กรุ๊ป ผู้ได้รับสัมปทานในการบริหารจัดการท่าเทียบเรืออ่าวปอ จ.ภูเก็ต ดำเนินการตั้งแต่การให้บริการลงทะเบียน NB-IoT Wristband Tourist Tracking เพื่อให้นักท่องเที่ยวสวมใส่สำหรับกักตัวบนเรือยอชต์ 14 วัน พร้อมจัดทีมแพทย์ขึ้นไปตรวจเชื้อโควิดบนเรือ โดยจะมีการมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพตลอดเวลาและหลังจากที่กักตัวครบ 14 วัน ก็จะมีการนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์อีกครั้งว่า นักท่องเที่ยวมีความเสี่ยงโควิด-19 มากน้อยเพียงใด ก่อนอนุญาตให้เดินทางขึ้นฝั่งภูเก็ต เรียกได้ว่าการร่วมมือกันครั้งนี้ถือเป็นมิติใหม่ในการท่องเที่ยวในยุคนิวนอร์มัล ที่นอกจากจะยกระดับการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต และหมู่เกาะทะเลอันดามันให้มีความทันสมัยและอัจฉริยะมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวพลิกฟื้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย" ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า โครงการ Digital Yacht Quarantine ถือเป็นตัวอย่างการนำเทคโนโลยีดิจิทัลจากผู้ให้บริการโครงข่ายและ Startups ไทย เข้ามาเสริมขีดความสามารถด้านการสาธารณสุข การสร้างมาตรฐานใหม่ของการท่องเที่ยวแบบ New Normal ไปอีกขั้น พร้อมขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองอัจฉริยะเต็มรูปแบบ สอดรับกับนโยบาย “ภูเก็ตโมเดล (GEMMSS)” ทำให้จังหวัดเป็นต้นแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและการควบคุมโควิด-19 แห่งแรกในประเทศไทย ตามเป้าหมายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะภูเก็ตคือ “เมืองน่าอยู่เพื่อการท่องเที่ยวยังยืน” ช่วยกระตุ้นและจูงใจนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เดินทางมายังภูเก็ตมากขึ้น ก่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักและแข็งแกร่งอีกครั้ง” อ่านเพิ่มเติม: อเมซอนโกลบอลเซลลิ่ง เผย 3 ผู้ประกอบการหญิงไทยผู้เป็นแรงบันดาลใจให้สังคมไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine