เอไอเอส ประกาศวิสัยทัศน์ สร้าง5G ใน 77 จังหวัดทั่วไทย “AIS5G – Forging Thailand’s Recovery” สร้างไทยเป็น Digital Infrastructure ใหม่ของประเทศ รวมถึงสนับสนุนการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก พร้อมผนึกผู้นำอุตสาหกรรมทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา วิกฤตโควิด-19 นำมาซึ่งผลกระทบอย่างรุนแรงไปทั่วโลกยิ่งกว่าวิกฤตอื่นๆ ที่เคยมีมา และก่อให้เกิด “ชีวิตวิถีใหม่” ที่ไม่มีวันกลับไปเหมือนเดิมแบบทันทีทันใดในทุกระดับ โดยจะเห็นปรากฏการณ์เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงตกต่ำจากวิกฤต หรือ FALL ต่อมาคือ ช่วงแห่งการต่อสู้เพื่อให้ก้าวผ่านวิกฤตไปให้ได้ หรือ FIGHT และช่วงสร้างอนาคตอย่างยั่งยืน หรือ FUTURE ซึ่งในทุกช่วงเวลาล้วนแล้วแต่ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเข้ามาเป็นฐานรากที่แข็งแกร่งเพื่อช่วยประคับประคองและเสริมขีดความสามารถทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด อย่าง AIS 5G ที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ดิจิทัลเส้นใหม่ ที่ได้เริ่มนำมาใช้ช่วยเหลือ เพื่อหล่อเลี้ยงประเทศจากวันนี้ เป็นต้นไป” “ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี เอไอเอสได้ลงทุนมากกว่า 1.1 ล้านล้านบาท โดยในปีนี้ได้เตรียมงบลงทุนไว้ที่ 35-45 หมื่นล้านบาท ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อคนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเอไอเอสเป็นผู้ให้บริการ Digital Life Service Provider ที่ถือครองคลื่นความถี่มากที่สุด คือ LOW BAND (700-900 MHz) 50 MHz, MID BAND (1800-2600 MHz) 170 MHz และ HIGH BAND (26 GHz) 1200 MHz และเปิดให้บริการ AIS 5G เป็นรายแรกของประเทศตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 พร้อมขยายเครือข่ายไปครบทั้ง 77 จังหวัดเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่เดือนพฤษภาที่ผ่านมา” โดยนวัฒกรรม AIS 5G ที่ทำให้ประเทศไทยเป็นกลุ่มแรกของโลกที่นำมาใช้งานจริงประกอบไปด้วย 5G Dual Mode SA/NSA โดยประเทศไทย เป็นกลุ่มแรกของโลกที่ใช้ เทคโนโลยี SA - Stand Alone และ NSA – None Stand Alone Dual Mode ที่สามารถผสมผสานระหว่าง เครือข่าย 5G โดยเฉพาะ และเครือข่าย 5G ที่ทำงานร่วมกับ 4G พร้อมรับอนาคตในการใช้งาน 5G ในหลากหลายประโยชน์ในรูปแบบ Massive IoT และ Mission Critical 5G Network Slicing ที่เสมือนมีหลากหลายเครือข่ายอยู่ในเครือข่ายเดียว (Multi Network In One Network) ทำให้เราสามารถออกแบบเครือข่ายแต่ละชั้นได้อย่างสอดคล้องและยืดหยุ่นกับลักษณะของอุตสาหกรรมแต่ละรูปแบบ แต่ละพื้นที่ ได้อย่างคล่องตัว เต็มประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การทำธุรกิจของแต่ละองค์กรได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ จากขีดความสามารถของเครือข่าย AIS 5G เมื่อผสมผสานเข้ากับคุณสมบัติของ 5G คือ ความเร็ว แรง เสถียร การสนับสนุนและยกระดับการใช้งาน Multi Media Content สู่ VR หรือ AR การรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoTได้ในจำนวนมหาศาล และมีอัตราการตอบสนองที่รวดเร็วจากความหน่วงต่ำ จึงยิ่งทำให้ 5G เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการเสริมขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมหลักทั้งหมดตั้งเป้าสนับสนุนในภาคส่วนต่างๆ
ภาคสาธารณสุข AIS 5G ทำงานร่วมกับ Robot และ AI เข้าไปสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการ คัดกรองคนไข้ (Robot for Care), Telemedicine, AI Assisted CT SCAN และ Mobile Stroke Unit ตลอดช่วงระยะของการแพร่ระบาดรุนแรง จนถึงการผนึกกำลังกับเครือข่ายพันธมิตร (Strategic Partner) เพื่อพัฒนา Telemedicine อย่างต่อเนื่อง ภาคอุตสาหกรรมในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor - EEC โดย 5G ในฐานะ ICT Infrastructure เพื่อเสริมขีดความสามารถในการบริหารจัดการในทุกๆส่วนงาน ประกอบด้วย ภาคพื้นดิน : กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย อมตะ คอร์ปอเรชัน, สหพัฒนา อินเตอร์โฮลดิ้ง, กลุ่ม WHA ที่เริ่มทดลองสอบ 5G Smart City แล้ว ภาคทางอากาศ : บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น ในนาม กลุ่ม กิจการร่วมค้าบีบีเอส ผู้ชนะการประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่เริ่มทดลองทดสอบ 5G Smart Airport และ ภาคทางทะเล : การท่าเรือแห่งประเทศไทย ที่เริ่มทดลองทดสอบ 5G แล้ว ในบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง ด้านภาคการค้าปลีก AIS 5G อยู่ระหว่างการพัฒนา 5G Smart Retail ร่วมกับกลุ่มเซ็นทรัลรีเทล ในฐานะหัวหอกสำคัญของภาคอุตสาหกรรมค้าปลีก ที่ครอบคลุมตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ของการใช้ชีวิตของคน ในฐานะการกระจายรายได้ระหว่างผู้ผลิตกับผู้ซื้อ รวมถึงมีอัตราการจ้างงานถึง 2 ใน 3 ของประเทศ ด้าน Multimedia ใหม่ สร้าง Immersive Experience - 5G Immersive Experience กับเทคโนโลยี AR/VR พร้อมร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สร้างประสบการณ์ใหม่ของ Unseen Thailand ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมถึง คอนเทนต์ด้านการศึกษา และความบันเทิง พลิกโฉมการสร้างสรรค์คอนเทนท์ของ Creator สัญชาติไทย ด้วย Next Reality Studio - AR/VR Studio แห่งแรกของเมืองไทย ด้าน Sustainability Development 5G กับการพัฒนา สิ่งแวดล้อม การเกษตร และการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยผนึกพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สร้าง SDG Lab ในพื้นที่ 100 ไร่ ใน อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี หรือสวนป๋วย ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ต้นแบบการรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมที่สุดแห่งหนึ่ง รวมทั้งประกาศแพลตฟอร์มการเรียนรู้ LearnDi จาก AIS Academy for Thais ขยายการสร้างความเข้มแข็งการพัฒนาบุคลากรสู่แต่ละองค์กรทั่วประเทศ "ชาวเอไอเอส พร้อมอย่างยิ่งที่จะนำ AIS 5G ที่ดีที่สุด เข้ามาเป็นเส้นเลือดใหญ่ดิจิทัลหลักของประเทศไทยจากวันนี้เป็นต้นไป เพราะวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาเป็นบทเรียนสำคัญของคนไทยและทั่วโลกว่า ท่ามกลางวิกฤตยังมีโอกาสอันยิ่งใหญ่อยู่เสมอ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะฉกฉวยโอกาสนั้นอย่างไร" สมชัย กล่าวในตอนท้าย อ่านเพิ่มเติม: กลุ่มท่องเที่ยว-การบินฮึดสู้ COVID-19 “วิชัย ทองแตง” นำ 7 ธุรกิจฟื้นตลาดไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine