ผลวิจัยเผยคนไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ความสำคัญกับ Work-life Balance - Forbes Thailand

ผลวิจัยเผยคนไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ความสำคัญกับ Work-life Balance

FORBES THAILAND / ADMIN
10 Jul 2023 | 07:00 PM
READ 2777

    ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากโดยได้กลายเป็นศูนย์รวมของรูปภาพและข้อมูลขนาดใหญ่ และในขณะที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคต่อไปของอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่าเทคโนโลยี Web3 นั้น iStock แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำที่ให้บริการรูปภาพและวิดีโอคุณภาพสูง ได้เปิดเผยผลการวิจัยล่าสุดเพื่อสนับสนุนให้ กลุ่มธุรกิจ SMB และ SME ทราบถึงผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีต่อผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการมีความเป็นอยู่ที่ดี

    ข้อมูลจากแพลตฟอร์มการสืบค้นข้อมูลด้วยภาพ VisualGPS ของ iStock ในช่วงปีที่ผ่านมาพบว่า คนในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลและจัดระเบียบให้กับชีวิตมากขึ้น โดย 64% (เทียบกับค่าเฉลี่ย 54% ทั่วโลก) ระบุว่าชีวิตที่ประสบความสำเร็จคือชีวิตที่ได้รับการดูแลและเติมเต็มทั้งในด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ และเมื่อวิเคราะห์ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้แบบเจาะจง การวิจัยระบุว่าผู้คนกว่า 86% มีความรู้สึกตื่นเต้นกับผลกระทบที่เทคโนโลยีต่อการมีสุขภาพที่ดี


    สำหรับผู้คนประเทศไทยกำลังให้ความสนใจในเรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมมากขึ้น โดยรายงานของ McKinsey พบว่า ผู้บริโภคมีความตั้งใจที่จะใช้จ่ายกับผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยดูแลสุขภาพ โภชนาการ รูปร่างหน้าตา การนอนหลับ และการเจริญสติของพวกเขามากขึ้น

    ซึ่งเมื่อผู้บริโภคให้ความสนใจมากขึ้น เทรนด์การดูแลสุขภาพที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นับตั้งแต่แอปด้านสุขภาพจากบล็อกเชน เช่น Health Wallet ไปจนถึงตลาดออนไลน์แบบเพียร์ทูเพียร์ เช่น Take Me Tour เป็นต้น

    “เรากำลังเห็นการเปลี่ยนแปลงในการนำเสนอเทคโนโลยีด้วยภาพ โดยเฉพาะแนวทางที่เทคโนโลยีเหล่านี้จะสามารถชี้นำและสนับสนุนเราให้มีชีวิตที่มีสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตใจ และอารมณ์ที่ดีขึ้น” Kate Rourke หัวหน้าฝ่าย Creative Insights APAC ของ iStock กล่าว

    “การแสดงภาพเทรนด์สุขภาพที่ถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยเห็นถึงตัวอย่างและมีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้เพื่อตอบโจทย์การมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวมได้ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาเป็นผู้นำในการตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคและสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นกับผู้ชม"


    ในขณะที่เทคโนโลยี Web3 ได้ปฏิวัติวงการธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการคาดการณ์ว่าผลกระทบต่อสุขภาพก็จะมีการพัฒนาด้วยเช่นกัน โดยผลสำรวจที่จัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเมื่อปีที่ผ่านมา ได้เตือนถึงกระแสของ “ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)” ในหมู่คนไทย

    โดยการสืบค้นข้อมูลด้วยภาพ VisualGPS ของ iStock ยังชี้ว่า ความเหนื่อยล้าจากการทำงานในแต่ละวันยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่น่าวิตกกังวล

    ปัจจุบันคนไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ความสำคัญกับ 2 อันดับแรกในชีวิต ได้แก่ การสร้างความสมดุลในชีวิตการทำงาน (work-life balance) และการดูแลสุขภาพ

    การวิจัยของ VisualGPS ยังพบว่า เนื่องจากผู้คนต้องการเต็มที่กับชีวิตทั้งในด้านการทำงานและชีวิตส่วนตัว ทำให้มีความสนใจเพิ่มขึ้น เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น metaverse หรือเครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ว่าจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อชีวิตในด้านต่างๆ ทั้งที่บ้านและที่ทำงานได้อย่างไรบ้าง

    60% ของผู้คนทั่วโลก รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เห็นอนาคตเมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้น โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีค่าเฉลี่ยในเรื่องนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก โดย 7 ใน 10 แสดงความตื่นเต้นเกี่ยวกับศักยภาพใหม่ๆ ของเทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้น

    นอกจากนี้ การค้นหารูปภาพและวิดีโอในหมวดหมู่ของ “AI Health” จาก iStock ในประเทศไทยก็สูงขึ้น แสดงให้เห็นถึงความสนใจที่ชัดเจน ว่าเทคโนโลยีจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสุขภาพแบบเฉพาะบุคคลได้อย่างไร

    งานวิจัยยังบอกถึงเหตุผลหลักที่ทำให้ผู้คนรู้สึกสนใจปัญญาประดิษฐ์และโลกเสมือนจริง โดยคนไทยส่วนใหญ่สนใจปัญญาประดิษฐ์และโลกเสมือนจริงเพราะช่วยให้สามารถสัมผัสประสบการณ์และโอกาสต่างๆ อย่างใกล้ชิด รวมไปถึงวิธีการใหม่ๆ ในการสร้างรายได้ด้วยเช่นกัน

    Kate Rourke ได้นำเสนอแนวทางสำหรับกลุ่ม SMB และ SME ที่กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเติบโตของ Web3 เพื่อช่วยยกระดับสื่อสารและทำให้กลุ่มเป้าหมายเห็นภาพว่าการมีสุขภาพที่ดีเป็นอย่างไร ผ่าน 3 ประเด็นสำคัญดังนี้

        • การทำให้เห็นว่าเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่จะช่วยแนะแนวทางและสนับสนุนการมีสุขภาพที่ดี ผ่านรูปแบบการตั้งค่าแบบเฉพาะบุคคลและแนวทางที่จะช่วยให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดี

        • การเน้นย้ำว่าเทคโนโลยีจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลอย่างไร้รอยต่อ สร้างความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ และเป็นส่วนสำคัญของการมีสุขภาพที่ดีของพวกเขา

        • การแสดงแนวปฏิบัติในเรื่องของการดูแลสุขภาพแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในอนาคตของการมีสุขภาพที่ดี


    อ่านเพิ่มเติม : เกาะติดหุ้นเทคฯขนาดใหญ่ปรับตัวพุ่งแรง พร้อมมองทำกำไรในสินทรัพย์ทางเลือก

    ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine