งานวิจัยเผย การปฏิบัติตามเสียงสะท้อนของ "พนักงาน" สร้างความผูกพันต่อองค์กรได้ - Forbes Thailand

งานวิจัยเผย การปฏิบัติตามเสียงสะท้อนของ "พนักงาน" สร้างความผูกพันต่อองค์กรได้

FORBES THAILAND / ADMIN
10 Feb 2020 | 06:00 PM
READ 6238

ผลการศึกษาจากควอทริคซ์ (Qualtrics) เปิดเผยว่า องค์กรธุรกิจในประเทศไทยสามารถสร้างความผูกพันกับ พนักงาน จากการดำเนินการตามความคิดเห็นหรือเสียงสะท้อนของพนักงาน

ควอทริคซ์ ผู้พัฒนาระบบบริหารจัดการประสบการณ์ เปิดเผยผลการศึกษา เรื่อง แนวโน้มประสบการณ์ของพนักงานในปี 2563 (2020 employee experience trends) โดยพบว่า บริษัทในประเทศไทยได้รับประโยชน์จากจำนวนพนักงานลาออกต่ำที่สุดทั่วโลก โดย พนักงาน ในประเทศไทยเพียง 8% เท่านั้นที่ตั้งใจจะอยู่กับบริษัทน้อยกว่า 1 ปี และเมื่อทำงานกับบริษัทถึง 2 ปี จำนวนพนักงานที่มองหางานใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 16% เท่านั้น

จากการศึกษาทั่วโลก พนักงาน 18% ตั้งใจจะอยู่กับบริษัทเดิมน้อยกว่า 1 ปี ส่วนภูมิภาคอื่นๆ ที่มีอัตราการลาออกของพนักงานต่ำ ประกอบด้วย ญี่ปุ่น (11%) และเยอรมนี (13%) ในทางกลับกัน ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (23%) และสหราชอาณาจักร (23%) ต้องเผชิญกับการย้ายงานในอัตราสูง

เมื่อพูดถึงความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร พนักงานในประเทศไทยมีความผูกพันกับองค์กร 72% ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่มีอัตราส่วน 53% และเป็นลำดับสองรองจากอินเดียที่มีอัตราส่วน 79% ตามมาด้วยฮ่องกงที่อัตราส่วน 63%

ความผูกพันของพนักงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึง 85% เมื่อเสียงสะท้อนของพนักงานได้รับการตอบสนองและนำไปดำเนินการ ในขณะที่ความผูกพันต่อองค์กรจะลดลงมาที่ 55% หากเสียงสะท้อนนั้นไม่ได้นำไปปฏิบัติ

ทั้งนี้ ความถี่ในการนำเสียงสะท้อนไปสู่การปฏิบัติ ส่งผลต่อการความผูกพันของพนักงาน จากผลสำรวจของควอทริคซ์ พบว่า ความผูกพันของพนักงานอยู่ที่ 79% เมื่อเสียงสะท้อนนั้นได้ถูกรวบรวมและนำไปปฏิบัติอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง แต่ถ้าหากว่านำไปปฏิบัติเพียง 1-2 ครั้งต่อปี ความผูกพันของพนักงานจะลดลงเล็กน้อยที่ 74%

Stephen Choo นักวางกลยุทธ์โซลูชั่นอาวุโส กล่าวว่าจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการสอบถามเสียงสะท้อนจากพนักงาน และความถี่ที่องค์กรถาม ส่งผลโดยตรงต่อระดับคะแนนความผูกพันของพนักงาน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ขับเคลื่อนแท้จริงแล้วคือความรู้สึกของพนักงานที่ว่าองค์กรได้นำความคิดเห็นของพวกเขาไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรมหรือไม่” 

ผลการวิจัยของ Korn Ferry (คอร์น เฟอร์รี่) พันธมิตรของควอทริคซ์ แสดงให้เห็นถึงพนักงานมีความผูกพันสูง ดูเหมือนว่าจะสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ และนายจ้างได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้น 2.5 เท่า จากการเติบโตของรายได้ที่สูงขึ้น และอัตราส่วนของพนักงานลาออกลดลง 40%

 

ปัจจัยสำคัญในการผลักดันประสบการณ์พนักงานในไทย

เกือบสองในสาม (64%) ของพนักงานในประเทศไทยเชื่อว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่นายจ้างรับฟังความคิดเห็นของพวกเขา องค์กรธุรกิจที่มีโปรแกรมเปิดรับฟังความคิดเห็นพนักงานนั้นทำให้ระดับคะแนนความผูกพันของพนักงานบรรลุเป้าหมายถึง 77% เปรียบเทียบกับองค์กรที่ไม่มีโปรแกรมเปิดรับฟังความคิดเห็น พนักงานมีความผูกพัน 55%

ปัจจัยอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดความผูกพันของพนักงานในประเทศไทย คือ การประกาศเกียรติคุณการทำงานดีของพนักงาน เส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างการทำงาน และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร โอกาสในการเรียนรู้และการพัฒนา ผู้จัดการที่ช่วยพนักงานในการพัฒนาสายอาชีพ และความมั่นใจในผู้นำอาวุโสที่จะตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

Choo กล่าวว่าผลการศึกษาล่าสุดของควอทริคซ์ ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจในการปรับปรุงประสบการณ์การทำงานของพนักงาน รวมถึงมาตรการที่ควรต้องทำเพื่อให้พนักงานทุกๆ คนมีสิทธิแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ต้องปฏิวัติองค์กร เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับองค์กรที่ต้องถามความคิดเห็น และรับฟังพนักงานอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญที่สุด คือ นำมาปฏิบัติใช้” 

 

วิธีผูกใจพนักงาน

สำหรับองค์กรในประเทศไทย ความผูกพันของพนักงาน เป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานอยู่กับองค์กรยาวนานขึ้นและเพิ่มมากขึ้น โดยอัตราส่วนสูงสุดอยู่ที่การทำงานในปีที่ห้า อย่าไรก็ตาม ความผูกพันเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สะท้อนความต้องการ ที่องค์กรต้องเข้าใจและปฏิบัติตามสำหรับประเด็นปัญหาสำคัญอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันและสร้างให้เกิดความผูกพัน สำหรับพนักงานที่ทำงานน้อยกว่าสองปี คือ ความเชื่อมั่นต่อผู้นำอาวุโส ส่วนปัจจัยหลักที่สร้างให้เกิดความผูกพันของพนักงานที่ทำงานมามากกว่า 4 ปี คือ ความเชื่อมโยงระหว่างลักษณะงาน และวัตถุประสงค์ของบริษัท

Choo กล่าวว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังปฏิวัติเพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ในขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับความท้าทายของสังคมผู้สูงอายุ ความคาดหวังของพนักงาน ถูกคาดหวังเพื่อเปลี่ยน และธุรกิจต้องเตรียมพร้อม เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงาน ผู้นำและผู้จัดการจำเป็นต้องลงทุนในการพัฒนาสายอาชีพให้กับกลุ่มพนักงานของตน แก้ปัญหาในที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และเข้าใจว่าอะไรเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับทีมงานในแต่ละช่วงจังหวะชีวิตทำงานของแต่ละคน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรรักษาคนเก่งไว้ได้ ลดจำนวนการลาออกของพนักงาน และช่วยให้ทุกฝ่ายได้รับสิ่งที่ตนต้องการ

  อ่านเพิ่มเติม  
ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine