The R Collective บริษัทผู้เปลี่ยนเศษผ้าจากแบรนด์หรู ให้กลายเป็นสินค้าแฟชั่นรักษ์โลก - Forbes Thailand

The R Collective บริษัทผู้เปลี่ยนเศษผ้าจากแบรนด์หรู ให้กลายเป็นสินค้าแฟชั่นรักษ์โลก

The R Collective คือหนึ่งในแบรนด์เสื้อผ้าที่ใช้วัสดุคุณภาพดีที่สุดในอุตสาหกรรม แต่ที่แตกต่างออกไปคือ วัสดุของแบรนด์นี้เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากดีไซเนอร์แบรนด์หรูชั้นนำของโลก แล้วนำมาตัดเย็บเป็นชิ้นงานใหม่

Christina Dean คือชาวบริติชผู้ก่อตั้ง The R Collective ขึ้นในปี 2017 โดยเธอได้แรงบันดาลใจมาจากองค์กรการกุศล Redress ที่เธอก่อตั้งในปี 2007 ซึ่งบริษัทของเธอมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณขยะในวงการเสื้อผ้า และส่งเสริมการหมุนเวียนวัสดุในอุตสาหกรรมแฟชั่น

ด้วยประสบการณ์ 12 ปีในการแก้ปัญหาขยะจากอุตสาหกรรมนี้ และแรงขับเคลื่อนจากวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่มีแฟชั่นเป็นสาเหตุ Dean ระบุว่าเธอไม่ได้ต้องการแค่สร้างแบรนด์สินค้าแฟชั่นเท่านั้น

เราต้องการใช้ธุรกิจเป็นเครื่องมือในการปฏิรูปวงการแฟชั่น เธอกล่าว และว่าเราเห็นผ้ามือหนึ่งคุณภาพดีต้องกลายเป็นของเสียจำนวนมาก ประมาณการว่าอุตสาหกรรมนี้สร้างขยะสิ่งทอถึง 92 ล้านตัน/ปี ขณะที่ตลาดผู้บริโภคสินค้าแฟชั่นอย่างเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศจีน ยังเติบโตต่อเนื่องและรวดเร็ว

ความเป็นจริงคือโลกของเรามีเสื้อผ้าเพียงพอแล้ว และเราไม่จำเป็นต้องผลิตหรือซื้อเพิ่มอีก แต่ความเป็นแฟชั่นทำให้ใช้ความจริงนั้นไม่ได้ ผู้คนยังเลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นใหม่ๆ อยู่ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้เราเข้ามาอยู่ตรงนี้

สำหรับ The R Collective แล้ว Dean มุ่งหวังว่าชัยชนะของเธอคือการเป็นมากกว่าแบรนด์แฟชั่นทั่วไป และเปลี่ยนลูกค้าให้กลายเป็นผู้บริโภค sustainable fashion หรือเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นที่เป็นมิตรกับโลกและสิ่งแวดล้อม

ทุกๆ ผู้บริโภคที่เราเข้าถึง หมายถึงเรากำลังช่วยลดของเสีย พร้อมกับชะลอการผลิตเส้นใยใหม่ และกระตุ้นเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนในวงการแฟชั่น

เดรสผ้าโพลีเอสเตอร์ที่ใช้กระบวนการ upcycle

ธุรกิจของ Dean ตั้งเป้ากลุ่มลูกค้าไปที่ชาวจีน, ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร โดยสำนักงานของเธอในฮ่องกงใช้เป็นฐานกลยุทธ์ในการจับตลาดผู้บริโภคสินค้าแฟชั่นที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกอย่างเอเชีย

ทั้งนี้ Boston Consulting Group เปิดเผยรายงาน Pulse Report 2019 ระบุว่า 75% ของผู้บริโภคในแบบสำรวจเห็นว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ขณะที่รายงาน “The New Sustainability Regeneration 2019” ของ J. Walter Thompson ชี้ว่า 79% ของผู้ตอบแบบสอบถามยืนยันว่าพวกเขาต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความยั่งยืนของแบรนด์เสื้อผ้าที่พวกเขาซื้อ

Dean ไม่เพียงแต่สร้างทางเลือกใหม่ให้วงการฟาสต์แฟชั่นเท่านั้น แต่เธอยังมอบองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการของเสียอย่างยั่งยืนให้กับแบรนด์แฟชั่นอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังเป็นพันธมิตรกับแบรนด์แฟชั่นหรูหลายราย เพื่อมอบแนวทางจัดการวัสดุส่วนเกินที่ไม่รวมการฝังกลบ การเผา และการนำไปทำเป็นผ้าขี้ริ้ว

โดยทุกๆ ปีบริษัทแห่งนี้จะออกแบบเสื้อผ้า 2 คอลเล็กชั่น โดยร่วมมือกับดีไซเนอร์จากทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน

 

อย่างไรก็ตาม Dean ยังมองว่า ปัจจัยต่างๆ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงความพึงพอใจของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งที่ซื้อ, วิธีการซื้อ และสถานที่ซื้อ ทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่นนั้นอยู่ในสถานะเหมือนของเหลวที่ไหลอยู่ตลอดเวลา

ถึงแม้จะมีปัจจัยที่ซับซ้อนเหล่านี้ แต่ธุรกิจระดับไฮเอนด์ยังมีโอกาสเติบโต ดังนั้น แบรนด์แฟชั่นที่เพิ่งเริ่มต้นแต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ พร้อมการวางหลักเป็นธุรกิจคลื่นลูกใหม่ที่ลงทุนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่จะชนะใจผู้บริโภคได้

กว่า 12 ปี ฉันได้เห็นวิวัฒนาการของตลาด sustainable fashion ที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มมิลเลนเนียลและ Gen Z  ที่เรียกร้อง sustainable fashion มากขึ้น และคาดหวังความรับผิดชอบจากภาคธุรกิจมากกว่าเดิม

Christina Dean ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง The R Collective

ธุรกิจของเรานั้นแตกต่าง เพราะธุรกิจของเราขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายลดปริมาณขยะ ซึ่งหมายถึงกระบวนการออกแบบของเราเริ่มต้นจากการดูว่าเราได้อะไรมา ซึ่งนั่นต้องการการออกแบบที่แตกต่างและสร้างสรรค์กว่าเดิม อีกทั้งยังต้องแก้ปัญหาได้ ทำให้ต้องอาศัยทั้งความคล่องแคล่วและความฉลาดในการเลือกจับสิ่งทอที่ดีที่สุดโดยร่วมมือกับแบรนด์พันธมิตรและโรงงาน

สำหรับผ้าที่บริษัทใช้นั้นไม่ได้มาจากการซื้อปัจจุบันมีตลาดรับซื้อผ้าส่วนเกินอยู่ แต่เราไม่ได้เข้ามาแข่งขันในตลาดนี้ การดำเนินการของเราเรียกได้ว่าเป็นการช่วยเหลือเส้นใยที่เจ้าของไม่ได้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ และจะนำไปฝังหรือเผา ดังนั้น เราจึงเป็นผู้ต้องการผ้าเหล่านี้รายท้ายๆ แล้วจริงๆ

วัสดุทั้งหมดที่บริษัทรักษ์โลกแห่งนี้ใช้ได้มาจากการบริจาค นั่นทำให้ต้นทุนสินค้าต่ำกว่าบริษัทคู่แข่งส่วนใหญ่

เราลงทุนในกองทุนช่วยเหลือผ้าซึ่งเป็นกระบวนการที่ยากลำบาก และยังปรับปรุงกระบวนการขนส่งขยะจากพาร์ทเนอร์ให้คล่องตัวมากขึ้น ทั้งนี้ พาร์ทเนอร์ของเรายังรวมไปถึงองค์กรการกุศล Redress ที่มีธนาคารผ้าในฮ่องกงที่แยกประเภทแล้ว ทำให้เราเข้าถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวัสดุเหลือทิ้งแต่ละชิ้นได้

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของแบรนด์เสื้อผ้ารักษ์โลกคือการออกแบบและการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อประยุกต์ใช้ผ้าที่แตกต่างกันทั้งสีและชนิด ซี่งพวกเขาแก้ปัญหาด้วยการร่วมมือกับพันธมิตร โดยหนึ่งในพาร์ทเนอร์ของ The R Collective คือ TAL Group ซึ่งเป็น 1 ใน 6 แบรนด์เสื้อเชิ้ตรายใหญ่ที่จำหน่ายอยู่ในสหรัฐอเมริกา

ส่วนการขายสินค้าของบริษัทในปัจจุบันนั้น 70% เป็นการขายส่ง และ 30% เป็นการขายปลีก

Dean ยังตั้งเป้าว่าแบรนด์ของเธอจะสามารถกินส่วนแบ่ง 0.1% ของตลาด sustainable fashion ได้ในปี 2023 เช่นเดียวกับการระดมทุนที่ดีขึ้นขององค์กรการกุศล Redress โดยเธอยังบริจาคเงิน 25% ของกำไรจากบริษัทให้องค์กรนี้ด้วย

เป้าหมายของฉันคือการเร่งปฏิวัติเศรษฐกิจหมุนเวียนของวงการแฟชั่น, พลิกโฉมการออกแบบ การผลิต และการบริโภคสินค้าแฟชั่น และพิสูจน์ว่าธุรกิจ sutainable fashion นั้นสามารถทำกำไรให้กับนักลงทุนได้

  อ่านเพิ่มเติม   แปลและเรียบเรียงโดย กนกวรรณ มากเมฆ / Online Content Creator   ที่มา