ผลโหวต Brexit ได้สร้างความโกลาหลอลหม่านให้กับตลาดหุ้นสหราชอาณาจักรและสะเทือนไปถึงตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน บริษัทพัฒนาอสังหาฯ บริษัทรับสร้างบ้าน รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวกับพลังงานก็พลอยได้รับผลกระทบและปรับตัวลงเช่นกัน
กรณีของ Brent Oil เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน มีการปรับตัวขึ้นมาจากจุดต่ำสุดมาอยู่ที่ 28.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา แล้วทยอยปรับตัวขึ้นมาที่ 52.74 เหรียญต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา ขึ้นมาถึง 24.14 เหรียญต่อบาร์เรล หรือคิดเป็น 84.41% ภายในระยะเวลาเพียง 4 เดือนกว่าๆ เท่านั้น
ผลโหวต Brexit ได้สร้างความโกลาหลอลหม่านให้กับตลาดหุ้นสหราชอาณาจักรและสะเทือนไปถึงตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินบริษัทพัฒนาอสังหาฯ บริษัทรับสร้างบ้าน รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวกับพลังงานก็พลอยได้รับผลกระทบและปรับตัวลงเช่นกันเหรียญต่อบาร์เรล คิดเป็น 624.55% ภายในเวลา 9 ปี 8 เดือน (ดูกราฟราคา Brent Oil ประกอบ) หรือมีอัตราผลตอบแทนแบบทบต้นประมาณ 22% ต่อปี
สวนทางกับราคาทองคำที่มีราคาสูงขึ้นทันทีหลังจากผลโหวต โดยทองคำได้ขึ้นไปที่ 1,352.19 เหรียญต่อออนซ์ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา จากจุดต่ำสุดเมื่อ 14 ธันวาคมปีที่แล้วที่ 1,064.70 เหรียญต่อออนซ์ ขึ้นมา 287.49 เหรียญต่อออนซ์ คิดเป็น 27% ภายในเวลาเพียงเกือบ 8 เดือน และถ้าดูย้อนหลังไป 40 ปี (ดูกราฟราคาทองคำประกอบ) จะพบว่า ราคาทองถึงจุดต่ำสุดที่ 255.90 เหรียญต่อออนซ์ เมื่อเดือนสิงหาคมปี 1999 หลังจากนั้นก็ทะยานสู่จุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่ 1,776.40 เหรียญต่อออนซ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2012 รวมแล้วราคาขึ้นไปถึง 1,520.50 เหรียญต่อออนซ์ นับว่าเป็นผลตอบแทนที่สูงมากทีเดียว
ด้วยเพราะเหตุนี้เอง จึงทำให้นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจลงทุนในสิ่งเหล่านี้ ทั้งที่หากราคาไม่ขึ้น นักลงทุนจะไม่ได้ผลตอบแทนอะไรเลย นอกจากนั้นยังขาดทุนจากต้นทุนของเงิน ไม่ว่าจะเป็นค่าเสียโอกาสดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ในขณะที่นักลงทุนนำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้จะยังได้ดอกเบี้ย หรือลงทุนในอสังหาฯ เพื่อปล่อยเช่าก็ยังจะได้ค่าเช่า หรือลงทุนในหุ้นก็ยังจะได้เงินปันผล
นอกจากนี้
อสังหาริมทรัพย์ในสหราชอาณาจักรได้รับผลกระทบ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่เกรงว่าตำแหน่ง World Financial Center ที่ London ครองอยู่เป็นอันดับ 1 จะมีการเปลี่ยนแปลงไป หลังจากสหราชอาณาจักรออกจาก EU ในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยเห็นได้ชัดจากการที่นักลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนในอสังหาฯ สหราชอาณาจักรได้แห่ไถ่ถอนหน่วยลงทุนจนทำให้กองทุนขาดสภาพคล่อง
เหตุการณ์เช่นนี้ทำให้ผู้บริหารกองทุนตกที่นั่งลำบาก เพราะว่าจะขายอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนที่ตนบริหารอยู่ในทันทีทันใดคงจะยาก และยังทำให้ขายไม่ได้ราคาอีกด้วย ทำให้กองทุนเหล่านี้ ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์รวม 9 พันล้านปอนด์ ต้องหยุดการไถ่ถอนหน่วยลงทุนชั่วคราว
แม้สภาวะ Brexit ยังไม่มีผลให้สหราชอาณาจักรต้องออกจาก EU ในทันที ซึ่งจะมีผลจริงๆ ในอีก 2 ปีข้างหน้า ส่วนหนึ่งคงเป็นความจำเป็นที่ผู้บริหารกองทุนดังกล่าวต้องหาเงินมาชำระคืนค่าขายหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนดังกล่าวอย่างเร่งด่วน
ท่ามกลางความโกลาหล คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FPC) ที่มีผู้ว่าการธนาคารชาติเป็นประธานได้ประกาศว่า จะมีเงินอีก 1.5 แสนล้านปอนด์เพิ่มเติมสภาพคล่องโดยผ่านทางธนาคารพาณิชย์และเตือนผู้ถือหน่วยลงทุนว่า การแห่ขายหน่วยลงทุนจะทำให้มูลค่าหน่วยลงทุนมีราคาต่ำลง จากการถูกบังคับให้ขายอสังหาริมทรัพย์ในกองทุนดังกล่าว เพื่อนำมาชำระค่าขายหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน
สรุปได้ว่า หลังจากประชามติ Brexit สร้างผลกระทบกระเทือนไปตั้งแต่ตลาดหุ้น ทอง สินค้าโภคภัณฑ์ และอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร จนนักลงทุนเกรงว่าภาพเหตุการณ์ที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ตกลงอย่างมากในช่วงปี 2008 ซึ่งเป็นช่วง Hamburger Crisis จะกลับมาหลอกหลอนอีกครั้ง
ทำให้นักลงทุนทั่วโลกรวมทั้งนักลงทุนของสหราชอาณาจักร พยายามหนีจากการถือครองสินทรัพย์ที่เป็นสกุลเงินปอนด์ไม่ว่าจะเป็นหุ้น หรืออสังหาริมทรัพย์ในสหราชอาณาจักร ไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ที่ไม่ใช่สกุลเงินปอนด์
นอกจากจะส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ตกต่ำที่สุดในรอบกว่า 30 ปีเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ และทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำลงแล้วยังยังทำให้
bond yield ของประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี สร้างจุดต่ำสุดในรอบ 10 ปีเลยทีเดียว
แต่การที่ bond yield ต่ำลงกลับส่งผลดีในทางอ้อมให้กับสหราชอาณาจักรเช่นกัน เพราะทำให้นักลงทุนแสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนมากขึ้น โดยมี risk appetite ที่สูงขึ้น เป็นที่น่าสนใจว่า บรรดากลุ่มเฮดจ์ฟันด์และกลุ่มที่บริหาร private equity ต่างๆ พยายามซื้อสินทรัพย์ในช่วงวิกฤตการณ์ จากการที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหราชอาณาจักรโดยเฉพาะที่ London ในช่วงที่ผ่านมาสามารถซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่าช่วงก่อน Brexit ถึง 20-30% เมื่อคำนวณเป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ
ด้านสถานการณ์พื้นที่สำนักงานให้เช่าก็ค่อนข้างตึงตัว มีพื้นที่ว่างเพียง 2-6% หรือเฉลี่ยที่ประมาณ 4% เท่านั้นเอง ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีซึ่งอยู่ที่ 6.90 % อยู่พอสมควร ยิ่งพื้นที่ให้เช่าในตลาดมีปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับความต้องการพื้นที่สำนักงาน ยิ่งทำให้พื้นที่ให้เช่าเหล่านี้สามารถเก็งกำไรสร้างผลตอบแทนจากการเช่าได้สูงภายใน 1-2 ปีก่อนที่ประชามติการออกจาก EU จะมีผลอย่างเป็นทางการ
แต่สิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วงคือ
อุปสงค์ของพื้นที่เหล่านี้เป็นของสถาบันการเงินถึง 40% ทำให้สถานะความเป็น World Financial Center มีผลต่ออัตราการเช่าพื้นที่เป็นอย่างมาก ซึ่งจะมีผลสะท้อนไปที่ราคาของตัวอาคารเหล่านี้ เพราะว่าจากต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเช่า office space ใน London จะมีค่าเช่าสูงมาก โดย London เป็นเมืองที่มีค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่สำนักงานอยู่อันดับที่ 2 เป็นรองเพียงฮ่องกงซึ่งครองอันดับ 1 เท่านั้น
ในส่วนของออฟฟิศหน่วยงานต่างๆ ภายใน 2 ปีนี้ ยังอาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่หลังจาก 2 ปีไปแล้ว มีโอกาสที่หน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มสถาบันการเงินที่จะย้ายส่วนงานที่ไม่มีความจำเป็นออกจาก London ไปยังเมืองอื่นๆ ใน EU กรณีที่หน่วยงานนั้นๆ มีรายได้หลักๆ มาจากประเทศในกลุ่ม EU ซึ่งหลายหน่วยงานได้ประกาศแล้วว่า ถ้า Brexit มีผลกระทบต่อภาษีที่ทำให้บริษัทมีต้นทุนที่สูงขึ้นก็จะย้ายไปตั้งสำนักงานหลักที่เมืองอื่นๆ
สำหรับส่วนของตลาดกลุ่มธุรกิจค้าปลีกที่ได้รับผลกระทบจากประชามติในครั้งนี้ พบว่ากลุ่มนักลงทุนที่เป็น rational fund manager คงยังลังเลที่จะรีบตัดสินใจลงทุนในสถานการณ์ที่ภาพยังไม่ชัดเจนว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจาก Brexit มีผลทางปฏิบัติจริงๆ
คุณเคยเห็นตอนแมวก่อนที่จะตายไหมครับ ว่ากระโดดไปกระโดดมากี่ครั้ง อสังหาริมทรัพย์ของสหราชอาณาจักรอาจจะกำลังอยู่ในสภาพนั้นก็ได้ครับ