Destination Capital จับมือพันธมิตร ตั้ง Private Equity Trust ระดมทุน 2.5 พันล้านบาท บริหารจัดการโรงแรมไทย - Forbes Thailand

Destination Capital จับมือพันธมิตร ตั้ง Private Equity Trust ระดมทุน 2.5 พันล้านบาท บริหารจัดการโรงแรมไทย

Destination Capital ร่วมกับ KTBST SEC ในฐานะผู้ก่อตั้งทรัสต์และผู้จัดการทรัสต์ Private Equity Trust โดยมี บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC ในฐานะทรัสตี ในกรอบการลงทุนระยะเวลา 5 ปี คาดให้ผลตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี

“จากวิกฤตต่างๆ นับตั้งแต่วิกฤตต้มยำ ไล่เรียงจนกระทั่งโรคซาร์หรือการชุมนุมทางการเมือง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยได้รับผลกระทบและฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็ว แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่กระจายโควิด-19 ถือเป็นวิกฤตระดับโลกและไม่ค่อยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ด้วยความเชื่อมั่นในธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย จุดแข็งด้านวัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวและบริการที่พัก เราคาดการณ์อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยจะกลับมาในจุดเดิมราว 4 ปี ข้างหน้า” James caplen ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดซติเนชั่น แคปปิตอล พีทีอี จำกัด กล่าวและเสริมว่า “ในช่วงวิกฤตที่เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการระดมทุม ซึ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ผู้ประกอบการบางรายต้องหยุดกิจการโรงแรมและบางรายขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทั้งๆ ที่ธุรกิจของตนเองยังมีศักยภาพในการเติบโต จึงเป็นโอกาสในการก่อตั้ง ไพรเวท อิคลิปตี้ ทรัสต์ เดสแคป 1 เพื่อระดมทุมราว 2.5 พันล้านบาท โดยเน้นที่ผู้ลงทุนในกลุ่มสถาบัน หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ (HNWI) ไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาทต่อราย หากผู้ลงทุนไม่ถึงมูลค่าขั้นต่ำสามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมได้ โดยในช่วงเวลานี้เดินสายไปยังกลุ่มนักลงทุนชาวไทยเป็นหลัก โดยคาดให้ผลตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี” James Kaplan ประธานกรรมการบริหาร บริษัท Destination Capital PTE. เผยว่า เราเป็นบริษัทในฐานะบริษัทในกลุ่ม เดซติเนชั่น กรุ๊ป ทีมีเฮดควอเตอร์อยู่ที่สิงคโปร์ เป็นกลุ่มธุรกิจที่เข้าซื้อกิจการโรงแรมที่มีศักยภาพในการพัฒนา ปรับปรุงฟื้นฟู และบริหารโรงแรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ รวมไปถึงการขายต่อกิจการ ด้าน ศุภกิจ เอี่ยมสำอางค์ รองประธานอาวุโส บริษัท เดซติเนชั่น แคปปิตอล จำกัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เดซติเนชั่น แคปปิตอล ในฐานะผู้บริหารจัดการสินทรัพย์ เราได้ตั้งทรัสต์กิจการร่วมลงทุน DESCAP1 โดยเป้าหมายการระดมทุมที่เป้าหมาย 2.5 พันล้านบาท โดยตั้งเป้าเข้าซื้อกิจการราว 8 แห่งในประเทศไทยเพื่อเข้ากองทุนดังกล่าว โดยปัจจุบัน ได้เข้าซื้อกิจการแล้ว 3 แห่ง ซึ่งกระจายอยู่ในพื้นที่เป้าหมายของบริษัทคือ กรุงเทพฯ พัทยา และภูเก็ต โดยมุ่งเป้าไปที่โรงแรมหรือรีสอร์ทที่มีมูลค่าราว 600-1,500 ล้านบาท ในการเข้าซื้อกิจการ โดยกลยุทธ์หลักภายหลังการเข้าซื้อกิจการคือการพัฒนาและสร้างมูลค่าด้วยหลัก 5 R อันนี้ได้แก่  Renovate, Rebuild, Rebrand, Reposition, Recapitalize และ Asset Management รวมถึงการนำโปรแกรมความยั่งยืนที่ได้การรองรับจาก International Financial Corporation  หรือ IFC ที่เรียก EDGE ในการลดปริมาณ Carbon Footprint James Kaplan กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลอดระยะเวลา 24 ปีในประเทศไทย เราได้สร้างผลงานทีโดดเด่นจากการเข้าซื้อกิจการในประเทศไทย ด้วยการปรับปรุงรูปลักษณ์ ปรับเปลี่ยนตำแหน่งทางการตลาดของธุรกิจโรงแรม รวมไปถึงการจัดหาเงินทุน และการบริหารจัดการสินทรัพย์ เห็นได้จากการเข้าซื้อโรงแรมระดับ 4 ดาว ในชื่อแบรนด์ Melia Hotel ที่ประสบปัญหาทางการเงินจากวิกฤตการเงินในปี 2540 และขายทรัพย์สินออกไปในปี 2557 ภายใต้แบรนด์ “ฮิลตัน หัวหิน รีสอร์ท แอนด์สปา" ด้าน ฐิติพัฒน์ ทวีสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่าย Corporate Finance Solutions & REIT บล.เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) KTBST SEC ในฐานะผู้ก่อตั้งและผู้จัดการทรัสต์ กล่าวว่า จุดเด่นของทรัสต์เพื่อกิจการร่วมลงทุน เดสแคป วัน เด่นการเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์โรงแรม ที่ตั้งอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวในราคาที่ต่ำโดยตั้งเป้าเข้าซื้อในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ในภาวะปกติ “ประสบการณ์ของบริษัท เดซติเดชั่น แคปปิตอลฯ เป็นผู้บริหารสินทรัพย์ที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้วด้วยวิธีการปรุงสินทรัพย์และเปลี่ยนภาพลักษณ์ทางการตลาด ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำ และมีโอกาสได้รับอัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่สมเหตุผล ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย” ฐิติพัฒน์ ทวีสิน กล่าว ด้านโครงการสร้างการลงทุนเริ่มต้น Destination Capital จะลงทุนซื้อหน่วยทรัสต์ด้วยมูลค่าร้อยละ 5 ขณะที่สัดส่วนการระดมทุนจากสถาบันการเงินและกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่อยู่ที่ราวร้อยละ 65 โดยในส่วนที่เหลือจะคาดจะเป็นเงินลงทุนจากสถาบันการเงินที่เป็นเงินกู้ (แบบมีประกัน) ของมูลค่า Private Equity Trust ที่มูลค่า 2.5 พันล้านบาท ช่วงท้าย James caplen เผยว่าย้ายมาอยู่เหมือนไทย ตั้งปี 2521 ประเทศไทยผ่านวิกฤตการณ์มาหลากหลายไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด น้ำท่วม การชุมนุมทางการเมือง การลอบวางระเบิดจากกลุ่มไม่ประสงค์ดี และล่าสุดกับสถานการณ์โควิด-19 ในทุกเหตุการณ์ที่ผ่านมาประเทศไทยสามารถผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ และตนเองกลับมาอยู่ในสถานการณ์ปกติได้เสมอ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในทั่วโลกก็เช่นกัน ผมคงไม่มาอยู่ในจุดของการลงทุนในครั้งนี้ถ้าไม่เชื่อมั่นในการท่องเที่ยวของประเทศไทย แต่สิ่งที่ต้องยอมรับคือการแพร่กระจายของสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากที่สุดในช่วงเวลา 30 ปี ที่ผ่านมาเป็นวิกฤตที่กระทบกับคนทั้งโลก สายการบินต่างได้รับผลกระทบอย่างหนักถึงขั้นล้มละลาย ธุรกิจโรงแรมไม่มีรายได้แม้แต่บาทเดียวซึ่งแตกต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ที่ยังพอดีรายได้เข้ามาบ้าง โดยสถานการณ์การแพร่กระจายของไวรัสยังมีทีท่ารากยาว และสุดท้ายผู้คนต่างกลัวการติดเชื้อไวรัสจากการเดินทาง แต่สุดท้ายแล้วพฤติกรรมของมนุษย์จะก้าวข้ามความหวาดระแวงในที่สุดแต่อาจจะใช้เวลาสักระยะ “โลกของการท่องเที่ยวหลังโควิดจะเปลี่ยนไป นักท่องเที่ยวจะเดินทางในรูปแบบครอบครัวมากขึ้น แต่ละทริปการเดินทางจะยาวนานมากขึ้น เพราะในช่วงของการเก็บอยู่กับบ้านใช้เวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้นและเรียนรู้กันมากขึ้น” James caplen กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า “ในประเทศไทย 7/11 มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง คุณสามารถทำหลายสิ่งได้ในร้านไม่ว่าจะจ่ายบิล ซื้ออาหาร พบปะผู้คน ในทฤษฎี 7/11 ของผมที่อยากจะแบ่งปัน ถ้าวันหนึ่งเราพบว่า ร้าน 7/11 ปิดนี้คือปัญหาใหญ่ที่สุด เราได้เห็นร้าน 7/11 ปิดในภูเก็ตเนื่องจากไม่มีความต้องการในสินค้าไม่มีผู้มีกำลังซื้อ ซึ่งนี้คือปัญหา และเมื่อใดที่ 7/11 เปิดทำการอีกนั่นหมายความว่าเศรษฐกิจกำลังกลับมา” *ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน* อ่านเพิ่มเติม: Kasa Living สตาร์ทอัพ ที่จะเข้ามายกระดับ Airbnb ให้ดีกว่าเดิม
ไม่พลาดบทความด้านกลยุทธ์องค์กรและธุรกิจ ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine และ ทวิตเตอร์ Forbes Thailand