รายงานธุรกิจระหว่างประเทศ (IBR) ฉบับล่าสุดของแกรนท์ ธอนตัน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มภาครวมธุรกิจในประเทศไทยมีมุมมองบวกสูงที่สุดตั้งแต่ปี 2560
รายงานธุรกิจระหว่างประเทศ (IBR) ฉบับล่าสุดของแกรนท์ ธอนตันแสดงให้เห็นว่า กลุ่มภาครวมธุรกิจขนาดกลางของประเทศไทยมีมุมมองที่เป็นบวกมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2560 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 สถานะทางธุรกิจของประเทศไทยดีขึ้น 3.8 เปอร์เซ็นต์จากครึ่งแรกของปี 2565 โดยดัชนีแตะที่ 8.8 ซึ่งนับเป็นจุดสูงสุดในรอบ 5 ปี และแซงหน้าค่าเฉลี่ยระดับภูมิภาคและระดับโลกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2560 ผู้นำธุรกิจในอาเซียนมีมุมมองที่ระมัดระวังมากขึ้น ในขณะที่ผู้นำธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลกยังคงเป็นขาลง
เอียน แพสโค ประธานกรรมการบริหารและหุ้นส่วนของแกรนท์ ธอนตัน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลสำรวจว่า: “ผู้นำทางธุรกิจเตรียมพร้อมและรับมือได้ดีขึ้นหลังจากผ่าน 3 ปีแห่งความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนที่ประเทศไทยต้องเผชิญจากโรคระบาด การสำรวจทางธุรกิจของเราระบุว่า ธุรกิจไทยมีมุมมองที่เป็นบวกสำหรับปี 2566 เกี่ยวกับผลกระทบของปัจจัยภายนอกที่มีต่อธุรกิจของพวกเขา”
สถานภาพทางธุรกิจถูกกำหนดแนวโน้มเชิงเศรษฐกิจโดยรวมเข้ากับความรู้สึกที่มีต่อข้อจำกัดต่างๆ โดยมีดัชนีชี้วัดแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ มุมมองเป็นบวกทางเศรษฐกิจ เงื่อนไขทางธุรกิจ และความตั้งใจในการลงทุน ลดลง 2.1 เปอร์เซ็นต์ 0.5 เปอร์เซ็นต์และ 3.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ดัชนีสภาพการของธุรกิจไทยได้รับแรงหนุนอย่างมากจากการปรับปรุงความเชื่อมั่นเกี่ยวกับข้อจำกัดต่างๆ ความกังวลของธุรกิจเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุปสงค์ลดลง 9.6 เปอร์เซ็นต์จากครึ่งแรกของปี 2565 ในขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับอุปทานลดลง 7.4 เปอร์เซ็นต์
แม้จะมีความท้าทายอย่างต่อเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ ราคาพลังงานที่สูง และปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม เช่น การลาออกครั้งใหญ่ ธุรกิจในประเทศไทยยังคงมีมุมมองเป็นบวกมากขึ้นเมื่อเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมาซึ่งบ่งชี้ว่าธุรกิจต่างๆ ได้ปรับตัวและสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปี 2566 ในประเทศไทยมีเพียง 49% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วภูมิภาคที่ระบุว่าความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเป็นข้อจำกัดหลัก ซึ่งเพิ่มขึ้น 18 เปอร์เซ็นต์จากช่วงครึ่งหลังของปี 2564
ธุรกิจยังคงระมัดระวังเมื่อกล่าวถึงรายจ่ายทางการเงินและการลงทุน มีเพียง 36 เปอร์เซ็นต์ ของบริษัทขนาดกลางในประเทศไทยที่ระบุว่าพวกเขาจะเพิ่มจำนวนพนักงานในปี 2566 ซึ่งความไม่พอเพียงของจำนวนบุคลากรที่มีความพร้อมในด้านทักษะไม่ใช่ข้อจำกัดอย่างน้อยก็ในช่วงเวลาปัจจุบัน
มีเพียง 26 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยที่กล่าวว่าการขาดแคลนบุคลากรเป็นปัญหาสำคัญ เมื่อเทียบกับ 37 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามในอาเซียนและ 57 เปอร์เซ็นต์ ทั่วโลก
แม้จะมีสัญญาณการฟื้นตัวที่น่ายินดี บริษัทต่างๆ ทั่วประเทศไทยกำลังวางแผนการลงทุนเพียงเล็กน้อยในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (มีเพียง 49 เปอร์เซ็นต์ซึ่งลดลง 12 เปอร์เซ็นต์จากครึ่งปีแรกของปี 2565) โรงงานและเครื่องจักร (39 เปอร์เซ็นต์ ลดลง 5 เปอร์เซ็นต์จากครึ่งปีแรกของปี 2565) และบุคลากร (36% ตามที่กล่าวไว้ ข้างต้น ลดลง 12 เปอร์เซ็นต์จากจากครึ่งปีแรกของปี 2565)
ธันวา มหิทธิวาณิชชา หุ้นส่วนของแกรนท์ ธอนตัน ในประเทศไทย กล่าวว่า “ผลสำรวจเหล่านี้บ่งชี้ว่าผู้นำธุรกิจในประเทศไทยกำลังวางแผนลงทุนด้วยความระมัดระวัง อย่างน้อยก็ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ความท้าทายของอัตราเงินเฟ้อ ราคาพลังงาน และอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่
อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่ลดลง 12 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของปี 2565 และเกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งหลังของปี 2565 บ่งชี้ถึงความยืดหยุ่นของประเทศและความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหลังโควิด ในขณะที่ประเทศไทยยังคงต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถานภาพทางธุรกิจก็จะมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไป”
ทั้งนี้ รายงานผลสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอนตัน (Grant Thornton’s International Business Report - IBR) คือรายงานการสำรวจชั้นแนวหน้าของโลกที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานะทางธุรกิจของบริษัทขนาดกลางทั่วโลก ผลการสำรวจในรายงานครึ่งปีหลังของปี 2565 สะท้อนมุมมองของบริษัทขนาดกลางเกือบ 5,000 บริษัทในกว่า 30 ประเทศที่ให้สัมภาษณ์ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2565 สำหรับประเทศไทย มี 102 บริษัทที่เข้าร่วมการสำรวจ ซึ่งมีจำนวนพนักงานอยู่ที่ 50 – 500 คน
อ่านเพิ่มเติม: เซียนหุ้นที่ว่าแน่ ก็ลงทุนแพ้เด็ก ม.1
ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine