Shoplus เผยปัจจัยการสร้างยอดขายออนไลน์ให้เติบโต ด้วยประสบการณ์การช็อปปิ้งแบบตรงใจผู้บริโภค (Personalised) การไลฟ์สดขายสินค้าที่เน้นความสนุกสนาน และเทคโนโลยีเสมือนจริง หรือ AR จะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้การไลฟ์สดขายสินค้าในประเทศไทยเติบโตขึ้นในปี 2564
ข้อมูลจาก Shoplus บริษัทในเครือ iKala ผู้นำด้านการให้บริการเทคโนโลยี AI อัจฉริยะ ที่รวมการไลฟ์สดและการจัดการออเดอร์เข้าไว้ด้วยกันสำหรับแบรนด์และร้านค้าปลีกทั่วเอเชีย ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 ยอดคำสั่งซื้อจากการขายสินค้าผ่านการไลฟ์สดในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 173 ส่งผลให้ยอดขายสินค้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 212 โดยยอดขายสินค้ารวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้นสามเท่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า ในขณะที่คำสั่งซื้อทั้งหมดเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า การซื้อขายผ่านโซเชียลมีเดียไม่ใช่ช่องทางใหม่ แต่เนื่องจากการเติบโตของประชากรชั้นกลาง การเชื่อมต่อด้านดิจิทัลที่ครอบคลุมและเสถียรมากขึ้น รวมถึงความท้าทายของร้านค้าปลีกจากการระบาดของโรคโควิดส่งผลให้ทั้งแบรนด์ ร้านค้า รวมถึงผู้บริโภคหันมาใช้การไลฟ์ขายสินค้าเป็นอีกหนึ่งช่องทางการขายใหม่ “หลายๆ แบรนด์ยังขาดการปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้บริโภค ซึ่งการหันมาใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซแบบเต็มรูปแบบอาจต้องใช้เงินทุนมหาศาล Shoplus ผู้ให้บริการการขายสินค้าผ่านการไลฟ์สดจึงมอบทางเลือกที่ง่ายกว่าให้ร้านค้าสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าให้แก่ลูกค้าได้ โดยมาพร้อมกับระบบอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น ระบบชำระเงิน ระบบจัดการออเดอร์และระบบคลังสินค้า เราประสบความสำเร็จในการวางรากฐานอันแข็งแกร่งในตลาดประเทศไทยเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา และเราเชื่อมั่นว่านวัตกรรมที่เรายังคงมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าของผู้ซื้อและผู้ขายจะเป็นตัวเร่งการเติบโตในปี 2564 ยิ่งขึ้นไปอีก” Kimmy Chen ผู้จัดการทั่วไป Shoplus กล่าว จากรายงานด้านเทคโนโลยีในเอเชียฉบับล่าสุดของแมคคินซีย์ เผยว่า “ผู้บริโภคมองหาประสบการณ์การช็อปปิ้งออนไลน์แบบที่สามารถมีส่วนร่วมได้และเป็นรูปแบบเฉพาะบุคคลมากขึ้น” โดย Shoplus ได้เผยถึงเทรนด์ที่จะเข้ามายกระดับประสบการณ์การช็อปปิ้งออนไลน์และเพิ่มอัตราการช็อปปิ้งออนไลน์ให้สูงขึ้นในปี 2564 พร้อมให้คะแนนที่ส่งผลต่อพัฒนาการไลฟ์สดขายสินค้า ผู้ชมสามารถออกแบบประสบการณ์ช้อปปิ้งของตัวเอง – 5 ดาว: การไลฟ์สดที่ช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันจะก้าวสู่อีกขั้นด้วยการให้ลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าอยากเห็นอะไรระหว่างการไลฟ์สด ร้านค้าให้ลูกค้าโหวตได้ว่าอยากให้ร้านค้าขายสินค้าชิ้นไหนเป็นชิ้นต่อไป หรือกระทั่งเลือกราคาสินค้าและส่วนลดสินค้าที่ตนชื่นชอบได้ นับเป็นอีกก้าวของการมีส่วนร่วมของลูกค้าที่จะกลายเป็นที่นิยม ไลฟ์ขายสินค้าชิ้นพิเศษ – 4 ดาว: อีกวิธีของแบรนด์ที่ให้ลูกค้าสามารถมีส่วนร่วมในการไลฟ์สดมากขึ้น คือการมอบส่วนลดพิเศษในระหว่างการไลฟ์สด โดยอาจเป็นการมอบราคาพิเศษ ข้อเสนอพิเศษ หรือสินค้าออกแบบพิเศษเฉพาะลูกค้าที่ดูไลฟ์สดเท่านั้น ที่ผ่านมาร้านค้าอิสระหลายร้านประสบความสำเร็จในการดึงดูดลูกค้าเข้ามาที่ร้านด้วยการมอบข้อเสนอพิเศษ และแบรนด์ใหญ่ๆหลายแบรนด์ก็เลือกที่จะใช้วิธีการนี้เช่นเดียวกัน เชื่อมต่อประสบการณ์ค้าปลีกเต็มรูปแบบ – 4 ดาว: ในปีนี้มีหลายแบรนด์เริ่มใช้และประสบความสำเร็จบนช่องทางโซเชียลคอมเมิร์ซ และในขณะที่ระบบในห่วงโซ่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ร้านค้าปลีกเริ่มเห็นคุณค่าในการสามารถควบคุมประสบการณ์ค้าปลีกแบบเต็มรูปแบบได้เอง ซึ่งจะช่วยให้สามารถส่งเสริมความภักดีของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น โดยการทำทุกอย่างบนแพลตฟอร์มเดียวและสามารถควบคุมได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็น เชื่อมต่อการชำระเงิน ติดตามออเดอร์ จัดส่งและคืนสินค้า จะเป็นปัจจัยที่สร้างความแตกต่างให้แบรนด์มากขึ้นไปอีกในปี 2564 รวมถึงความสามารถในการมอบบริการเต็มรูปแบบนี้ก็จะยิ่งดึงดูดให้แบรนด์ใหญ่ๆ เข้ามาลงทุนใช้การไลฟ์สดมากขึ้นด้วย ใช้คนมีชื่อเสียงและ KOLs เพื่อสร้างความบันเทิงในการช้อปปิ้งมากขึ้น – 3 ดาว: แบรนด์จะมองหาวิธีการในการเพิ่มคุณค่าให้กับประสบการณ์การไลฟ์สดขายสินค้าของตนเองมากขึ้น ซึ่งหลายแบรนด์เลือกใช้คนมีชื่อเสียงและ KOLs ในการไลฟ์สดเพื่อดึงดูดลูกค้า แบรนด์ใหญ่บางแบรนด์อาจใช้เงินลงทุนสูง โดยการเพิ่มลูกเล่นในการไลฟ์สดให้เป็นรูปแบบเกมส์โชว์ มินิคอนเสิร์ต หรือ เล่นเกมส์เพื่อนำเสนอส่วนลดพิเศษให้กับคนที่ดูไลฟ์ ในขณะที่แบรนด์ใหญ่อื่นๆ ก็อาจเลือกใช้แบรนด์แอมบาสเดอร์เพื่อขยายฐานลูกค้าแทนการใช้ KOLs ส่วนบางแบรนด์อาจเลือกวิธีสร้างความบันเทิงในรูปแบบของตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง จากปัญญาประดิษญ์ (AI) สู่เทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) – 3 ดาว: ปัญญาประดิษฐ์ (AI) นับเป็นฟีเจอร์สำคัญในการดำเนินการจัดการออเดอร์และคำขอต่างๆ จากลูกค้าบนช่องทางไลฟ์สด และในปี 2564 นี้ เราจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ของ AR ที่มอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้ โดยลูกค้าสามารถ ‘ลอง’ ก่อน ‘ซื้อ’ ด้วยการใช้ห้องลองชุดเสมือนจริงที่มีพื้นหลังหลากหลายแตกต่างกันไปเพื่อให้ลูกค้าได้เลือกชุดที่เหมาะกับตัวเองที่สุด ถือเป็นวิธีให้ผู้ค้าปลีกเชื่อมต่อกับผู้ซื้อในรูปแบบที่น่าสนใจมากขึ้นและเพิ่มยอดขายได้อีกด้วย ถึงแม้อาจต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบขึ้นมา โดยคาดว่าจะมีการเริ่มใช้เทคโนโลยีนี้ในปี 2564 และจะแพร่ขยายมากขึ้นอีกในปี 2565 หลังจากที่ 5G เป็นที่นิยมและเข้าถึงได้มากขึ้น ไลฟ์ขายสินค้าชิ้นใหญ่ – 3 ดาว: ผู้ค้าปลีกที่ขายสินค้าขนาดใหญ่ - ตั้งแต่รถไปจนถึงบ้าน – เลือกใช้วิธีการไลฟ์สดเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า ในขณะที่อุตสาหกรรมพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ประเภทสินค้าที่ขายก็มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ยิ่งสินค้าที่มีคุณค่าสูงก็จะมีวิธีใหม่ๆในการเล่าเรื่องราวเพื่อเข้าถึงลูกค้าแบบเฉพาะตัวยิ่งขึ้น โดยอาจใช้เวลาในการพัฒนาแต่นับเป็นพื้นที่ที่ท้าทายความสามารถในการหาแนวทางนำเสนอสินค้าที่สร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ทางShoplus มองว่าในขณะที่ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียได้พัฒนาความสามารถเพื่อส่งเสริมด้านโซเชียลคอมเมิร์ซมากยิ่งขึ้น ร้านค้าปลีกควรหาวิธีให้ลูกค้าได้มีส่วนร่วมและมอบประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อ แบรนด์ควรเปิดรับและปรับตัวให้เร็ว แต่การทำทุกอย่างพร้อมๆ กันอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการลงทุนในเทคโนโลยีด้านโซเชียลคอมเมิร์ซไม่ว่าจะเป็น การคิดวิเคราะห์ล่วงหน้าแบบเรียลไทม์ โซลูชันการจัดการออเดอร์ด้วย AI การสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าบนสังคมออนไลน์ และอุปกรณ์ถ่ายวิดีโอ ระบบเสียง รวมถึงการจัดไฟที่มีคุณภาพก็เป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จของร้านค้าได้ อ่านเพิ่มเติม: พิรดา อิงค์ธเนศ ผุด “ดิจิเทค วัน” ชูแพลตฟอร์มด้านความปลอดภัย ต่อยอดตอบโจทย์ SVOA Groupไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine