เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย เปิดทิศทางยนตรกรรมแห่งอนาคต เผยโฉมรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ EQA ครั้งแรกในประเทศไทย - Forbes Thailand

เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย เปิดทิศทางยนตรกรรมแห่งอนาคต เผยโฉมรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ EQA ครั้งแรกในประเทศไทย

บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงาน "Mercedes-Benz EQ Tech Day 2018" เผยทิศทางของรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์อีคิว (EQ) พร้อมอวดโฉมรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ “อีคิวเอ” (EQA) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตั้งเป้าเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 50 รุ่นในทุกตลาดของ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ในปี 2022

Roland Folger ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเปิดงานว่า “เมื่อมองภาพของอนาคต ‘ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence)’ ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกคนต่างให้ความสนใจ ซึ่งเรื่องนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการทำงานทุกด้าน ทั้งการพัฒนาและการผลิตรถยนต์ การขับเคลื่อนยานพาหนะ ตลอดจนการบริการด้านการเดินทางและการสื่อสาร สำหรับเดมเลอร์ เราได้ตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พร้อมได้มีการระดมความคิดเพื่อพัฒนากลยุทธ์ขึ้นมาใหม่ ที่เกิดจากการนำปัญญาประดิษฐ์และกระบวนการในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยชื่อว่า ‘เคส’ (CASE)” ด้าน Frank Steinacher รองประธานฝ่ายขายและการตลาด บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สำหรับในประเทศไทย เมอร์เซเดส-เบนซ์ ทำการตลาดรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด ภายใต้ชื่อว่า ‘EQ Power’  เราแนะนำรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดรุ่นแรกไปเมื่อต้นปี 2559 ทางบริษัทฯ ได้มีการแนะนำรถยนต์รุ่นอื่นๆ ตามมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่ลูกค้า นอกจากการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่แล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการสร้างระบบนิเวศไฟฟ้าที่ครอบคลุมทุกความต้องการของกลุ่มลูกค้า ทั้งในด้านการผลิต และการบริการเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค ด้วยการสร้างโรงงานแบตเตอรี่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่ายการผลิตแบตเตอรี่ทั่วโลกของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาร์ส โดยจะผลิตเพื่อรองรับความต้องการในประเทศ และเพื่อส่งออก "เดมเลอร์ใช้เงินลงทุนรวมกว่า 1,180 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเครือข่ายการผลิตแบตเตอรี่ดังกล่าว ซึ่งยังมีโรงงานทั้งในเยอรมนี สหรัฐอเมริกา และจีน เครือข่ายการผลิตแบตเตอรี่นี้จะตอบสนองความต้องการในตลาดอย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการผลิตรถยนต์ ซึ่งกลยุทธ์นี้จะทำให้มีเทคโนโลยีแบตเตอรี่อันทันสมัยจากศูนย์กลางการผลิตในแต่ละพื้นที่ ทั้งยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกาไว้พร้อมรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเมอร์เซเดส-เบนซ์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นตามแผนงานรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัท ทั้งนี้ โรงงานผลิตแบตเตอรี่ในประเทศไทย เริ่มก่อสร้างโรงงานตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยเรามีแผนจะเริ่มเดินสายการผลิตภายในปี 2562 EQ ถือเป็นเครื่องพิสูจน์ความสำเร็จต่อการขับเคลื่อนสู่อนาคตของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ตั้งแต่การพัฒนายนตรกรรมแบบ PLUG-IN HYBRID และการพัฒนาสู่ระดับการใช้ไฟฟ้าในรถรุ่นย่อยอื่นๆ อาทิ EQ Boost ในรถรุ่น C 200 Coupe, EQ Power ที่เรียกว่า Plug-in Hybrid Vehinicles (PHEV) ใช้งานในรุ่น E 350 e Sedan, EQ Power+ ที่เป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มตระกูล  AMG และกลุ่มรถยนต์แต่ง อาทิ ในโครงการ Mercedes-AMG Project ONE และ ล่าสุดของ EQ คือ การใช้ Battery Electric Vehicles หรือ BEV ที่พึ่งเปิดตัวล่าสุดในรุ่น EQC 400 “จากนี้ต่อไปยนตรกรรมแห่งอนาคตของเมอร์เซเดส-เบนซ์จะดำเนินงานตามกลยุทธ์ ‘CASE’ ที่มาจากรากฐานแนวคิดใหม่ 4 ประการ ได้แก่ Connected Autonomous Shared & Service และ Electric Drive” Frank กล่าวและเสริมต่อว่า ด้านการเชื่อมต่อ หรือ Connected นั้น เมอร์เซเดส-เบนซ์ ยกตัวอย่างที่เรียกว่า CONNECT me ที่เชื่อมรถยนต์แต่ละคันเพื่อแจ้งเตื่อนอุบัติเหตุและเหตุการณ์บนถนนผ่านระบบคลาวด์ ด้าน Autonomous นั้นทิศทางของ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ได้พัฒนาระบบการยนตรกรรมไร้คนขับ เราอยู่ระหว่างขั้นที่ 2 และ 3 จากทั้งหมด 5 ขั้น สู่เส้นทาง Full Automation ในขณะที่ Shared & Service เมอร์เซเดส-เบนซ์ ได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกสบายและเชื่อมต่อนรถยนต์ให้เป็นส่วนหนึ่งกับการใช้ชีวิต ผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ การเชื่อมต่อผ่านแอพฯ ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน และส่วนสุดท้ายคือ Electric Drive ทางบริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนการใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในมาเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยแนวคิดดังกล่าวทำให้เมอร์เซเดส-เบนซ์ กำลังก้าวเข้าสู่การเป็นแบรนด์รถยนต์ที่ไม่ปล่อยไอเสียเลย จึงเป็นที่มาของ Mercedes-Benz Concept EQA “วันนี้ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญสู่ยุคใหม่ กับการนำรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ เมอร์เซเดส-เบนซ์ คอนเซ็ปต์ อีคิวเอ มาอวดโฉมที่เมืองไทย โดยรถยนต์รุ่นนี้จะแสดงให้เห็นถึง กลยุทธ์อีคิวที่จะถูกนำมาใช้ในรถยนต์กลุ่มคอมแพค ที่โดดเด่นด้วยการผสานความคล่องตัวอันน่าประทับใจเข้ากับระยะทางในการขับขี่ที่ยาวไกล ซึ่งเหมาะเป็นอย่างยิ่งกับการขับขี่ในชีวิตประจำวัน ที่ใช้สถาปัตยกรรมซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่” Frank กล่าว การดีไซน์รถยนต์ไฟฟ้า Mercedes-Benz Concept EQA รุ่นนี้เป็นผลจากการนำปรัชญาการออกแบบ Sensual Purity ของเรามาตีความใหม่ โดยลดองค์ประกอบที่เป็นสัน และเส้นออกไป เพื่อเผยสัดส่วนที่น่าตื่นตารวมถึงพื้นผิวที่ราบลื่นไร้รอยต่อ เมื่อผสานกับกราฟิกเร้าอารมณ์ที่เกิดจากการใช้แผงด้านหลังแบบไฮเทคสีดำ บ่งบอกถึงความเป็นที่สุดของการออกแบบที่โดดเด่นทำให้รถยนต์คันนี้ดูมีเสน่ห์อย่างแท้จริง ซึ่งรถยนต์คันนี้ได้เพิ่มความสวยงามภายนอก ด้วยเทคโนโลยีไฟส่องสว่างที่โดดเด่นด้วยเลเซอร์ ไฟเบอร์ โดยที่ตัวกลางซึ่งถูกกระตุ้นด้วยแสงเลเซอร์ได้ถูกฝังไว้ในแกนกลางของเคเบิ้ลใยแก้วไฟรูปทรงขดเกลียวเล็กๆ สวยสะดุดตาช่วยเน้นย้ำแนวคิดของรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยการออกแบบที่ชวนให้นึกถึงขดลวดทองแดงในมอเตอร์ไฟฟ้า และภาพการเคลื่อนไหวที่ให้มโนภาพถึงการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า และด้วยโหมดการทำงานแบบอัจฉริยะของเมอร์เซเดส-เบนซ์ รถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ คอนเซ็ปท์ อีคิวเอ สามารถวิ่งได้เป็นระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่ที่ติดตั้งเอาไว้ด้วย ซึ่งแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนประสิทธิภาพสูงนี้ เป็นแบบเซลล์กระเป๋า (Pouch Cell) ที่ผลิตขึ้นโดยบริษัทย่อยของเดมเลอร์ คือ บริษัท ดอยท์ช แอคคิวโมทิฟ ซึ่งผลจากการออกแบบในแบบโมดูลาร์ ทำให้ระบบแบตเตอรี่ชนิดนี้มีความจุรวมเฉพาะรุ่นมากกว่า 60 kWh