ตลาดค้าปลีกออนไลน์ หนี่งในช่องทางการค้ายุคอีคอมเมิร์ซกำลังเติบโตต่อเนื่อง ยิ่งเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ดูเหมือนเป็นตัวเร่งให้ธุรกิจนี้โตเร็วยิ่งขึ้นอีก ลาซาด้า แพลตฟอร์มค้าปลีกภายใต้อาณาจักรอาลีบาบามั่นใจ ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในเซาท์อีสเอเชียพุ่งแตะ 5.5 ล้านบาทในปี 2568


สินค้าอิเล็คทรอนิกส์-แฟชั่นนำทัพ
Chang ยังกล่าวถึงการขายออนไลน์ในปี 2562-2563 ว่า หมวดหมู่สิรค้าปลีกออนไลน์มีการเติบโตอย่างน่าสนใจโดยมีมูลค่าธุรกรรมออนไลน์ทั้งหมด เทียบกับยอดขายตามประเภทโดยรวมมีการเติบโตที่ชัดเจนโดยสินค้าประเภทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เติบโตขึ้นจากร้อยละ 14 เป็นร้อยละ 21 บนช่องทางออนไลน์ สินค้าประเภทแฟชั่นก็เติบโตขึ้นจากร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 13 ในขณะที่สินค้าทั่วไป เช่น บ้านและไลฟ์สไตล์ และกลุ่มสินค้าเกี่ยวกับการทำครัวและอาหารเติบโตขึ้นจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 9 สินค้าประเภทสุขภาพ และความงามเติบโตขึ้น โดยมีส่วนแบ่งจากการขายออนไลน์มากที่สุดจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 9 หรือเกือบสองเท่าจากการเข้ามาเจาะตลาดออนไลน์ ทั้งนี้ หากสัดส่วนการขายออนไลน์ของแบรนด์สูงกว่าการทำตลาดโดยทั่วไป หลายแบรนด์อาจประสบปัญหาบางอย่างในระยะสั้น เพราะหมายถึงการแข่งขันทางออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และความได้เปรียบจากการเข้าสู่อีคอมเมิร์ซเร็วกว่าจะถูกท้าทาย แต่นั่นก็หมายความว่าหากแบรนด์ผ่านช่วงการเติบโตนี้ไปได้ ก็จะมีโอกาสในการได้ส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมของแบรนด์ที่ดีขึ้น ในทางกลับกัน หากสัดส่วนการขายออนไลน์ต่ำกว่าส่วนแบ่งตลาดโดยรวม มันสำคัญมากที่ต้องหันกลับไปพิจารณาการลงทุนในด้านทรัพยากรและบุคลากรอีกครั้ง เพื่อแน่ใจว่าจะไม่สูญเสียสัดส่วนสำคัญในอนาคต เพราะการขายออนไลน์ “ไม่มี โซลูชันสำเร็จรูปที่แก้ไขได้ทุกปัญหา” ผู้นำต้องติดสินใจทามกลางความไม่แน่นอน ซึ่งรวมถึงงานด้านอื่นๆ เช่น การบริหารวบประมาณ การใช้ทรัพยากรและการสรรหาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนห่วงโซ่อุปทานและการจัดสรรสินค้าคงคลัง รวมถึงการมองหาช่องทางลงทุนด้านการตลาด ซีอีโอลาซาด้า สิงคโปร์ ยังกล่าวด้วยว่าในปี 2565 ลาซาด้าจะฉลองครบ 10 ปีเขามั่นใจว่าลาซาด้าจะเติบโตไปพร้อมกับแบรนด์ต่างๆ ที่เข้าร่วมในอีโคซิสเต็ม ก้าวสู่การเติบโตไปด้วยกันในอนาคต เพราะเชื่อว่าธุรกิจค้าปลีกจะเติบโตขึ้น แม้ว่าในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 จะเห็นการชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชากรอายุน้อยจำนวนมาก และมีการเติบโตของ GDP ที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนชนชั้นกลางได้อย่างรวดเร็ว จึงส่งผลต่อการเติบโตของการค้าปลีกโดยรวม และเชื่อว่าการค้าปลีกจะเติบโตทะลุเป้าอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราการเติบโตร้อยละ 5 ต่อปีไปจนถึงปี 2568 “มีการคาดการณ์ว่าการช้อปปิ้งออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีมูลค่าสูงถึง 172 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 5.5 ล้านล้านบาท) ในปี 2568 หรือเพิ่มขึ้น 2.8 เท่าจากปี 2563 โดยมีสัดส่วนการเข้าไปทำตลาดอยู่ที่ 14% ซึ่งนี่เป็นเพียงการเติบโตช่วงเริ่มต้นของอีคอมเมิร์ซเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น เช่น จีน” Chang ยืนยันและว่า ปัจจุบันสัดส่วนการค้าปลีกออไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้น ต่างกับในประเทศจีนซึ่งสัดส่วนค้าปลีกออนไลน์อยู่ที่ร้อยละ 26 นั่นหมายความว่าสินค้าอุปโภคบริโภคหลักในจีนมากกว่าร้อยละ 50 ขายอยู่บนช่องทางออนไลน์ โดยร้อยละ 61 ของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขายอยู่บนออนไลน์ ส่วนสินค้าแฟชั่นสัดส่วนร้อยละ 48 สินค้าทั่วไปร้อยละ 49 และสินค้าสุขภาพและความงามร้อยละ 54
โควิด-19 เร่งการพัฒนาอีคอมเมิร์ซ
Chang กล่าวว่า ในขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ในระยะสั้น และทำให้เกิดการพัฒนาเร็วขึ้น 2-3 ปี อีคอมเมิร์ซจะยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง “การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ จะทำให้ได้เห็นเรือทุกลำไหลไปตามกระแสน้ำ แต่ไม่ใช่ทุกลำที่จะไปได้ไกลเท่ากัน” เขากล่าวและว่า เมื่อออกเลยออกไปจากเป้าหมายระยะสั้น คาดได้ว่าธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่กำลังเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมล่าสุด แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นอะไร ทุกวันนี้แบรนด์ที่ออกสู่ตลาด มีช่องทางการขายที่กระจัดกระจายอยู่ในหลายช่องทาง โดยผ่านทั้งผู้จัดจำหน่าย ร้านค้าออฟไลน์ ห้างสรรพสินค้าและผู้ค้าปลีก ตัวแทนจำหน่าย เว็บไซต์ของแบรนด์ แพลตฟอร์มออนไลน์ ฯลฯ ไม่เพียงเท่านั้น ช่องทางที่ซับซ้อนเหล่านี้ยังทำงานอยู่ในไซโล และต้องการทำหน้าที่แบบครบวงจร ทั้งเป็นพื้นที่ให้แบรนด์มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าตลอดทางไปจนถึงการทำธุรกรรมในขั้นสุดท้าย “ปรัชญาของลาซาด้า คือ การสร้างประสบการณ์แบบองค์รวมและเป็นหนึ่งเดียวกันให้กับลูกค้าในทุกช่องทางของแบรนด์ผ่านข้อมูลและเทคโนโลยีที่สมบูรณ์แบบ” Chang กล่าว เขายังบอกด้วยว่า ตัวอย่างที่พบจากหลายประเทศ เมื่อเศรษฐกิจเติบโตเต็มที่ GDP ต่อหัวจะเพิ่มขึ้น และผู้บริโภคจะมีความรู้ด้านดิจิทัลและให้ความสำคัญต่อแบรนด์มากขึ้น เช่นเดียวกับสัดส่วนของธุรกิจค้าปลีก ก็จะมีแบรนด์ชั้นนำเพิ่มขึ้นเช่นกัน วันนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีร้านค้าปลีกที่เป็นแบรนด์ดังเพียงครึ่งหนึ่งของอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคหลัก แต่ตัวเลขนี้จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเข้ามามีส่วนร่วมของแบรนด์ต่างๆ การสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์และไปรับของแบบออฟไลน์เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ และในขณะเดียวกัน การสั่งซื้อจากออฟไลน์แล้วถูกจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซเช่นกัน แต่มันมีอะไรที่ยิ่งกว่านั้น เพราะมันคือความสามารถในการกำหนดเป้าหมายการสื่อสารไปถึงลูกค้าในช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด และการรวบรวมช่องทางการเข้าสู่หน้าร้านทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพื่อให้แบรนด์สามารถเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การเข้าถึงแบรนด์ได้มากที่สุด “ที่ลาซาด้า เรากำลังทดสอบฟังก์ชันการทำงานต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อค้นหารูปแบบที่เหมาะสมและเข้ากับเอกลักษณ์ของแต่ละแบรนด์” ฟังก์ชันตัวอย่างเช่น การผนวกรวมโปรแกรมสมาชิกของแบรนด์ เข้ากับระบบ Loyalty program ของลาซาด้า ถือเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า อย่างไรก็ดี มุมมองที่ชัดเจนต่อเรื่องนี้เน้นไปที่การสร้างประสบการณ์ที่ราบรื่นและผสมผสานการซื้อสินค้าจากร้านค้าแบรนด์ชั้นนำบน LazMall เข้ากับโปรแกรมสมาชิกของแบรนด์
ฐานลูกค้า-ยอดซื้อเพิ่มสองเท่า
“เรายังพบว่าฐานลูกค้าที่ใช้งาน LazMall และความถี่ในการซื้อยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ซื้อรายใหม่บน LazMall เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน และยังพบว่ามูลค่าการซื้อของลูกค้าบน LazMall เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของผู้ซื้อทั่วไปบนแพลตฟอร์มของเรา” Li อธิบายก่อนจะบอกว่าไม่เพียงลูกค้าเท่านั้น แต่แบรนด์ ผู้ค้าปลีก และห้างสรรพสินค้าต่างปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น โดยหลายแบรนด์ได้ย้ายช่องทางการขายไปสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว เพียงแต่ถูกเร่งให้เกิดเร็วขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสิงคโปร์ ห้างสรรพสินค้าชื่อดังอย่าง Marks and Spencer ได้เข้าร่วมแพลตฟอร์มลาซาด้า นอกจากนี้ ห้างสรรพสินค้าชื่อดังอื่นๆ อย่าง สยามเซ็นเตอร์ในประเทศไทย ก็ได้มีการช่วยร้านที่มาเช่าพื้นที่ในการ "เปิดหน้าร้าน" บน LazMall ด้วยเช่นกัน
ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine