Multipliers: สูตรลับ "ทรานส์ฟอร์ม" - Forbes Thailand

Multipliers: สูตรลับ "ทรานส์ฟอร์ม"

FORBES THAILAND / ADMIN
03 Dec 2020 | 06:09 PM
READ 4991

เมื่ออนาคตข้างหน้าก็ยิ่งจะไม่ง่าย องค์กรจึงหนีไม่พ้นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงกันแบบที่เรียกว่า “ทรานส์ฟอร์ม” เพื่อความอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน

ใกล้สิ้นปีอีกครั้ง หลายองค์กรคงได้เริ่มหรือกำลังอยู่ระหว่างการทำการทบทวนแผนงานประจำปี เพื่อเตรียมทำแผนปีหน้าตลอดจนทบทวนวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์เพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ขณะที่ในระดับของแต่ละบุคคลเอง หลายคนคงเริ่มตั้งใจทำ New Year’s resolutions กันแล้ว ทั้งนี้ผมเชื่อว่า จากสถานการณ์ในปีที่ผ่านมาที่ใครๆ ก็คิดว่าหนักแล้ว อนาคตข้างหน้าก็ยิ่งจะไม่ง่าย องค์กรหรือตัวบุคคลเองจึงหนีไม่พ้นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงกันแบบที่เรียกว่า “ทรานส์ฟอร์ม” เพื่อความอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน การทำทรานส์ฟอร์เมชันนั้น แต่ละบริษัทมีบริบทของสถานการณ์และจุดติดขัดที่ไม่เหมือนกัน ภาพฝัน ภาพปลายทางในอนาคตก็ไม่เหมือนกันว่าต้องการอะไร ต้องการเป็นอย่างไร และทำอย่างไร จึงจะสร้างผลประกอบการและผลกำไรจากการทรานส์ฟอร์มนั้นได้ ในฐานะคนในบริษัท ไม่เพียงเฉพาะผู้นำ ผู้บริหาร แต่รวมถึงทุกคนที่เกี่ยวข้อง ต้องเรียนรู้ ฝึกฝนเพื่อทำสิ่งที่ Harvard Business Review เคยสรุปไว้ง่ายๆ ว่าทรานส์ฟอร์เมชั่นทำแค่ 2 อย่าง คือ “Finding New Purpose” และ “Performing Mission Impossible”
Dr. Clayton Christensen
การ Finding New Purpose ก็เริ่มต้นจากสิ่งที่ Dr. Clayton Christensen ซึ่งเป็นกูรูด้านนวัตกรรมผู้ล่วงลับ เรียกว่า “Jobs To Be Done” ของธุรกิจ ว่าองค์กรเรานั้นมีตัวตนอยู่เพื่อสร้างความสำเร็จใดให้ลูกค้ากันแน่ มีสินค้า บริการ หรือธุรกิจใดที่อาจจะตอบงานนั้นได้ดีกว่าองค์กรของเราหรือไม่ ต่อมาก็ต้องเชื่อมโยงกับกลยุทธ์รวมถึง Money Making Model ใหม่ เพื่อการจัดสรรทรัพยากรและ Clarify Purpose นี้ สร้างเป็นเป้าหมายปลายทางภาพฝันที่สื่อสารอย่างทั่วถึงกับคนในองค์กรอย่างเป็นหนึ่งเดียว การ Performing Mission Impossible ที่แค่ชื่อก็ดูเป็นไปไม่ได้แล้ว แต่ก็เพราะทรานส์ฟอร์เมชั่น ไม่เคยง่าย ไปจนถึงยากมาก จึงจำเป็นต้องอาศัยวินัยในการมุ่งสู่เป้าหมายที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็หนีไม่พ้นการที่ต้องมีนวัตกรรม นอกจากนี้ คนในองค์กรยังต้องดึงศักยภาพสูงสุดของแต่ละคนออกมา ทำพฤติกรรมใหม่ๆ มองเห็น small wins หรือภูมิใจในชัยชนะเล็กๆ อย่างสม่ำเสมอด้วย ความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของภารกิจนั้น จนเกิดวัฒนธรรมใหม่ที่ผมขอเรียกว่า Execute the Impossible Possible !!! แนวคิดนี้ไม่ใช่แค่ทฤษฎี แต่มีหลายบริษัทที่ประสบความสำเร็จจริงแล้ว ผมขอยกเรื่องของ Amazon ที่สำเร็จในการทำทรานส์ฟอร์เมชั่นด้วยผลลัพธ์ทั้งด้านการเงิน การเติบโตจากธุรกิจใหม่ และการปรับเปลี่ยนแก่นของธุรกิจ ดั่งความสำเร็จของ Amazon Web Service (AWS) ที่เพิ่มความเข้มแข็งให้ Amazon ไม่ได้เป็นแค่หน้าเว็บขายของออนไลน์แต่พัฒนาเทคโนโลยี cloud service จากสิ่งที่เป็น core ของบริษัทในการให้บริการการขายสินค้าออนไลน์ ที่การส่งสินค้าหลักๆ คือในสหรัฐฯ มาสู่การขายพื้นที่ cloud หลากรูปแบบ ในการทำธุรกิจออนไลน์ให้ใครก็ได้ทั่วถึงทุกมุมโลก Amazon พัฒนากระบวนการทรานส์ฟอร์มนี้แม้ตัวเองก็แทบจะเป็นเบอร์หนึ่งในตลาด เพื่อการเติบโตในอนาคตอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักว่า “Innovation isn’t isolated to a department but is a strategic capability” หรือนวัตกรรมต้องเกิดขึ้นได้จากทุกคน ทุกแผนก พูดง่ายๆ คือนอกจากแกนสำคัญหรือ Jobs To Be Done ที่แสดงการมีตัวตนอยู่ของ Amazon ซึ่งก็คือ การมี mission ในการเป็นบริษัทที่ “obsess over the customers” เรียกว่า บริษัทจะเป็นยิ่งกว่าการมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง แต่ทุกๆ วันที่ตื่นนอน คนของ Amazon จะต้องหมกมุ่น คิดอยู่แต่ว่ายังมีอะไรที่ทำให้ลูกค้าได้ดีกว่าที่เป็นอยู่บ้าง!! นวัตกรรมและการทรานส์ฟอร์มจึงเป็นหน้าที่ของทุกคน และการจะทำแบบนั้นได้ ผู้นำของ Amazon ก็ต้องเอื้ออำนวยให้เกิดสิ่งนั้นๆ ด้วย หนึ่งในนั้นคือการส่งเสริมให้แต่ละคนเรียนรู้ หาความรู้ใหม่ๆ แก้ปัญหาใหม่ๆ เป็นประจำ องค์กรจะทรานส์ฟอร์มหรือสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบ Jobs To Be Done ทำในสิ่งที่น่าจะเป็นไปไม่ได้ให้เกิดให้จงได้นั้น ผู้นำจึงต้องเพื่อดึงอัจฉริยภาพของแต่ละคนออกมาและสร้างผลลัพธ์แบบ exponential เปรียบองค์กรหนึ่งเสมือนนักกีฬาระดับโลกที่ออกกำลังกายฝึกซ้อมดึงศักยภาพตัวเองอย่างหนักเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและทำในสิ่งที่เหนือกว่าคนทั่วไป ตรงนี้เองที่ Liz Wiseman CEO ของ Wiseman Group ใน Silicon Valley และนักคิดที่ได้รับการยกย่องให้อยู่ใน Thinker50 เขียนไว้ในหนังสือ Multipliers ว่า “ผู้นำที่ยอดเยี่ยมจุดระเบิดความเป็นอัจฉริยะจากทุกๆคน” บริษัท PacRim Group ได้รับลิขสิทธิ์เพียงหนึ่งเดียวในการช่วยอบรมและฝึกฝนให้ผู้นำเป็น Multipliers ที่จะช่วยดึงศักยภาพและอัจฉริยะในตัวทีมงานออกมาเต็มที่อย่างยั่งยืน ช่วยสร้างนวัตกรรมและพาองค์กรทรานส์ฟอร์มได้ เปิดเผยงานวิจัยว่า ผู้นำแบบ Multipliers สร้างผลลัพธ์จากทีมเฉลี่ย 2X ของผู้นำทั่วไป (ถ้าทุกคน 2X รวมกัน ผลลัพธ์องค์กรก็มหาศาล) แต่ยังบอกอีกว่าสิ่งที่ควรระวัง คือ การที่บางคนอาจมีช่วงขณะของการเป็นผู้นำแบบติดลบโดยบังเอิญหรือ “Accidentally Diminishers” แบบไม่ตั้งใจ เพราะเจตนาดีๆ ของผู้นำในหลายเรื่อง อาจจะลดผลลัพธ์จากการทำงานของทีมงานได้!! นั่นคือเราจะต้องตระหนักและระวังและว่า ในบางครั้งการที่เราพยายามเป็นผู้นำตัวอย่าง เป็นผู้นำที่ดี เป็นนักกลยุทธ์ เป็นคนตอบสนองเร็ว การมีไอเดียกระฉูดสม่ำเสมอ ทำงานหนัก หรือแม้แต่จิตใจที่ดี คอยปกป้องดูแล ช่วยเหลือลูกน้องในทีมเป็นอย่างดีเสมอ อาจจะมีมุมที่ส่งผลลบต่อการดึงศักยภาพของทีมงาน ตรงนี้เองที่ PacRim จะบอกว่าเราจะตระหนักรู้ได้อย่างไรว่าเราเริ่มมีอาการที่ส่งผลลบเหล่านี้ และในการจะสร้างผลทวีคูณ มีขั้นตอนที่สามารถฝึกฝนให้เกิดจริงได้อย่างไร ตอนที่ผมอ่านเจอตรงนี้ครั้งแรก ผมก็สงสัยขึ้นมาเหมือนกันนะครับว่า เวลามีคนบอกว่า คนในองค์กรไม่มีความคิดสร้างสรรค์ จริงๆ เป็นเพราะผู้นำบังเอิญเป็น Diminisher รึเปล่า? มากไปกว่านั้น มองกลับมาที่ตัวเอง มีบ่อยไหมที่ตัวเราบังเอิญเป็นผู้นำแบบ Diminisher แล้วเราจะทำให้ทีมสร้างนวัตกรรม หรือ โซลูชันใหม่ๆ ได้อย่างไร? คิดง่ายๆ นะครับ เราทุกคนอยากทำงานกับผู้นำที่ทำให้เราฉลาดขึ้นมากกว่าน้อยลงในทุกๆ วัน จริงไหม? และการจะ transform หรือสร้าง innovation ร่วมกันในองค์กรก็มาจากผู้นำที่เป็น Multipliers เช่นกัน ในโอกาสที่เรากำลังทบทวนเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ การสร้างผู้นำให้เป็น Multipliers ที่สามารถดึงอัจฉริยภาพจากทุกๆคนในองค์กร ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาเพื่อใช้เร่งกระบวนการนำองค์กรไปสู่เป้าหมายได้อย่างดีทีเดียว ติดตามอ่านเนื้อหาดีๆ จาก PacRim พาร์ทเนอร์ที่คุณไว้วางใจได้ ในการช่วยเร่งสปีดการ Transform และเพิ่มผลลัพธ์ให้กับธุรกิจ (Trusted Partner in Accelerating Transformation & Performance Improvement) ในวันจันทร์แรกของทุกเดือนทาง forbesthailand.com ครับ อ้างอิง Hbr.org: what-kind-of-chief-innovation-officer-does-your-company-need, Hbr.org: the-top-20-business-transformations-of-the-last-decade, Mulipliers: How the Best Leaders Make Everyone Smarter, Liz Wiseman บทความโดย อภิวัฒน์ ปุญญฤทธิ์ Consultant and Innovation Specialist Info@pacrimgroup.com

ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine