5 ลักษณะเด่นของตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย - Forbes Thailand

5 ลักษณะเด่นของตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย

FORBES THAILAND / ADMIN
22 Nov 2016 | 11:40 AM
READ 1554

ประเทศไทย ถึงแม้ไม่ได้เป็นประเทศที่มีประชากรเยอะที่สุดหรือร่ำรวยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในภูมิภาค มีมูลค่าตลาดสูงถึง 900 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดการณ์การเติบโตขึ้น 12 เท่า เป็นมูลค่าถึง 11.1 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2025

ทั้งนี้ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยที่กำลังเป็นที่สนใจในปัจจุบันมีลักษณะอย่างไรและคาดว่าในปีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น ecommerceIQ แชร์ข้อมูลผ่าน ECOMScape: ประเทศไทย ดังนี้ 1.  Lazada เป็นผู้นำตลาด Marketplace ระหว่างที่อีคอมเมิร์ซเจ้าอื่นแข่งขันแย่งชิงตลาด Niche ประเทศไทยมี Lazada เป็นผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซอย่างชัดเจนจากจำนวน Traffic คนเข้าเว็บในแต่ละเดือน คู่แข่งในตลาดอย่าง WeLoveShopping.com และ Wemall.com รวมกันได้เป็นจำนวนแค่ ¼ ของ Traffic ของ Lazada ด้วยซ้ำ แต่ถึงแม้ Lazada มี Alibaba อีคอมเมิร์ซยักษ์จากจีนเป็นผู้สนับสนุนอยู่ Lazada ยังไม่สามารถหยุดยั้งผู้ค้าออนไลน์รายอื่นไม่ให้มาแย่งชิงตลาดได้ ยกตัวอย่างเช่น 11street อีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่จากเกาหลีคาดว่าจะเปิดตัวในประเทศไทยภายในฤดูช้อปปิ้งแห่งปีของ Lazada แคมเปญ 11/11 11street ตั้งเป้าหมายสูงและหวังจะตีตลาดออนไลน์ในไทยตามรอยตลาดในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย นอกจากนั้น11street ได้ประกาศมูลค่าสินค้าประจำปีในเครือสูงถึง 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นมูลค่าที่สูงกว่ามูลค่าสินค้าของกลุ่ม Lazada ถึง 7 เท่า  มาดูกันว่า 11street จะสามารถท้าทาย Lazada ในประเทศไทยได้หรือไม่? นอกจากผู้ค้าอีคอมเมิร์ซจากต่างประเทศ กลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศเข้ามาแย่งชิงตลาดออนไลน์ไทยเช่นกัน เครือเจริญโภคภัณฑ์ของตระกูลเจียรวนนท์ ตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในไทย มีธุรกิจทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น Tesco Lotus, Shopat24 และ 24Catalog เจริญ สิริวัฒนภักดี บุคคุลที่ร่ำรวยอำดับ 2 ในไทยได้ซื้อ BigC และ Cmart (เปลียนชื่อจาก Cdisount)ในปีนี้ และตระกูลจิราธิวัฒน์ผู้บริหารเครือเซ็นทรัลมีห้างสรรพสินค้าออนไลน์ Central.co.th, Robinson และ Tops เช่นเดียวกัน ถึงแม้ Lazada จะครองตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย กลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ก็ไม่ถอยและมีเป้าหมายชิงส่วนแบ่งของตลาดออนไลน์ในไทย ตลาดแฟชั่นคือหนึ่งในตลาดที่มีการแข่งขันสูงมากในประเทศไทย ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้ค้าหลากหลายทั้งจากในและนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผู้ค้าท้องถิ่นอย่าง Pomelo และ WearYouWant ผู้ค้าภูมิภาคอย่าง Zalora และ Reebonz หรือผู้ค้านานาชาติอย่าง Adidas และ Uniqlo ต่างพยายามแย่งชิงส่วนแบ่งของตลาดออนไลน์แฟชั่นทั้งนั้น
ตลาดแฟชั่นประเทศไทยประกอบไปด้วยผู้ค้าหลากหลายทั้งจากในและนอกประเทศ
ในขณะเดียวกัน ตลาดเครื่องสำอางและความงามกำลังมุ่งพัฒนา Brand.com และเน้นขยายช่องทางการวางขายสินค้า แบรนด์อย่างเช่น Maybelline, L'Occitane และ Estee Lauder นอกจากมีเว็บไซต์ของตัวเองแล้ว ยังนำสินค้าไปวางขายใน Marketplace และขายผ่านผู้จัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์นั้นเอง
แบรนด์เครื่องสำอางเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ ทั้งขายบนเว็บไซต์บน Marketplace และผ่านผู้จัดจำหน่าย
  2. ผู้ค้ามือใหม่กำลังแซงผู้ค้าเจ้าเก่าในตลาด C2C อีคอมเมิร์ซรูปแบบ Customer-to-Customer (C2C) นับเป็นอีคอมเมิร์ซรูปแบบแรกๆ ของไทยที่ยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง C2C Marketplace ที่ก่อตั้งมานานและเป็นที่นิยมอย่าง WeLoveShopping, Tarad และ Pramool ถูกบริหารโดยทีมงานท้องถิ่น แต่ปัจจุบันกำลังโดนถูกผู้เล่นต่างชาติอย่าง Shopee ที่มี Garena บริษัทเกมส์ยักษ์ใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้สนับสนุน นำแพลตฟอร์มใหม่ๆ เข้ามาแย่งตลาด C2C ในขณะที่เว็บไซต์ Tarad และ Pramool เข้าได้ผ่านคอมพิวเตอร์เท่านั้น แพลตฟอร์มของ Shopee Blisby และ WeLoveShopping มีแอพพลิเคชั่นบนมือถือที่ติดอันดับ ท้อป 10 แอพพลิเคชั่นช้อปปิ้งแบบ C2C ที่เป็นที่นิยมที่สุดในไทย แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ถูกสร้างมาเพื่อตอบสนองพฤติกรรมช้อปปิ้งออนไลน์บนมือถือของคนไทย เนื่องจากประมาณ 85% ของคนที่อาศัยอยู่นอกหัวเมืองนิยมช้อปปิ้งผ่านมือถือ แพลตฟอร์มใหม่ๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าผู้ค้ามือใหม่กำลังแซงผู้ค้าเจ้าเก่าไปแล้ว   3. Facebook, Instagram และ LINE ขับเคลื่อนกระแส Social Commerce ในประเทศไทย Social Commerce คือรูปแบบธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เหมาะสมและตอบสนอง Lifestyle ของคนไทย ผู้ค้าไทยสร้างร้านค้าบน Facebook และ Instagram เพื่อโพสต์ภาพสินค้าและเพื่อให้ลูกค้าที่สนใจเข้ามาดูและสอบถามรายละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อ
นักช้อปออนไลน์เกินครึ่งในประเทศไทยเคยช้อปจากผู้ค้าผ่าน Social Network โดยตรง
ตามรายงาน PwC ประเทศไทยมีตลาด Social Commerce ที่ใหญ่ที่สุดและนักช้อปออนไลน์เกินครึ่งในประเทศไทยเคยซื้อสินค้าจากผู้ค้าโดยตรงผ่าน Social Network ดังนั้นมันก็ไม่เป็นที่แปลกเมื่อ Facebook เริ่มการทดสอบระบบการชำระเงินในเดือนมิถุนายน และเปิดให้ใช้เป็นครั้งแรกในไทยประเทศเป็นประเทศแรกในเดือนสิงหาคม บริษัทอย่าง Shopee พยายามดึงดูดผู้ค้าออนไลน์ให้เข้ามาขายผ่าน Shopee โดยการทำให้การลิงค์ร้านค้ากับ Instragram ให้สะดวกที่สุดและโดยการออกค่าขนส่งสินค้าให้กับผู้ค้าบนแพลตฟอร์มตน ส่วน LINE ก็พยายามแย่งชิงตลาดนี้เช่นเดียวกัน แต่ระบบหลังบ้านปัจจุบันบังคับให้ผู้ค้าอัพโหลดแค็ตตาล็อกสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือเท่านั้น และยังมีระบบที่จำกัด LINE จึงยังไม่รับความนิยมเท่าที่ควร   4. เงินสดยังเป็นช่องทางการชำระที่สำคัญที่สุด  ในปัจจุบัน ประเทศไทยยังคงเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับการจ่ายตังด้วยเงินสด ซึ่ง 70% ของ ลูกค้าอีคอมเมิร์ซเลือกใข้เป็นช่องทางการชำระ ด้วยเหตุนี้การเติบโตของอีคอมเมิร์ซจึงน่าเป็นห่วง เนื่องด้วยผู้ขายส่วนใหญ่ไม่สามารถรองรับ COD (Cash on Deliver) หรือการชำระด้วยเงินสดได้ แม้ว่า บริษัทโทรคมนาคม สถาบันการเงิน หรือบริการอื่นๆ พยายามจะนำเสนอ Mobile Wallet เพื่อเป็นช่องทางการชำระเงินแบบออนไลน์ แต่ก็ยังไม่มีบริการไหน ที่สามารถเข้ามาแก้ปัญหานี้ได้ ถึงแม้บริษัทโทรคมนาคม สถาบันการเงิน หรือบริการอื่นๆ พยายามจะนำเสนอ Mobile Wallet การชำระด้วยเงินสดก็ยังเป็นช่องทางชำระเงินที่สำคัญที่สุด อีกทั้งกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ที่ไม่มีบัญชี และไม่เชื่อในความปลอดภัยในการให้ข้อมูลการเงินส่วนตัว ยังทำให้ปัญหานี้ยากที่จะแก้ไขมากขึ้นไปอีก บริษัท Fintech ที่พยายามเข้ามาเปลี่ยนแปลงก็ยังคงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ถูกจุด ตัวอย่างเช่น Line Pay Account ที่สามารถเชื่อมต่อกับ User ที่มี Credit Card เท่านั้น ซึ่งมีเพียง 3.7% ที่เลือกช่องทางนี้ในการชำระเงิน อีกทั้งยังมี Mobile Wallet และ สถาบันการเงิน ที่เปิดบริการให้ลูกค้าสามารถ Top Up ใน ATM หรือ ตู้บริการอื่นๆ ซึ่งเป็นบริการที่ทำลายจุดประสงค์ของ M-wallet โดยสิ้นเชิง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นี่คือโอกาสสำหรับบริการจากสถาบันต่างๆ ที่จะเสนอช่องทางการชำระเงินที่ง่าย และสะดวกสำหรับลูกค้าที่ไม่มีบัญชี Credit Card หรือ Debit Card ได้   5. การแข่งขันของบริษัท Logistic นำไปสู่การตัดราคาในที่สุด การเจริญเติบโตของอีคอมเมิร์ซในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วยให้ Logistic Startup ที่มุ่งจะแก้ปัญหาเรื่องระบบขนส่ง เช่น การขนส่งข้ามวัน หรือ การติดตาม Live-Tracking เป็นไปได้ดีเยี่ยม ซึ่งประเทศไทยเอง ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วยความสำเร็จ ของ Uber และ Grab เป็นแรงผลักดันให้ Startup หลายๆ ที่นำเสนอระบบส่งสินค้า แบบ on-demand มากขึ้น ความสำเร็จ ของ Uber และ Grab เป็นแรงผลักดันให้ Startup หลายๆที่ นำเสนอระบบส่งสินค้า แบบ on-demand มากขึ้น มีบริษัทหลากหลายที่ ที่นำเสนอ 3PL service และมุ่งเน้นในการทำให้ Last Mile Delivery เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งนั่นหมายความว่า บริษัทต่างๆกำลังแข่งขันอย่างสูง และเริ่มตัดราคาลง ทำให้ Margin นั้นน้อยลงไปด้วยตลาดของบริษัทขนส่ง และการแข่งขันอันนี้ ทำให้ Marketplace ต่างๆนั้นได้ประโยชน์มากขื้น พ่อค้าแม่ค้าเองก็ได้ประโยชน์ จากบริการ และราคาที่ต่ำลงจากการแข่งขันตัดราคาอีกเช่นกัน   โดย พอล ศรีวรกุล