4 ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับ “อุตสาหกรรม 4.0” - Forbes Thailand

4 ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับ “อุตสาหกรรม 4.0”

FORBES THAILAND / ADMIN
20 Apr 2022 | 11:51 AM
READ 1996

แม้ว่า “อุตสาหกรรม 4.0” จะเป็นเรื่องที่พูดถึงกันค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่ไม่น้อย  อาทิ ความเข้าใจว่าอุตสาหกรรม 4.0 เป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องของบริษัทเทคโนโลยีเท่านั้น บริษัทไทยน่าจะอีกนาน ต้องลงทุนสูง เราอย่าเพิ่งไปสนใจ ฯลฯ

ซึ่งจากการที่กลุ่มบริษัท “PacRim” ได้รับเกียรติจาก สัมพันธ์ ศิลปนาฎ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (WD) บริษัทแรกของประเทศไทยที่สามารถคว้ารางวัลระดับโลกจาก World Economic Forum (WEF) จากผลงานการทรานส์ฟอร์มสู่อุตสาหกรรม 4.0  มาแบ่งปันประสบการณ์ และเคล็ดลับสำคัญในการทำอุตสาหกรรม 4.0 ในงานสัมมนาสดออนไลน์ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้  เราจึงได้เรียบเรียงเนื้อหามาสรุปเป็นสี่หัวข้อของความเข้าใจผิดหลัก ๆ เกี่ยวกับ “อุตสาหกรรม 4.0” ดังนี้ 1.เป็นเรื่องที่ไกลตัวและทำได้ยาก บางคนคิดว่าการทำอุตสาหกรรม 4.0 อาจเป็นเรื่องที่ไกลตัวและยากมากที่จะสำเร็จ เพราะปัจจุบันโรงงานส่วนใหญ่ในไทยเราถูกจัดอยู่ในระดับของอุตสาหกรรม 2.0 หรือ 2.5 เท่านั้นเอง  ยังไปไม่ถึง 3.0 ด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้ ดร.สัมพันธ์ยืนยันว่าการทำอุตสาหกรรม 4.0 นั้นไม่ยากอย่างที่คิด และไม่น่าจะเหลือบ่ากว่าแรงของบริษัทไทยที่จะทำได้ นอกจากนี้ท่านยืนยันว่าบริษัทไทยสามารถก้าวข้ามจาก 2.0 มา 4.0 ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องก้าวผ่าน 3.0 ก่อน และที่สำคัญท่านเน้นว่า 4.0 ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมากเหมือนกับอุตสาหกรรม 3.0 ซึ่งเป็นการนำเครื่องจักรหรือระบบออโตเมชันมาทดแทนคน  ทำให้ 4.0 สามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ได้ในอัตราที่สูงลิ่วในระดับเป็น 100 เท่า!!! 2.เป็นเรื่องของบริษัทในอุตสาหกรรมไฮเทคฯ เท่านั้น หัวใจของ 4.0 คือการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงเท่านั้น  ในบรรดา 90 โรงงานทั่วโลกที่ได้รับรางวัลจาก WEF ตลอดช่วงระยะเวลา 3-4 ปี ที่ผ่านมา มีอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เช่น โรงงานผลิตสุขภัณฑ์ รวมอยู่ด้วย 3.อาจเป็นเรื่องของอนาคต ไม่ได้ตอบโจทย์ความอยู่รอดของวันนี้ ดร.สัมพันธ์ชี้ว่าผลจากการอิมพลีเมนต์ 4.0 ทำให้สายการผลิตฮาร์ดดิสก์ที่ จ.ปราจีนบุรีของ WD ซึ่งเป็นโรงงานที่ได้รับรางวัลจาก WEF ในครั้งนี้ สามารถเพิ่มผลผลิตได้ถึง 123% ลดต้นทุนการจัดซื้อ จัดจ้างได้ 30% และลดปริมาณของเสียจากการผลิต (Scrap) ได้ 43% ในภาพรวมนั้น โครงการนี้สามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนให้กับ WD ได้ถึง 43%  ซึ่งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ลดลงนี้ สามารถชดเชยต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงโควิดได้อย่างสบาย ๆ 4.เป็นเรื่องของเทคโนโลยีล้วน ๆ การทรานส์ฟอร์มสู่ 4.0 นั้นจะไม่สามารถทำได้ผลสำเร็จ หากไม่สามารถทรานส์ฟอร์ม “ผู้นำ” และคนในองค์กรให้มี Mindset และทักษะของคนในยุค 4.0 ได้ ซึ่งการทำ “Talent Transformation” เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และ “Leader, Culture & Mindset” คือองค์ประกอบสำคัญแห่งความสำเร็จ ดร.สัมพันธ์แนะว่าผู้นำต้องกล้าเปลี่ยนแปลง สื่อสาร และเป็น Role Model ในการเปลี่ยนแปลง Mindset พฤติกรรมและวัฒนธรรมองค์กรให้สอดรับกับยุค 4.0  เช่น มีความคิดเชิงเติบโต พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (Growth Mindset, Risk-based Mindset) ตลอดจนต้องมีการ Upskill, Reskill พนักงานในทุกระดับ สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการเปิดกว้างและยอมรับความแตกต่าง (DEI: Diversity, Equity & Inclusion) และวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจสูง (High-Trust Culture)  ให้เกิดขึ้น “อย่าทำแบบเดิม ๆ ใช้คนแบบเดิม ๆ KPI เดิม ๆ แล้วหวังว่าจะได้ผล 4.0” คุณสัมพันธ์ย้ำ ด้าน พรทิพย์ อัยยิมาพันธ์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ PacRim Group กล่าวว่าการทำ 4.0 นั้นสามารถสร้างผลลัพธ์ให้องค์กรได้โดยแทบไม่มีขีดจำกัด (Sky Is the Limit) หากองค์กรให้ความสำคัญกับสี่เรื่องนี้คือ 1.พัฒนา “ผู้นำ 4.0” ที่มี Mindset และทักษะใหม่ ๆ สามารถนำทีมคนรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้นในทุกระดับ 2.มีขีดความสามารถในการแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ (Execution Capability) 3.สร้างวัฒนธรรมแห่งการเปิดกว้าง มีส่วนร่วม และความไว้วางใจต่อกันสูงให้เกิดขึ้นในองค์กร (Build Inclusive & High-Trust Culture) 4.สร้างทีมงานที่มีศักยภาพสูงขึ้น (4.0 Effective People) ทั้งนี้ปัจจัยที่สำคัญมากคือ คุณภาพของผู้นำในองค์กรว่ามีความพร้อมแค่ไหนที่จะทรานส์ฟอร์มตัวเองก่อน ทั้งในแง่ของ Mindset และการปฏิบัติ รวมถึงการเปิดโอกาสและใช้พลังของคนรุ่นใหม่ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญให้องค์กรสามารถเดินมุ่งหน้าไปสู่อนาคตได้ บทความโดย PacRim Group
คลิกอ่านฉบับเต็ม และบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนมีนาคม 2565 ในรูปแบบ e-magazine