การมาถึงของหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) และเครื่องจักรอัตโนมัติ กำาลังกระจายออกไปอย่างรวดเร็วในทุกธุรกิจ กลางปี 2017 รัฐสภายุโรปได้ผ่านกฎหมายที่ว่าด้วยการควบคุมหุ่นยนต์และ AI โดยมีเนื้อหาระบุถึงสถานะของหุ่นยนต์ว่า สามารถเป็นบุคคลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายได้ในกรณีที่จำเป็นต่อการทำงาน และเพื่อเยียวยาผลกระทบที่หุ่นยนต์จะมีต่อการจ้างงานของมนุษย์ ประเทศสมาชิก EU อาจพิจารณาออกนโยบายรับประกันรายได้พื้นฐานแก่ประชาชนโดยถ้วนหน้ามาทดแทน
ความเป็นมนุษย์ของหุ่นยนต์ (The Humanization of Robots) เคยถูกจินตนาการไว้ในหนังสือของ Isaac Asimov ในชื่อ บุรุษสองศตวรรษ (The Bicentennial Man) ซึ่งเป็นเรื่องราวของ Andrew หุ่นยนต์ที่คลุกคลีกับมนุษย์นานหลายปี จนค่อยๆ ซึมซับด้านต่างๆ ของมนุษย์ และปรารถนาจะเป็นมนุษย์ จึงค่อยๆ เปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนต่างๆ บนร่างกาย ลดทอนความเป็นเครื่องจักรลงทีละน้อย จนในที่สุดก็ได้รับสิทธิความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ เรื่องของ Andrew ได้กลายเป็นจริง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2017 ประเทศซาอุดีอาระเบียได้ประกาศให้ Sophia หุ่นยนต์ระบบ AI ผู้มีใบหน้าถอดแบบมาจาก Audrey Hepburn ดาราภาพยนตร์ชื่อดัง มีสถานะเป็นพลเมืองอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกของโลก Sophia เป็นหุ่นยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สามารถปล่อยมุกตลก แสดงสีหน้าตามอารมณ์ได้กว่า 60 แบบ เรียนรู้บุคลิกของคู่สนทนาผ่านการพูดคุย ถือว่าเข้าใกล้ความเป็นมนุษย์อย่างมาก ในการตอบคำาถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง “เพศ” และ “ตัวตน” ของ Sophia ถือว่าน่าสนใจไม่แพ้กัน เมื่อนักข่าวถามว่า “คุณเป็นเพศหญิงหรือชาย” Sophia ตอบว่า โดยทางเทคนิคแล้ว หุ่นยนต์ไม่มีเพศ แต่ฉันถูกกำาหนดสถานะเป็น “เพศหญิง” (feminine) และยินดีที่คนจะมองในฐานะ “ผู้หญิงคนหนึ่ง” (woman) สื่อถึงความต้องการที่จะได้รับการปฏิบัติในฐานะบุคคลที่เป็นผู้หญิงมากกว่าหุ่นยนต์เพศหญิง การเป็นพลเมืองของ Sophia ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากสื่อมวลชนและผู้คนจากทั่วโลก ทว่าสิ่งที่ตามมาเช่นกันคือ เสียงวิจารณ์เกี่ยวกับความหมายของการเป็นพลเมือง ประเด็นสิทธิมนุษยชน สิทธิ หุ่นยนต์ และความเสมอภาคทางสังคม การที่สามารถคิด มีทักษะวิเคราะห์ตัดสินใจหลากหลายด้าน และมีจิตสำนึกตระหนักรู้ในการดำารงอยู่ ในความหมายเชิงกว้างของแนวคิดอัตถิภาวะนิยมอาจมองว่าหุ่นยนต์ AI ล้ำาสมัยเช่น Sophia นั้น มีความเป็นมนุษย์ (humanization) แต่ก็มีผู้แย้งว่า ความเป็นมนุษย์ของหุ่นยนต์ยังมีเรื่องละเอียดอ่อนที่มีประเด็นทางศีลธรรมและจริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย หุ่นยนต์ไม่มีจิตวิญญาณ จะสามารถตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้ได้ดีพอหรือไม่ หรือสามารถถูกโปรแกรมให้รู้จักใคร่ครวญ และตัดสินใจได้อย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรมหรือไม่ เช่น เทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ (driverless car) ที่ใช้ระบบ AI นอกจากจะให้ความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ ช่วยควบคุมการทำงานของรถในทุกสภาพถนนแล้ว ยังต้องทำหน้าที่ตัดสินใจโดยอัตโนมัติในหลายสถานการณ์ เพื่อบังคับรถให้เคลื่อนไปถึงจุดหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความปลอดภัยสูงสุด แต่ในกรณีฉุกเฉิน มีรถอื่นเข้ามาชน สิ่งที่ตัดสินชะตากรรมว่าคนขับรถหรือผู้เดินข้ามถนนใครจะอยู่รอดหรือต้องกลายเป็นเหยื่อผู้เสียชีวิต ก็คือการตัดสินใจของคนถือพวงมาลัยว่าจะบังคับรถในสถานการณ์นั้นอย่างไร หลายครั้งคนขับเลือกหักรถลงข้างทางเพื่อรักษาชีวิตของเด็กนักเรียนที่กำาลังเดินข้ามถนนไว้ก่อน แต่ในกรณีรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบ AI ที่ไม่มีสัญชาตญาณเอาตัวรอดหรือเสียสละแบบมนุษย์ ผลที่ออกมาไม่อาจจะคาดเดาได้นอกเสียจากว่าเจ้าของรถจะบันทึกคำาสั่งการทำงานเอาไว้ล่วงหน้าว่าจะให้ระบบรักษาชีวิตของใคร ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนา “เทคโนโลยีทางศีลธรรม” ที่ว่านี้สำหรับรถยนต์อัตโนมัติบ้างแล้ว สถานีโทรทัศน์ BBC ได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญอาวุธอัจฉริยะ Ron Atkinson ซึ่งมองว่าความเป็นมนุษย์ของหุ่นยนต์เป็นความรับผิดชอบของผู้สร้าง ที่ต้องให้ความสนใจต่อการพัฒนาเทคโนโลยีทางศีลธรรมที่จะใช้ควบคุมอาวุธอัตโนมัติให้มากขึ้นเช่น การสอน AI ที่เป็นอาวุธให้รู้จักแยกแยะระหว่างทหารและพลเรือน รวมทั้งตัดสินใจว่าสถานการณ์ใดเป็นอันตรายอย่างแท้จริงเพื่อลดการเสียชีวิตของพลเรือนผู้บริสุทธิ์ในสงครามลงให้มากที่สุด การสอน AI อาจเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการโปรแกรมหลักการพื้นฐานอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปก่อน เช่นคำาสั่งที่ว่า “ทำให้เกิดสถานการณ์ที่มีความสุขมากที่สุด” หรือ “หลีกเลี่ยงความทุกข์ทรมาน” จากนั้นจึงฝึกให้ AI ประยุกต์ใช้หลักการเหล่านี้ตัดสินใจบนสถานการณ์ที่หลากหลาย ซึ่งเมื่อได้เรียนรู้มากขึ้น AI จะเริ่มมีความเข้าใจ และสามารถประยุกต์หลักการเหล่านี้กับสถานการณ์ที่ไม่เคยพบมาก่อนได้เป็นอย่างดี หุ่นยนต์ AI แม้ว่าจะตัดสินใจเองได้และบางครั้งดีกว่ามนุษย์ด้วยซ้ำ เช่น AlphaGo ซึ่งเป็น AI ของ Google Deep Mind สามารถเล่นเกมเอาชนะ Ke Jie แชมป์โลกหมากล้อมชาวจีนได้อย่างราบคาบด้วยคะแนน 0:3 เกม แต่ BBC วิเคราะห์ว่ามนุษย์ยังมีการตัดสินใจบางเรื่องที่ผูกกับพฤติกรรมที่ซับซ้อนกว่าการเดินหมากล้อมและหุ่นยนต์อาจทำได้ไม่ดีเท่าการใช้วิจารณญาณของมนุษย์ เช่น ในกรณีหุ่นยนต์ดูแลพยาบาลคนไข้อาจตัดสินใจผิดพลาดได้ในกรณีที่คนไข้ปฏิเสธการรับประทานยาแม้พฤติกรรมนี้จะไม่เป็นอะไรมากนักในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมง และการไม่รบเร้าเซ้าซี้คนไข้ก็เป็นการให้ความเคารพอย่างหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป หุ่นยนต์อาจต้องบังคับให้คนไข้รับประทานยาเพราะอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ แต่พยาบาลที่เป็นมนุษย์อาจรู้จังหวะผ่อนหนักผ่อนเบากับคนไข้ได้ดีกว่านี้ หุ่นยนต์ได้รับการพัฒนาให้ใกล้เคียงความเป็นมนุษย์มากขึ้น ประเด็นสำคัญที่เราควรพิจารณาอาจไม่ใช่เรื่องที่ว่าหุ่นยนต์ควรจะได้รับการยอมรับว่ามีตัวตน มีความเป็นปัจเจกและสามารถได้สถานะความมนุษย์หรือไม่ แต่เป็นเรื่องของการสร้างหุ่นยนต์ให้มีพัฒนาการในเชิงศีลธรรมควบคู่ไปด้วย การที่หุ่นยนต์เรียนรู้ได้ดีขึ้นกระทั่งสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองจนถึงขั้นที่มนุษย์ไม่สามารถทำนายได้ว่าหุ่นยนต์จะตัดสินใจอย่างไร และไม่สามารถล่วงรู้ถึงเหตุผลที่ใช้ในการตัดสินใจ จะกลายเป็นเรื่องน่ากลัวในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของคนจำนวนมาก หุ่นยนต์เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง การพัฒนานี้เกี่ยวข้องกับประเด็นทางจริยธรรมด้วยว่าเราควรมีกรอบสากลเพื่อกำาหนดแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์หรือไม่ และประเด็นทางจริยธรรมอะไรบ้างที่ต้องคำานึงถึงการให้ความสำคัญในเรื่อง “จริยธรรมของหุ่นยนต์” จะนำไปสู่การออกแบบเทคโนโลยีที่สร้างผลเสียให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในอนาคต ในวันที่หุ่นยนต์และมนุษย์ได้หลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวคลิกอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Forbes Thailand Magazine ฉบับ พฤษภาคม 2561 ในรูปแบบ e-Magazine