กองทุนความเสี่ยงสมดุล คำตอบยุคตลาดผันผวน - Forbes Thailand

กองทุนความเสี่ยงสมดุล คำตอบยุคตลาดผันผวน

FORBES THAILAND / ADMIN
13 Oct 2016 | 11:38 AM
READ 4089
การลงทุนแบบอ้างอิงปัจจัยพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ ได้แก่ การลงทุนแบบ top-down หรือการเลือกการลงทุนโดยการทำความเข้าใจกับภาพรวมภาวะเศรษฐกิจก่อน แล้วค่อยๆ ร่อนตะแกรงเลือกสินทรัพย์การลงทุน หรือหมวดอุตสาหกรรมที่น่าจะสามารถเติบโตและให้ผลตอบแทนได้ดีตามภาวะการณ์เศรษฐกิจนั้นๆ โดยการเลือกหุ้น หรือหุ้นกู้รายตัวนั้นทำเป็นขั้นตอนสุดท้าย จะเห็นได้ว่าการลงทุนในลักษณะนี้การทำความเข้าใจภาพรวมเศรษฐกิจ และการพยากรณ์ภาพเศรษฐกิจในอนาคต ถือเป็นหัวใจสำคัญ นอกจากนั้น การลงทุนแบบ bottom-up หรือการลงทุนโดยการเลือกหุ้น หรือหุ้นกู้ หรือแม้แต่สินทรัพย์อื่นๆ รายตัว ก่อนที่จะพิจารณาคัดเลือกการลงทุน โดยใช้ข้อมูลความสามารถในการสร้างการเติบโต และสร้างผลกำไรของบริษัทต่างๆ เป็นหลัก ซึ่งเชื่อว่าบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีรูปแบบการทำธุรกิจที่ดี มีแผนการเติบโตและแข่งขันได้ดี จะสามารถสร้างผลกำไรได้ดีในระยะยาว แม้ผ่านช่วงภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย หรือแม้แต่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม การลงทุนแบบ bottom-up ก็ยังคงต้องอาศัยความเข้าใจในภาพรวมทางเศรษฐกิจอยู่ดี สำหรับการพยากรณ์ความสามารถในการสร้างกำไร หรือกระแสเงินสดในอนาคต ซึ่งในการคาดการณ์รายได้ ที่มาจากปริมาณการขาย และการกำหนดราคา รวมทั้งการคาดการณ์รายจ่ายยังคงต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐาน เช่น อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ  เพื่อประกอบการคาดการณ์ปริมาณการขาย อัตราเงินเฟ้อ เพื่อประกอบการคาดการณ์ในการกำหนดราคา และการคาดการณ์ต้นทุนในอนาคต ปัญหาสุดคลาสสิคสำหรับนักลงทุนที่ยังต้องพึ่งพิงการคาดการณ์ ภาวะเศรษฐกิจในอนาคตคือ การคาดการณ์ทำได้ยากเหลือเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา สาเหตุสำคัญที่สร้างปัญหาต่อการคาดการณ์เศรษฐกิจ นอกจากนั้น การเชื่อมโยงของเศรษฐกิจสำคัญหลายภูมิภาคเข้าด้วยกัน ทำให้สมการทางเศรษฐศาสตร์กลายเป็นสมการเชิงซ้อนหลายตัวแปร การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในจุดหนึ่งๆ ต้องคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจในจุดอื่นๆ ด้วย ขณะที่การปรับตัวเชิงโครงสร้างของการผลิตพลังงานจากน้ำมันไปยังการใช้แสงอาทิตย์ ส่งผลให้ราคาน้ำมันตกต่ำลงอย่างมาก สร้างผลกระทบไม่เพียงแต่ผู้ผลิตน้ำมัน แต่ยังไปถึงความสามารถในการบริโภคของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำมันในวงกว้างอีกด้วยรวมถึงการปรับตัวเชิงโครงสร้างจากการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่กำลังสร้างผลกระทบ และก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายรายได้และผลกำไรในหลายอุตสาหกรรม เช่น การขนส่ง (Taxi โดย Uber) โรงแรม (โดย Airbnb) และธนาคาร (โดย กลุ่ม fin-tech) การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาดจากเหตุผลข้างต้น ทำให้ผู้จัดการกองทุน และนักลงทุนส่วนมากกำหนดกลยุทธ์การลงทุนที่ผิดพลาด และสร้างผลขาดทุน กองทุนแบบความเสี่ยงสมดุล (Risk Parity / Risk Based Allocation) คือทางออกกองทุนความเสี่ยงสมดุลสามารถแก้ปัญหาหลักที่เกิดจากความผันผวน และความยากในการพยากรณ์เศรษฐกิจในอนาคต โดยหลักการดังนี้ กระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลัก 5 ประเภท คือ 1) พันธบัตรรัฐบาลทั่วโลก 2) หุ้นกู้ภาคเอกชนทั่วโลก 3) หุ้นของประเทศที่พัฒนาแล้ว 4) หุ้นประเทศที่กำลังพัฒนา และ 5) สินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยง และโอกาสพลาดในการเลือกเพียงตัวใดตัวหนึ่ง จากการคาดการณ์เศรษฐกิจที่ไม่ถูกต้อง จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจบริการ ไพรเวทแบงค์ ธนาคารกสิกรไทย
คลิกอ่านฉบับเต็ม "กองทุนความเสี่ยงสมดุล คำตอบยุคตลาดผันผวน" เพิ่มเติมได้ที่ Fobes Thailand Magazine ฉบับ SEPTEMBER 2016