ระบบ SI หรือ System Integrated คือ หัวใจหลักของงานต่อยอดบริการด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่หลากหลายให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ตรงจุด โดย “มารุต ศิริโก” ได้พัฒนาธุรกิจ AMR ในการทำการเชื่อมต่อระบบต่างๆ ให้ทำงานด้วยกันอย่างเต็มประสิทธิภาพ
“ธุรกิจของเราทำเรื่อง SI เป็นหลัก เราเป็นคนที่ทำให้ system ต่างๆ สามารถ integrated เข้าด้วยกัน พูดง่ายๆ คือ ทำให้ระบบมันคุยกันรู้เรื่อง เพราะมีแต่ระบบถ้าไม่เชื่อมโยงกันก็ไม่มีความหมาย” มารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือ AMR บอกเล่าถึงหัวใจของธุรกิจของบริษัท ซึ่งเขายอมรับว่าเป็นเรื่องที่อาจเข้าใจยากถึงขั้นพนักงานของบริษัทบางคน กว่าจะเข้าใจว่าบริษัททำธุรกิจอะไรต้องเวลานานถึง 6 เดือนเนื่องจากธุรกิจที่บริษัททำค่อนข้างหลากหลาย ทั้งการให้บริการระบบบริหารจัดการน้ำท่วม ระบบเชื่อมต่อฐานข้อมูลการเดินรถไฟฟ้า ระบบบริหารจัดการสถานีรถไฟฟ้า ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และความปลอดภัย แม้กระทั่งระบบโซลูชันเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองอัจฉริยะ โดยงานของเขาดูซับซ้อนและมีความเป็นไฮเทคโนโลยีพอสมควร เกี่ยวกับระบบไอทีมีความเป็นช่างที่ผนวกเข้ากับการบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งทั้งหมดนี้คือคำตอบของบริการที่มารุต นิยามตัวเองว่า เป็นผู้ให้บริการ SI แบบครบวงจรเชื่อมต่อสั่งการระบบสื่อสาร เนื้องานที่ AMR ทำนั้นครอบคลุมงานวางระบบคมนาคมขนส่ง (transportation solution) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Communication Technology: ICT) ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และความปลอดภัย (computer network and security) และระบบโซลูชันเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองอัจฉริยะ (smart city) โดยงานระบบคมนาคมขนส่ง AMR เป็นบริษัท SI ที่มีความเชี่ยวชาญด้านงานวิศวกรรมวางระบบคมนาคมและขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transportation System: ITS) หรือโซลูชันระบบเทคโนโลยีการเดินรถและขนส่งมวลชนสมัยใหม่ ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Mass Rapid Transit: MRT) ระบบรถไฟฟ้าชานเมือง (Commuter Train: CT) ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรล (monorail) และระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (Bus Rapid Transit: BRT) ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ต้องใช้องค์ความรู้และประสบการณ์เฉพาะด้านเพื่อออกแบบระบบและเชื่อมต่อเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนประเภทต่างๆ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีการควบคุมระยะไกล เทคโนโลยี การเก็บรวบรวมข้อมูลอัตโนมัติ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล จำนวนมากแบบทันทีทันใด (real-time) AMR มีประสบการณ์ด้านโซลูชันระบบปฏิบัติการการเดินรถและซ่อมบำรุงระบบขนส่งมวลชนตามขอบเขตงานที่ตกลงตามสัญญากับผู้ว่าจ้างในลักษณะการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (turnkey) ซึ่งประกอบไปด้วยการให้คำปรึกษา การออกแบบระบบทางวิศวกรรมและการเดินรถ การจัดหาอุปกรณ์และโซลูชันระบบปฏิบัติการ การติดตั้งและการเชื่อมต่อระบบการซ่องบำรุงและการฝึกอบรม โดยครอบคลุมงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (Electrical and Mechanical System: E&M) ที่เป็นระบบสำคัญสำหรับการเดินรถและการซ่อมบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ประกอบด้วยระบบไฟฟ้าหลัก (power supply)ไอซีทีโซลูชัน-ความปลอดภัย
เนื้องานหลักที่ AMR ทำมาอย่างต่อเนื่องเช่น งานให้บริการวางระบบไอซีทีและซิสเต็มส์โซลูชัน (ICT and System Solution: ISS) ครอบคลุมการให้คำปรึกษา การออกแบบระบบ การจัดหาฮาร์ดแวร์ จัดหาซอฟต์แวร์การติดตั้ง และการฝึกอบรมแบบครบวงจรด้วยความชำนาญ และสามารถให้บริการวางระบบงานโครงการที่หลากหลาย เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Communication Technology: ICT) โซลูชันเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองอัจฉริยะ (smart city) ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และความปลอดภัย (computer network and security) และระบบควบคุมและสั่งการระยะไกล (SCADA System) นอกจากนี้ ยังให้บริการระบบควบคุมและสั่งการระยะไกล (SCADA System) ซึ่งเป็นระบบควบคุม ตรวจสอบเฝ้าระวัง และสามารถสั่งการทำงานของอุปกรณ์ผ่านระบบ SCADA ในระยะไกลผ่านระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารได้ “ถามว่าคู่แข่งเป็นใคร เอาจริงๆ คู่แข่งไม่เยอะ เพราะงานเราไม่เหมือนคนอื่นเราทำ SI รวมทุกระบบ ถ้าพูดถึงอุตสาหกรรมเดียวกัน SI ด้านไอที ด้านระบบสื่อสาร ระบบควบคุมกลไก เครื่องจักรกล ระบบย่อยที่เราทำ รวมของพวกนั้นเข้าด้วยกัน integrated โดยเฉพาะงานรถไฟเราทำแบบนี้มาตั้งแต่เปิดบริษัท” มารุต แจกแจงรายละเอียดงานที่แตกต่าง ซึ่งเขาบอกว่าให้บริการแบบนี้มาแตกต่างซึ่งเขาบอกว่าให้บริการแบบนี้มาตั้งแต่ 15 ปีก่อนแล้ว AMR ทำเรื่องระบบนำการติดตามและควบคุมน้ำท่วมประเทศไทยระบบควบคุมสื่อสารทำให้ กรมชลประทานและกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยในส่วนชลประทานครอบคลุมพื้นที่กว่า 50% ของพื้นที่ประเทศไทย “เราเป็น SI ที่ออกแบบระบบที่ตอบโจทย์ลูกค้า ผมกับทีมงานส่วนมากจบด้านอิเล็กทรอนิกส์กับคอมพิวเตอร์ เรามีพนักงานทุกสาขาทีมงาน 300 คน ในจำนวนนี้ 70% เป็นวิศวกร ไอที สื่อสาร และไฟฟ้า” เป็นทีมงานที่มารุตบอกว่า ยังเพียงพอกับริมาณงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ในอนาคตเมื่อบริษัทขยายสู่บริการด้านซ่อมบำรุงมากขึ้น ความต้องการบุคลากรจะเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับเงินทุนที่อาจต้องการมากขึ้นเพื่อรองรับงานขนาดใหญ่ ด้วยเหตุนี้ AMR จึงได้ยื่นไฟล์ลิ่งขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งคาดว่าจะได้รับอนุมัติซึ่งคาดว่าจะได้รับอนุมัติในช่วงไตรมาส 3-4 หากไม่ติดประเด็นปัญหาอะไร พร้อมแสดงความมั่นใจในเรื่องบริการที่เป็นหนึ่งเดียวของงาน SI แบบครบวงจร ซึ่งเขามั่นใจว่า ตลาดยังมีความต้องการและเติบโตได้อีกมาก ภาพ: AMRคลิกอ่านฉบับเต็ม และบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนกันยายน 2564 ในรูปแบบ e-magazine