เสาอากาศของดาวเทียมเรดาร์ช่องเปิดสังเคราะห์ (synthetic aperture radar หรือ SAR) ของ Capella Space เมื่อกางออกเต็มที่จะกินพื้นที่กว่า 86 ตร.ม. แต่เสาอากาศนี้กลับพับเก็บไว้ได้อย่างเรียบร้อยในตัว ดาวเทียม ขนาดเท่าเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป ในขณะที่ดาวเทียม SAR ของผู้ผลิตรายอื่นมีขนาดเท่ารถยนต์คันเล็ก
Capella ทำได้อย่างไรน่ะหรือ
Payam Banazadeh ซีอีโอ ของ
Capella ซึ่งเคยอยู่ในลิสต์ Under 30 ของ
Forbes ไม่ยอมเปิดเผย “เรื่องนี้เป็นซอสสูตรลับของเรา”
นกน้อยของ
Capella แต่ละตัวจะทำงานร่วมกันเมื่ออยู่ในวงโคจรรอบโลก โดยจะใช้สัญญาณจากดาวเทียมดวงอื่นๆ เพื่อเลียนแบบการทำงานของจานเรดาร์ ซึ่งถ้าเป็นจานที่ตั้งอยู่บนพื้นโลกก็คงจะมีความกว้างหลายไมล์ วิธีการดังกล่าวช่วยให้ดาวเทียมเก็บภาพถ่ายความละเอียดสูงของพื้นผิวโลกด้วยเรดาร์ได้ทุกชั่วโมง เพื่อใช้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับแนวท่อ ความชื้นในดิน ตำแหน่งของเรือ และอื่นๆ การถ่ายภาพด้วยเรดาร์หมายความว่าดาวเทียมจะสามารถ “มองทะลุ” ชั้นเมฆได้เหมือนไม่มีอะไรขวาง
ดาวเทียมดวงแรกของ Capella มีกำหนดจะปล่อยขึ้นสู่วงโคจรไม่นานหลังเปิดแถลงข่าว และคาดว่า
กลุ่มดาวเทียมบริษัทกลุ่มแรกจากทั้งหมดสามกลุ่มจะขึ้นไปอยู่ในวงโคจรภายในสิ้นปี 2019
บริษัทในเมือง San Francisco แห่งนี้ระดมเงินลงทุนได้ 38 ล้านเหรียญ ซึ่งก็น่าจะเป็นการลงทุนที่ให้ผลดีมาก เพราะรายงานของนักวิเคราะห์คนหนึ่งคาดการณ์ว่าตลาดที่จะซื้อข้อมูลจากดาวเทียม SAR น่าจะมีมูลค่าถึง 4 พันล้านเหรียญภายในปี 2024
เรื่อง: Alex Knapp
เรียบเรียง: ธรรดร โสตถิอำรุง
อ่านเพิ่มเติม