โครงการ Perpetual Planet ที่ Rolex ได้ให้การสนับสนุนการสำรวจเพื่อติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศบนหนึ่งในภูเขาที่สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ ได้รวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ณ แหล่งกักเก็บน้ำทางธรรมชาติอันเปราะบาง
ทีมนักสำรวจและนักวิทยาศาสตร์ของ National Geographic ได้ทำการติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศที่สูงที่สุดในซีกโลกใต้และซีกโลกตะวันตก บริเวณยอดเขาที่อยู่ต่ำกว่าภูเขาไฟตูปุนกาโต (Tupungato Volcano) ในเทือกเขาแอนดีสตอนใต้ ภารกิจสำรวจภูเขาไฟ Tupungato ซึ่งเป็นหนึ่งในยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปอเมริกา คือภารกิจครั้งล่าสุดของการสำรวจ National Geographic หรือที่รู้จักกันในชื่อ Perpetual Planet Expeditions ซึ่งให้การสนับสนุนโดย Rolex ผ่านทางโครงการ Perpetual Planet
การสำรวจนั้นเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของ Rolex มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1930 ผู้ก่อตั้งบริษัทอย่าง Hans Wilsdorf (ฮันส์ วิลส์ดอร์ฟ) ได้เริ่มทำการทดสอบนาฬิกาของเขาโดยการใช้โลกใบนี้ประหนึ่งเป็นห้องทดลองที่มีชีวิต เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 บริษัทได้ต่อยอดจากการสนับสนุนการสำรวจเพื่อค้นพบสิ่งใหม่ ไปสู่การอนุรักษ์โลกธรรมชาติ]
พร้อมตอกย้ำเจตนารมณ์ของ Rolex ผ่านการเปิดตัวโครงการ Perpetual Planet ในปี 2019 เพื่อสนับสนุนบุคคลและองค์กรต่างๆ ที่ใช้วิทยาศาสตร์ในการ ทำความเข้าใจกับความท้าทายปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของโลก
โครงการ Rolex Perpetual Planet ในปัจจุบันมุ่งเน้นให้ความสำคัญในสามส่วน ได้แก่ การสนับสนุนบุคคลที่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์โลกที่ดีกว่าเคย ผ่านโครงการ Rolex Awards for Enterprise การอนุรักษ์มหาสมุทรผ่านการเข้าร่วมของบริษัทกับโครงการ Mission Blue และการทำความเข้าใจสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจากข้อมูลที่ค้นพบซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขยายความร่วมมือกับ National Geographic ผู้ซึ่งเป็นพันธมิตรกับ Rolex มาตั้งแต่ปี 1954
การรวบรวมข้อมูลวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้การดำเนินการร่วมกับรัฐบาลชิลี โครงการภูเขาไฟ Tupungato ก่อกำเนิดขึ้นจากภารกิจสำรวจของ National Geographic และ Perpetual Planet Expedition ในปี 2019 ไปยัง ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ซึ่งเป็นภารกิจสำรวจทางวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยเดินทางขึ้นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกแห่งนี้ โดยได้สร้างประวัติศาสตร์ในการติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศที่สูงที่สุดในโลก
สมาชิกในภารกิจสำรวจ Tupungato Volcano Expedition ต่างสวม Oyster Perpetual Explorer II อันเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญของนักสำรวจทุกคน นาฬิกา Explorer ได้รับการพัฒนาร่วมกับนักปีนเขาระดับตำนานมาแล้วมากมาย และผ่านวิวัฒนาการมาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อตอบสนองความต้องการของเหล่านักสำรวจ
เป้าหมายของภารกิจสำรวจโดย National Geographic และ Rolex Perpetual Planet Expeditions คือการมอบข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ชุมชน เพื่อดำเนินการปกป้องตนเองเมื่อต้องเผชิญกับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง บนแหล่งกักเก็บน้ำทางธรรมชาติอันเปราะบาง ในภูมิภาคที่มีภูเขาและธารน้ำแข็งที่สำคัญที่สุดในโลก ที่ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และเป็นแหล่งน้ำจืดสำหรับผู้คนหลายพันล้านคน
นำทีมโดย ดร. Gino Casassa ผู้เป็นทั้งนักสำรวจจาก National Geographic และหัวหน้าหน่วยธารน้ำแข็งและหิมะ สังกัดกระทรวงโยธาธิการของประเทศชิลี โดยโครงการเดินทางสำรวจ Tupungato Volcano Expedition ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ และสิ้นสุดในวันที่ 5 มีนาคมนี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อสังเกตการณ์แหล่งกักเก็บน้ำทางธรรมชาติของภูเขาแห่งนี้
นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศ ดร. Baker Perry ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอปพาเลเชียน (Appalachian State University) ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา ผู้ร่วมนำทีมสำรวจภูเขาไฟ Tupungato ให้ความเห็นถึงความสำคัญของทีมสำรวจครั้งนี้ไว้ว่า
“การติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศที่สูงที่สุดในทวีปอเมริกาช่วยให้นักวิทยาศาสตร์มีข้อมูลการเคลื่อนที่ของคลื่นในชั้นบรรยากาศบนเทือกเขาสูงแอนดีสในประเทศชิลี ซึ่งนับเป็นหนึ่งในแหล่งเก็บน้ำทางธรรมชาติที่เปราะบางที่สุดในโลก เทือกเขาเหล่านี้เป็นแหล่งน้ำจืดที่หล่อเลี้ยงผู้คนกว่า 6 ล้านชีวิตในพื้นที่เมืองซานเตียโก (Santiago) ภารกิจสำรวจต่างๆ ล้วนเกิดขึ้นเพื่อร่วมสร้างสรรค์โลกที่ยั่งยืน โดยการผลักดันขีดจำกัดทางการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และการสำรวจไปยังจุดสูงสุดของโลก
สถานีตรวจวัดอากาศแห่งใหม่นี้ที่ติดตั้งไว้ ณ ยอดเขา Tupungato ที่ระดับความสูง 6,505 เมตร จะทำการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ในการสร้างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศและ การบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคู่ไปกับสถานีที่อยู่ต่ำลงมา ที่เคยทำการติดตั้งไปเมื่อเดือน
THE NATIONAL GEOGRAPHIC และ ROLEX
ธันวาคม 2019 ด้วยการสนับสนุนจาก National Geographic โดยเครื่องหนึ่งอยู่ที่ระดับ 4,400 เมตร(บริเวณที่ราบสูงตอนบนของภูเขาอากองกากัว ซึ่งห่างจากซานเตียโกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 70 กิโลเมตร) และอีกสองเครื่องตั้งอยู่ถัดไปบนภูเขาไฟตูปันกาติโต (Tupungatito Volcano) ที่ระดับความสูง 4,400 เมตรและ 5,750 เมตร
ภารกิจสำรวจ Perpetual Planet Everest Expedition ครั้งประวัติศาสตร์ทำการสำรวจตั้งแต่เดือนเมษายน ไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2019 เพื่อศึกษาการทำงานของระบบภูเขาในการผลิตน้ำกินน้ำใช้เพื่อหล่อเลี้ยงผู้คนนับหนึ่งพันล้านชีวิต
ทีมสำรวจนี้มีสมาชิกกว่า 30 คน ซึ่งรวมถึงเหล่านักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยตริภูวัน (Tribhuvan University) ประเทศเนปาล ที่ได้ทำการติดตั้งเครือข่ายสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ (ณ จุดที่สูงที่สุดถึง 8,400 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล) ในจุดที่วัดค่าได้ถึงกระแสลมกรดกึ่งโซนร้อน อันเป็นกระแสลมแรงที่พัดผ่านไปรอบโลก โดยจะเกิดขึ้นเฉพาะบนที่สูงและเก็บข้อมูลได้ยากยิ่ง
สถานีตรวจวัดอากาศจึงมีส่วนสำคัญในการให้ข้อมูลจำนวนมาก เพื่อช่วยในการพยากรณ์หิมะหรือจุดเยือกแข็ง National Geographic และ Rolex ได้ทำการสำรวจไปจนถึงสภาพแวดล้อมบนภูเขาอันเปราะบาง เช่น ภูเขาไฟ Tupungato ซึ่งเป็นการสานต่อสายสัมพันธ์อันยาวนานระหว่าง Rolex กับการสำรวจ และการให้ความสนับสนุนผู้คนที่หาแนวทางการแก้ปัญหาความท้าทายที่กำลังเป็นภัยต่อระบบนิเวศอันเปราะบางของเรา
โครงการดังกล่าวสอดคล้องกับหัวใจสำคัญในพันธกิจของ Rolex ที่มีต่อโครงการและคนรุ่นใหม่ในอนาคต ด้วยการสนับสนุนบุคคลและองค์กรที่มุ่งมั่นอนุรักษ์โลกและระบบทางธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงทุกชีวิต องค์ความรู้ที่ได้จากภารกิจเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการหาแนวทางการแก้ไขปัญหาว่าโลกจะสามารถจัดการกับปัญหาความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่เร่งด่วนที่สุดเหล่านี้อย่างไร
Nicole Alexiev รองประธานฝ่ายวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมของ National Geographic Society เธอได้กล่าวถึงการเป็นพันธมิตรขององค์กรทั้งสองไว้ว่า “จากความร่วมมือของเรากับ Rolex เพื่อศึกษาและสำรวจระบบสำคัญต่างๆ ที่ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตบนโลก เป้าหมายสูงสุดของเราคือการนำสิ่งใหม่ที่ได้ค้นพบและข้อมูลที่รวบรวมจากภารกิจสำรวจมายกระดับแนวทางแก้ไขที่จะช่วยคืนสมดุลกลับสู่ระบบนิเวศของเรา”
อ่านเพิ่มเติม: TRAVIS SCOTT ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์ดัง
ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine