วิศวกรผู้ผันตัวสู่เจ้าของกิจการรับเหมาก่อสร้าง ณ บ้านเกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ยังคงเดินหน้าก่อร่างสร้างฝันนำบริษัทเข้าขายหุ้นไอพีโอในนาม บมจ. เชียงใหม่ ริมดอย หวังปูทางสู่ธุรกิจที่ทำรายได้แตะ 2 พันล้านบาทภายในปี 2563 ด้วยความพร้อมด้านเงินทุนที่แข็งแกร่งขึ้นผสานสารพัดประสบการณ์ที่สั่งสมมา
อาคารอำนวยการอุทยาวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มูลค่ากว่า 400 ล้านบาท ที่กำลังอยู่ระหว่างก่อสร้างและคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ คือหนึ่งในผลงานชิ้นโบว์แดงของ บมจ. เชียงใหม่ริมดอย (CRD) บริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ถือกำเนิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ โดยอดีตวิศวกร วัย 60 ปี ธีรพัฒน์ จิรพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการและผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ 46% ของบริษัท ธีรพัฒน์เริ่มกิจการรับเหมาก่อสร้างเมื่อปี 2533ร่วมกับกลุ่มเพื่อนเก่าทั้งจากสมัยเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย หลังตัวเขาผ่านประสบการณ์ในฐานะวิศวกรด้านไฟฟ้าพลังน้ำในเมืองกรุงมาแล้วกว่า 10 ปี และมีเงินเก็บที่เป็นกำไรจากการขายที่ดินเป็นทุนตั้งต้น “ผมไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะทำกิจการของตัวเองแต่ตอนนั้นเป็นชายหนุ่มวัย 30 กว่าที่ห้าวและอยากลองดู อีกทั้งช่วงนั้นเศรษฐกิจก็ดี เลยเลือกกลับมาเปิดกิจการที่บ้านเกิด ด้วยคิดเพียงว่าถ้าเจ๊งก็กลับไปทำงานออฟฟิศเพื่อหาเงินมาใช้หนี้” ปัจจุบัน CRD มีธุรกิจหลัก 2 ประเภท คือหนึ่ง รับเหมาก่อสร้างอาคาร และสิ่งปลูกสร้างทั่วไป และ สอง รับเหมาก่อสร้างงานระบบสาธารณูปโภค ได้แก่ การให้บริการรับเหมาก่อสร้างและติดตั้งระบบสาธารณูปโภคภายใน สำหรับในปีนี้คาดว่าจะทำรายได้ทะลุ 1.5 พันล้านบาทและคาดว่าจะมีรายได้แตะ 2 พันล้านบาทภายในปี 2563 โดย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560 บริษัทมีงานรับเหมาก่อสร้างที่ยังไม่ส่งมอบ จำนวน 12 โครงการ คิดเป็นมูลค่างานในส่วนที่ยังไม่รับรู้รายได้รวม 906.99 ล้านบาท พร้อมกับเดินหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai และจำหน่ายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรกจำนวน 150 ล้านหุ้นหรือ 30% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดภายในเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยการระดมทุนครั้งนี้ก็เพื่อตอบโจทย์การลงทุนในช่วงปี 2560 ถึง 2561 ทั้งในการซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ และยานพาหนะที่ใช้ในงานก่อสร้าง รวมถึงลงทุนสร้างทีมวิศวกร และลงทุนในการขยายส่วนงานออกแบบ ตลอดจนใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและการขยายธุรกิจในอนาคต “งานรับเหมาก่อสร้างต้องใช้เงินทุนสูงโดยเฉพาะงานราชการยิ่งต้องใช้ทุนมากซึ่งนับจากนี้เราจะสามารถประมูลงานราชการที่มูลค่า 1 พันล้านบาทขึ้นไปได้แล้ว” ก่อร่าง CRD แม้จะไม่เคยเป็นเจ้าของกิจการมาก่อนแต่ด้วยความที่มีลูกค้าในมืออยู่แล้ว อย่างโครงการหมู่บ้านจัดสรรขนาด 50 หลังคาเรือนที่ อ. เมือง จ. เชียงใหม่ ก็น่าจะพอทำให้การตั้งไข่กับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในวันนั้น ไม่ควรที่จะหนักหนาสาหัสสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่นัก ทว่าพิษเศรษฐกิจพ่นใส่บริษัทรับเหมาก่อสร้างวัยละอ่อนอย่าง CRD เข้าอย่างจัง จึงทำให้บริษัทมีตัวเลขขาดทุนราว 1 ล้านบาทตั้งแต่งานแรกเมื่อเริ่มแล้วก็ต้องสู้ให้ถึงที่สุด ธีรพัฒน์จึงเริ่มหันไปรับงานราชการ โดยเปิดศักราชที่โครงการเขื่อนแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่จังหวัดลำปาง ซึ่งแม้ว่าจะได้เงินช้าและกำไรไม่สูงนัก แต่สิ่งที่แน่นอน “ช่วงที่เราเริ่มกิจการบริษัทรับเหมาก่อสร้างส่วนใหญ่ไม่ค่อยรับงานราชการกันเพราะว่ากำไรน้อยกว่างานเอกชน แต่พอฝั่งเอกชนแย่เราก็เลยลองหันไปรับงานราชการดู” กระนั้น จุดเปลี่ยนสำคัญที่นับเป็นช่วงก้าวกระโดดคือราวปี 2537 ที่บริษัทไปรับงานโครงการไฟฟ้าพลังน้ำแม่ปาย อ. ปาย จ. แม่ฮ่องสอน ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งมูลค่าสูงถึง 50 ล้านบาท นับเป็นการย้ำความเชื่อของธีรพัฒน์ที่ว่า โชคชะตามีส่วนสำคัญกับการทำธุรกิจ เนื่องจากงานนี้ผู้รับเหมาเดิมทิ้งงาน ทำให้บริษัทสัญชาติอังกฤษที่เป็นผู้ดูแลโครงการต้องค้นหาผู้รับเหมารายใหม่มาสานต่องานให้จบ จึงเลือกให้ CRD ไปรับงานแทนเป็นกรณีพิเศษจนปี 2556 ที่บริษัทได้รับโอกาสจากบมจ. แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ให้รับเหมาทำโครงการคอนโดมิเนียม The Key ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ตามมาด้วยที่อยู่อาศัยแนวสูงของผู้ว่าจ้างรายอื่นๆ ตามมาอีกอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นอีกหนึ่งในรากฐานที่ต่อยอดให้ CRD มีรายได้ที่แข็งแกร่งมาอย่างต่อเนื่องและลดความเสี่ยง “โครงการที่ทำให้ บมจ. แลนด์แอนด์เฮ้าส์เป็นหนึ่งในงานที่ผมภาคภูมิใจ เพราะบริษัทชั้นนำะดับประเทศเลือกเรา จึงเหมือนกับเราได้รับรองมาตรฐานว่าบริษัทเรามีศักยภาพเพียงพอ แล้วยังมีส่วนช่วยพัฒนาฝีมือแรงงานของเราไปด้วย” อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน CRD รับงานโครงการที่มูลค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3 ล้านบาทถึงสูงสุดที่ราว 400 ล้านบาท ส่วนประเภทโครงการที่ไม่เชี่ยวชาญคือการสร้างถนนและสะพาน ธีรพัฒน์เปิดเผยถึงต้นตอแห่งความสำเร็จที่ทำห้บริษัทรับเหมาก่อสร้างเล็กๆ ในอดีตสามารถเติบโตมาถึงวันนี้ว่า ระบบการทำงานที่ดีและคุณภาพของผลงานที่ทำให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน ต่างจากยุคก่อนๆ ที่สายสัมพันธ์ที่มีกับลูกค้าเป็นตัวแปรสำคัญสูงสุ “เรามองว่าธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเป็นงานที่ต้องเน้นหนักเรื่องการบริหารจัดการที่ดี นอกจากนี้เรายังเด่นในแง่ที่ผ่านประสบการณ์ทำโครงการที่หลากหลายเพราะเราไม่เกี่ยงงาน อะไรที่ทำได้ก็ยินดีรับ” ธีรพัฒน์เล่าว่าอยู่ระหว่างมองหาโอกาสใหม่ๆ กระนั้นขณะนี้ CRD เริ่มออกไปรับงานในพื้นที่กลุ่มประเทศ CLMV เช่น งานก่อสร้างสำนักงานของ บมจ. บ้านปู ที่เมือง Hongsa จังหวัด Sainyabuli ของ สปป. ลาว “ถ้าเราจะออกไปนอกบ้านคงไปกับคู่ค้าที่เป็นบริษัทไทยขนาดใหญ่ แต่ยังไม่ไปรับงานโดยตรงจากลูกค้าที่เป็นกิจการท้องถิ่นของประเทศเพื่อนบ้าน” อย่างไรก็ตาม ธีรพัฒน์ยอมรับว่าช่วงยุคตกต่ำสุดของ CRD คือเมื่อปี 2540 ที่เมืองไทยต้องเผชิญกับวิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งทำให้งานรับเหมาจากฝั่งเอกชน โดยเฉพาะโครงการอสังหาริมทรัพย์หดหายไปจนหมดแต่ด้วยโชคในการทำธุรกิจทำให้มีงานบำบัดน้ำเสียและสถานีไฟฟ้าย่อยมาช่วยประคับประคองกิจการให้พอมีน้ำหล่อเลี้ยง จนค่อยๆ ก้าวมาถึงวันนี้ แต่การที่มีผลงานที่หลากหลายก็นับเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยให้บริษัทไม่เดือดร้อนในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดีได้ด้วย “งานสถานีไฟฟ้าย่อยมูลค่ากว่า 200 ล้านบาททำให้มีกำลังพอเลี้ยงบริษัท จึงอยู่รอดมาถึงวันนี้” ธีรพัฒน์ให้ภาพการแข่งขันในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในต่างจังหวัดว่า ไม่ได้แข่งขันกันรุนแรงมาก เพราะแต่ละบริษัทต่างมีตลาดและความถนัดเฉพาะทางกันไปจึงไม่ได้มีการตัดราคากันรุนแรง สำหรับแนวทางการสืบทอดกิจการนั้นธีรพัฒน์ยืนยันว่าเมื่อ CRD มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนแล้ว ภาพ: กิตติเดช เจริญพร และ บมจ. เชียงใหม่ริมดอยคลิกเพื่ออ่าน "ธีรพัฒน์ จิรพิพัฒน์ สร้าง CRD สู่ 2 พันล้าน" ฉบับเต็มในรูปแบบ e-Magazine