ของขวัญสำหรับลูกจ้างยุคมิลเลนเนียล (จากพรรครีพับลิกัน)
“หนังสือรับรองการทำงานอันยอดเยี่ยม” คือ ใบเบิกทางสู่งานลำดับที่สอง ที่เป็นสิ่งที่บัณฑิตส่วนใหญ่ต้องการมากที่สุดเมื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน เป็นที่รู้กันว่างานแรกที่ทำหลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยจะเป็นงานที่ทำไปพลางๆ ก่อนประมาณหนึ่งปีครึ่ง และเป็นตำแหน่งที่เป็นทางผ่านสำหรับไว้ประดับเรซูเม่ งานลำดับที่สองซึ่งเป็นงานที่ตรงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ต่างหากถึงจะเป็นงานที่ต้องการทำจริงๆ แต่ก่อนที่จะได้เปลี่ยนงานใหม่ จะต้องมีหนังสือรับรองอันทรงคุณค่าจากผู้มีอำนาจตัวจริงในโลกการทำงาน ไม่ใช่จากอาจารย์ในมหาวิทยาลัย
หนังสือรับรองอันยอดเยี่ยมซึ่งได้มาอย่างลำบากยากเย็นนี้จะกลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ง่ายขึ้นในฤดูหนาวนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์สหรัฐเขต 5 ได้ผลักดันให้มีการทบทวนกฎระเบียบของกระทรวงแรงงานว่าด้วยการจ่ายเงินสำหรับการทำงานล่วงเวลาฉบับใหม่ ข้อบังคับดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อกฎ “นางมารร้ายสวม Prada” ซึ่งตั้งชื่อตามภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี 2006 ซึ่งกล่าวถึงบรรณาธิการบริหารนิตยสารแฟชั่นชั้นนำซึ่งมีนิสัยร้ายกาจ ที่ชอบข่มเหงคุกคามลูกจ้างใหม่ซึ่งเป็นบัณฑิตสาวจากมหาวิทยาลัย Northwestern ทั้งวันทั้งคืน ด้วยการจิกใช้งานลูกจ้างสาวในขณะที่เธอกำลังรับประทานอาหารเย็นกับพ่อ อยู่ในงานเลี้ยงวันเกิดของแฟนหนุ่ม หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นการบ่อนทำลายสุขภาพจิตของเธอนั่นเอง
เพื่อเป็นการปกป้องลูกจ้างที่ประสบปัญหาแบบ Miss Northwestern กระทรวงแรงงานภายใต้การบริหารของรัฐบาล Obama ได้ปรับเพิ่มเพดานรายได้ โดยรัฐบาลกลางกำหนดให้จ่ายค่าแรง 1.5 เท่าสำหรับการทำงานล่วงเวลาให้กับลูกจ้างที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ดังกล่าว มีการกำหนดเพดานรายได้ใหม่ไว้ที่ 47,476 เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งอยู่ที่ 23,660 เหรียญฯ ซึ่งการปรับเพิ่มเพดานรายได้ใหม่นี้ส่งผลกับแรงงานหลายล้านคน ในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งไม่ใช่แรงงานที่เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นบัณฑิตจบใหม่ กระทรวงแรงงานภายใต้การบริหารของรัฐบาล Trump ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดกะการทำงานใหม่มีแนวโน้มที่จะเข้าข้างฝ่ายลูกจ้าง
พนักงานที่มีอายุมากกว่าซึ่งถูกใช้งานหนักเยี่ยงทาสเช่นนี้เกือบทุกคนต้องการหรือมีความจำเป็นต้องได้ค่าแรงเพิ่ม แต่มีคำถามข้อหนึ่งว่าการฝึกอบรมเพิ่มเติมจะเกิดประโยชน์กับพนักงานเหล่านี้มากกว่าการออกคำสั่งจากรัฐบาลกลางหรือท้องถิ่นให้จ่ายค่าจ้างเพิ่มหรือไม่ แต่ในความเป็นจริงแล้วพนักงานที่มีอายุน้อยเป็นฝ่ายที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนมากกว่า เมื่อมองย้อนไปในอดีต นายจ้างคนแรกของลูกจ้างจะรู้จักพนักงานที่เพิ่งเรียนจบของตนเป็นอย่างดี จนเรียกได้ว่ารักและเอ็นดูพวกเขาเลยทีเดียว ทุกคนในที่ทำงานซึ่งอาวุโสมากกว่าจะใจดีกับน้องใหม่เป็นพิเศษ นายจ้างเคยทำทุกอย่างอย่างดีที่สุดให้บรรดาพนักงานใหม่วัย 23 ปี “ของตน” ถึงแม้ว่าจะเป็นพนักงานที่มีความคิดเห็นทางการเมืองขัดแย้งกันก็ตาม
ทุกวันนี้ฝ่ายบริหารยังคงได้ประโยชน์หลายอย่างจากพนักงานใหม่ ยกตัวอย่างเช่น การมีสมองคิดไอเดียแปลกใหม่ หน้าไม่ช้ำ ค่าแรงต่ำ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ iPhone เทคโนโลยีขั้นสูง วิทยาการคอมพิวเตอร์ และตลาดเทคโนโลยีอย่างลึกซึ้ง (เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่อายุมากกว่า)
แต่ปัญหาก็คือการเลือกหุ้นและงานยากๆ ไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบของพนักงานที่เพิ่งเริ่มต้นชีวิตการทำงาน และในปัจจุบันภาระหน้าที่ซึ่งมีความสำคัญได้ลดความได้เปรียบของสิ่งที่คนรุ่นใหม่ทำได้ดีกว่าจนหมด บัณฑิตจากรั้วมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่จบการศึกษาในสายมนุษยศาสตร์ไม่เคยได้อ่านสิ่งที่ Miss Northwestern ทำ วัฒนธรรมการต่อต้านโลกธุรกิจของบัณฑิตจากรั้วมหาวิทยาลัยได้ยกระดับจากการเรียกร้องความยุติธรรมทางสังคมขึ้นไปจนถึงขั้นที่ไม่ก่อให้เกิดกับประโยชน์กับฝ่ายใดเลย วัฒนธรรมดังกล่าวไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความจริงจังของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในออฟฟิศ คนรุ่นใหม่ที่เห่อเทคโนโลยีและภาคภูมิใจในใบปริญญาบัตรจึงมักจะไม่ “เข้าใจ” เรื่องระเบียบวินัยในสถานที่ทำงานหรือลำดับชั้นการบังคับบัญชา
ความตึงเครียดดังกล่าวปรากฏให้เห็นใน The Devil Wears Prada ในการทำงานวันแรก Miss Northwestern ไม่สามารถซ่อนความรู้สึกดูถูกเหยียดหยามเมื่อนายจ้างผู้ร้ายกาจของเธอตัดสินใจเลือกอย่างพิถีพิถันระหว่างเข็มขัดอความารีนสองเส้นซึ่งมีรายละเอียดไม่ต่างกันเลย
นายจ้างผู้ร้ายกาจน็อตหลุดและตัดสินใจแบบที่ผู้บริหารในวงการแฟชั่นชั้นสูงทำกัน ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้าง เครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นที่ได้รับคัดเลือกมาโชว์สามารถ “สร้างเม็ดเงินได้หลายล้านดอลลาร์และสร้างงานได้นับไม่ถ้วน” ผู้กำกับศิลป์เคยวิพากษ์วิจารณ์ Miss Northwestern ว่า “หลายคนยอมตายถวายชีวิตเพื่อให้ได้ทำงานที่นี่ แต่เธอทำงานแบบซังกะตายไปวัน”
โชคดีที่ Miss Northwestern เรียนรู้ที่จะปรับตัวได้เร็ว แต่น่าเสียดายที่ไม่ใช่ว่าลูกจ้างยุคมิลเลนเนียลทุกคนจะสามารถปรับตัวได้รวดเร็วเช่นนั้น หลายคนถึงแม้ว่าจะทำงานมาครึ่งปีแล้วแต่สังคมออนไลน์ก็ยังเป็นโลกแห่งความจริงสำหรับพวกเขามากกว่าชีวิตในที่ทำงานเสียอีก เก้าเดือนผ่านไปพวกเขาก็ยังคงทำให้นายจ้างผิดหวังด้วยผลงานที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ปัญหาไม่ได้เกิดจากการที่บัณฑิตใหม่เหล่านี้ก้าวเดินไม่ตรงตามจังหวะของเสียงกลอง แต่ปัญหาก็คือพวกเขาไม่ได้ยินเสียงกลองให้จังหวะของนายจ้างเลยแม้แต่น้อย การขาดความใส่ใจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้เองทำให้นายจ้างไม่เกิดความรักใคร่เอ็นดูในตัวลูกจ้าง และไม่มีอารมณ์ที่จะร่างหนังสือรับรองการทำงานอันยอดเยี่ยมซึ่งลูกจ้างต้องการมากที่สุด
TAGGED ON