วันเลือกตั้งต้องขลังและศักดิ์สิทธิ์ - Forbes Thailand

วันเลือกตั้งต้องขลังและศักดิ์สิทธิ์

การเลือกตั้งกลางเทอมที่เพิ่งผ่านไปทำให้เกิดคำถามขึ้นมาหลายๆ ข้อเกี่ยวกับประเด็นที่ถือเป็นภัยคุกคามต่อความชอบธรรมของระบบเลือกตั้งอเมริกาทำไมรัฐอื่นๆ อย่าง California ถึงนับคะแนนได้ไม่เร็วเท่ากับรัฐ Florida? ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงไม่ลงคะแนนในวันเลือกตั้ง เหมือนกับในอดีต? ระบบใหม่ๆ อย่างการลงคะแนนตามลำดับความชอบ (ranked-choice voting) เป็นการทำลายกระบวนการประชาธิปไตยหรือเปล่า?


    ระบบเลือกตั้งของเราในหลายๆ รัฐกำลังมีปัญหา เพราะแม้จะผ่านวันเลือกตั้งไปแล้วหลายวัน แต่ก็ยังไม่ทราบผลการเลือกตั้งในหลายจุดที่มีความสำคัญ ซึ่งสาเหตุไม่ได้เป็นเพราะผลออกมาคู่คี่กันมาก แต่เป็นเพราะกระบวนการนับคะแนนดำเนินไปอย่างยืดยาด ซึ่งในด้านนี้รัฐ California ถือว่าอาการหนักที่สุด และรัฐอื่นๆ อย่าง Oregon ก็ถือว่าอืดอาดเช่นกัน

    แต่หากจะมองถึงรัฐที่กระบวนการเลือกตั้ง เป็นไปอย่างยุติธรรมและมีประสิทธิภาพสูงต้องยกให้ Florida เป็นรัฐตัวอย่าง ซึ่งเปรียบได้กับมาตรฐานทองคำในกระบวนการจัดการเลือกตั้งเลยทีเดียวเพราะถึงแม้ว่า Florida จะเป็นรัฐที่มีประชากรสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และเป็นหนึ่งในรัฐที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดควบคู่ไปกับรัฐ Texas แต่รัฐ Florida สามารถนับบัตรเลือกตั้งได้ครบหมดภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลงั ปิดหีบโดยไม่เกิดกรณีวุ่นวาย หรือมีการส่งเรื่องฟ้องศาลในกรณีใหญ่ๆ ตามมา

    รัฐ Florida ได้ทำการปฏิรูปกระบวนการเลือกตั้งขนานใหญ่หลังจากประสบปัญหาอย่างหนักในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2000 ซึ่งกระบวนการที่เยิ่นเย้อและบัตรเลือกตั้งที่ออกแบบมาไม่ดีทำให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างยืดเย้ยยาวนาน และทำให้เกิดกรณี “บัตรเสีย” อันฉาวโฉ่ ซึ่งหลังจากนั้นทางรัฐจึงได้ทำการปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

     อีกตัวอย่างที่น่าสนใจของรัฐ Florida คือ มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนตายตัวลงไปเลยว่าหน่วยเลือกตั้ง จะต้องได้รับบัตรเลือกตั้งที่ส่งทางไปรษณีย์ภายใน 19.00 น.ของวันเลือกตั้งจบ ไม่ต้องมีการโต้เถียงวุ่นวายถึงวันที่มีการประทับตราไปรษณีย์ นอกจากนี้ การนับคะแนนบัตรเลือกตั้งที่ส่งเข้ามาทางไปรษณีย์จะเริ่มนับตั้งแต่ 22 วันก่อนถึงวันเลือกตั้ง และจะประกาศผลการนับคะแนนภายใน 30 นาทีหลังปิดหีบเลือกตั้ง ในขณะเดียวกันบางรัฐกลับยังไม่ได้เริ่มนับคะแนนเลยด้วยซ้ำจนกระทั่งวันเลือกตั้ง

    นอกจากการนับคะแนนที่เชื่องช้าแบบไม่มีเหตุอันควรในรัฐ California และ Arizona แล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่เห็นได้ชัดตั้งแต่เกิดสถานการณ์โรคระบาดก็คือ กระบวนการลงคะแนนที่นับวันจะมีขั้นตอนยืดยาวขึ้นเรื่อยๆ (ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมาตรการ “ชั่วคราว” เพื่อคุมโรคระบาด)

    หากจะว่าไป ความหมายของคำว่า “วันเลือกตั้ง” มันชักจะไม่ค่อยตรงกับความหมายดั้งเดิมแล้ว เพราะบางรัฐเริ่มลงคะแนนตั้งแต่ 1 เดือนล่วงหน้า หรือนานกว่านั้นก่อนวันเลือกตั้งและตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมาเป็นการเฉพาะสำหรับบัตรเลือกตั้งที่สั่งเข้ามาทางไปรษณีย์จะยังคงไม่ปิดรับบัตรเลือกตั้ง อีกนานหลังวันเลือกตั้ง

    วัตถุประสงค์ของการมีวันเลือกตั้งก็คือ เพื่อให้ผู้ออกเสียงเลือกตั้งสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับผู้สมัครและประเด็นต่างๆ ภายในกรอบเวลาที่กำหนดและจุดหมายของการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งก็คือเพื่อนำเสนอแนวทางของตัวเองต่อผู้ออกเสียงเลือกตั้ง ดังนั้น การเลือกตั้งล่วงหน้าโดยเฉพาะที่เริ่มในเดือนกันยายนทำให้กระบวนการหาเสียงถูกบิดเบือนไป เพราะทำให้ผู้สมัครนอกสายตาหรือไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนักเสียเปรียบ ในการเลือกตั้งหลายๆ ครั้งที่ผ้านมาผู้สมัครรับเลือกตั้ง จะสามารถสร้างความเคลื่อนไหวขึ้นมาได้

    เมื่อเข้าใกล้วันเลือกตั้ง แต่ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลยที่ผู้สมัครที่ได้คะแนนมากที่สุดในวันเลือกตั้งยังคงแพ้การเลือกตั้งอยู่ดี อีกหนึ่งผลพวงที่เกิดขึ้นคือ การโต้วาทีของผู้สมัครกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว หรืออย่างมากที่สุดก็อาจจะมีจัดถกนโยบายกันแค่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดยในรัฐ Pennsylvania ซึ่งจัดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งวุฒิสภาได้โต้วาทีกันเพียงครั้งเดียวเท่านั้น และงานนี้จัดขึ้นหลังจากที่มีการออกเสียงเลือกตั้งไปแล้วนับแสนคะแนน ในขณะที่หลายๆ รัฐเปิดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าทางไปรษณีย์ได้ แต่ควรจำกัดระยะเวลาให้สั้นที่สุดเพียง 2-3 สัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้งเท่านั้น

    นอกจากนี้ รัฐต่างๆ ไม่ควรที่จะส่งบัตรเลือกตั้งไปให้ผู้มีสิทธิ์ทุกคนเหมือนกับที่ Nevada เพราะทำให้เกิดการทุจริตเลือกตั้งได้ง่าย ควรจะส่งบัตรเลือกตั้งให้ทางไปรษณีย์เมื่อมีการร้องขอมาเป็นการเฉพาะเท่านั้น
อีกหนึ่งกระแสที่มีการนำมาใช้ตามๆ กันคือ แนวคิดที่กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้รับชัยชนะเมื่อได้รับคะแนนมากกว่าคู่ต่อสู้หรือการลงคะแนนตามลำดับความชอบ ซึ่งรัฐ Nevada เพิ่งอนุมัติแนวทางนี้

    ในขณะที่รัฐ Alaska และ Maine นำไปใช้แล้ว เช่นเดียวกับเมืองใหญ่อีกหลายๆ เมือง ซึ่งภายใต้แนวคิดที่พิกลนี้ผู้ออกเสียงเลือกตั้งไม่ได้แค่เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องจัดลำดับผู้สมัครคนอื่นๆ

    ตามความชอบของผู้ลงคะแนนซึ่งหมายถึงต้องเลือกตัวเลือกที่ 2 ตัวเลือกที่ 3 ฯลฯ ด้วยในกรณีที่ไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับคะแนนเสียงเกิน 50% ของการพิจารณาตัวเลือกแรก ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงน้อยที่สุดจะถูกตัดออกไป และจะนำตัวเลือกที่ 2 ของผู้สมัครที่ถูกตัดออกมากระจายในกลุ่มผู้สมัครที่ยังเหลืออยู่ และกระบวนการจะดำเนินไป

บทความโดย
Steve Forbes
Editor-in-Chief แห่ง Forbes


คลิกอ่านฉบับเต็มและบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ในรูปแบบ e-magazine