พลิกโฉมการเกษตรไทย ด้วยการเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชอย่างยั่งยืน - Forbes Thailand

พลิกโฉมการเกษตรไทย ด้วยการเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชอย่างยั่งยืน

FORBES THAILAND / ADMIN
20 Feb 2024 | 09:00 AM
READ 4712

ในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตต่างๆ เช่น สภาวะขาดแคลนอาหาร สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะโลกร้อน และผลกระทบที่ยาวนานจากการระบาดของโรคโควิด-19 ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้นวัตกรรมการเกษตรที่ยั่งยืนได้กลายเป็นที่สนใจมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ


    จากข้อมูลของ Statista บริษัทสัญชาติเยอรมันที่เชี่ยวชาญด้านข้อมูลตลาดและผู้บริโภคกล่าวว่า มูลค่าในตลาดปลาและอาหารทะเลของไทยมีมูลค่าสูงกว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเป็นเงินไทยกว่า 2.8 หมื่นล้านบาท และมากไปกว่านั้นภายในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย การค้ากุ้งเครย์ฟิชกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วจากความต้องการที่สูงขึ้นของตลาด

    ความต้องการกุ้งเครย์ฟิชที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของกุ้งและอุปทานของกุ้งเครย์ฟิช โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยั่งยืนของวัฏจักรนี้ เนื่องจากการออกล่าที่มากเกินไปของชาวประมงและการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยสามารถสร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อจำนวนประชากรกุ้งเครย์ฟิชในธรรมชาติ

    ดังนั้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาการผลิตอาหารที่ยั่งยืน ปรับปรุงความเป็นอยู่ของเกษตรกร และสนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่นไปพร้อมกัน

    ในประเทศไทยนั้นภูมิทัศน์การเลี้ยงกุ้งน้ำจืดในปัจจุบันถือเป็นโอกาสทอง เนื่องจากวิถีปฏิบัติแบบดั้งเดิมนั้นอาศัยระบบการเพาะเลี้ยงเชิงเดี่ยวเป็นหลักและไม่ได้มุ่งเน้นไปที่หลักการที่ยั่งยืน จึงยังมีโอกาสอีกมากที่สามารถยกระดับเศรษฐกิจในท้องถิ่นและสร้างระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืนได้

    Singapore Crawfish บริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีเทคโนโลยีระดับสูงจากสิงคโปร์กำลังเตรียมเปิดตัวแนะนำเทคนิคที่ประสบความสำเร็จและยั่งยืนที่เรียกว่า “การเพาะเลี้ยงแบบผสมผสาน” ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตในปริมาณพื้นที่เท่าเดิม

    เทคนิคการเพาะเลี้ยงแบบผสมผสานนี้ทำให้สามารถเพาะเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิช ปลา และข้าวภายในระบบนิเวศเดียวกันและพร้อมกันได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกันจะช่วยลดความจำเป็นในการใช้ปุ๋ยเทียมและยาฆ่าแมลง สอดคล้องกับแผนความมั่นคงด้านอาหารและความยั่งยืนของ APEC อันเป็นหัวใจของเกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยการสร้างระบบเพาะเลี้ยงธรรมชาติที่เคารพและส่งเสริมระบบนิเวศในธรรมชาติเช่นกัน อีกทั้งยังต้องตอบสนองให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค

    อ้างอิงจากผลวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า เมื่อใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงแบบผสมผสานทำให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจดีขึ้นกว่า 25% เมื่อเทียบกับการเพาะเลี้ยงแบบเชิงเดี่ยว อีกทั้งยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบผ่านการควบคุมความร้อนและความชื้นในพื้นที่

    วิธีการปลูกพืชแบบผสมผสานได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จอย่างมากในประเทศต่างๆ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย จีน และสหรัฐอเมริกา แต่ฟาร์มเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังทดลองด้วยสิ่งมีชีวิต 2 สิ่งต่อ 1 ระบบนิเวศเท่านั้น

    ผลทางเศรษฐกิจจากการเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชอย่างยั่งยืนในระบบนิเวศที่มีทั้งกุ้งเครย์ฟิช ปลา และข้าวนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งถือเป็นเพียงผลลัพธ์ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะนอกเหนือจากการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรแล้ว แนวทางปฏิบัติเหล่านี้ยังสามารถช่วยปกป้องประชากรกุ้งเครย์ฟิชในระบบนิเวศธรรมชาติที่กำลังถูกคุกคามจากการทำประมงที่เกินพอดี และการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ทำให้มั่นใจได้ว่าสิ่งมีชีวิตนี้จะอยู่รอดได้และในขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งอาหารที่ยั่งยืนและมีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับผู้คนทั่วโลก

    ผลกระทบของการเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชนั้นสามารถส่งผลต่อเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคได้ บทความในสื่อของ Aquaculture North America สื่อที่เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมสัตว์น้ำในอเมริกาเหนือได้กล่าวถึงเหตุการณ์กุ้งเครย์ฟิชในนาข้าวในรัฐ Louisiana ว่า ได้สร้างการเติบโตครั้งใหญ่ของประวัติศาสตร์และมีส่วนร่วมในการเติบโตของรัฐอย่างยิ่ง

    ณ ปี 2555 ผลผลิตการเพาะเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชในนาข้าวนั้นอยู่ที่ 168.5 ล้านเหรียญ และในปี 2557 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 172 ล้านเหรียญจากการผลิตกุ้งเครย์ฟิช 108.5 ล้านปอนด์ในรัฐ Louisiana

    ณ อีกทวีปของโลก ปี 2561 Nikkei Asia รายงานว่า มูลค่าตลาดกุ้งเครย์ฟิชในจีนเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า โดยมีกำลังการผลิต 1.1 ล้านตันต่ออุตสาหกรรม มูลค่ากว่า 38.6 พันล้านเหรียญซึ่งช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก โดยแรกเริ่มชาวญี่ปุ่นนำเข้ามาเป็นสัตว์เลี้ยงและได้ปล่อยไปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

    ปัจจุบันกุ้งเครย์ฟิชถูกเลี้ยงในนาข้าวของจีนซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศและเพิ่มรายได้ถึง 5 เท่า เนื่องจากประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาหารทะเลจึงเป็นอาหารอีกประเภทที่ได้รับความนิยมสูงขึ้น

    ความต้องการกุ้งเครย์ฟิชทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภคในการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและอุดมด้วยโปรตีน ทำให้กุ้งเครย์ฟิชเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก

    ประเทศต่างๆ ตระหนักถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมนี้ การลงทุนในการเพาะเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชอย่างยั่งยืนจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลระหว่างการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ แนวโน้มดังกล่าวขยายไปไกลกว่าตลาดดั้งเดิมในสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งสะท้อนถึงกระแสความนิยมที่กำลังขยายไปทั่วโลกสำหรับกุ้งเครย์ฟิช

    ปัจจุบันทั้งเทศกาลอาหารนานาชาติและอาหารฟิวชั่นกำลังนำกุ้งเครย์ฟิชมาผสานกับวัฒนธรรมอาหารใหม่ๆ สรรค์สร้างรสชาติที่แตกต่าง อีกทั้งขยายไปยังกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น ด้วยเหตุนี้ความต้องการกุ้งเครย์ฟิชที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกจึงเป็นข้อพิสูจน์ถึงความน่าดึงดูดใจในการนำมาทำอาหาร และสะท้อนถึงการเปลี่ยนไปสู่การบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบและแนวทางที่ยั่งยืนมากขึ้น

    ผลวิจัยโดย Expert Market Research แสดงให้เห็นว่า อัตราการเติบโตต่อปีของตลาดกุ้งเครย์ฟิชอยู่ที่ 31.5% ในช่วงปี 2561-2566 เป็นตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจของแนวโน้มในตลาดโลก ซึ่งเป็นปัจจัยช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมในการเพาะเลี้ยง การแปรรูป และช่องทางการจัดจำหน่าย

    โดยหลักการแล้วภารกิจของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมจำเป็นต้องก้าวไปไกลกว่าการเป็นฟาร์มกุ้งธรรมดา กล่าวคือ จะต้องร่วมกันสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและปลอดภัยสำหรับระบบอาหารโลก เมื่อรวมแนวความคิดนี้เข้ากับการขยายการดำเนินการธุรกิจ ภาคการเกษตรของประเทศไทยและประเทศอื่นๆ จะสามารถพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิผลและคงความแข็งแกร่งไปพร้อมๆ กัน

    ทั้งนี้ Singapore Crawfish ถือกำเนิดจากการค้นพบโดยบังเอิญจากโครงการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับนักเรียน โดยหลังจากการวิจัย 9 เดือนได้ตัดสินใจว่าหนึ่งในปศุสัตว์ที่ทำกำไรได้มากที่สุดในการเลี้ยงและขายคือสัตว์จำพวกครัสเตเชียน (สัตว์จำพวกกุ้ง, กั้ง, ปู) ซึ่งก็คือ กุ้งเครย์ฟิช

    ทีมงาน Singapore Crawfish จึงเปิดตัวฟาร์มแห่งแรกในสิงคโปร์ในปี 2561 ที่ Sungei Tengah เพื่อเพาะเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชชุดแรก ปัจจุบัน Singapore Crawfish ได้คิดค้นเทคนิคและเทคโนโลยีการฟักไข่เป็นกรรมสิทธิ์ที่ยังไม่มีใครเทียบได้ในอุตสาหกรรม แม้แต่บริษัทและฟาร์มเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชชั้นนำจากประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาก็ยังมาขอคำปรึกษาจากเรา


​​เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ : สุขวสา ภูชัชวนิชกุล ปักธง ‘กาแฟพันธุ์ไทย’ 5,000 สาขา ในปี 2570

คลิกอ่านบทความฉบับเต็มและเรื่องราวธุรกิจอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนมกราคม 2567 ในรูปแบบ e-magazine