5 ข้อคิด "ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ" ให้ประสบความสำเร็จ - Forbes Thailand

5 ข้อคิด "ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ" ให้ประสบความสำเร็จ

FORBES THAILAND / ADMIN
05 Jan 2021 | 11:06 AM
READ 2172

"Every Day is a New Year’s Day" เมื่อถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ มักจะเป็นธรรมเนียมที่เราจะถือโอกาสทบทวนสิ่งที่ได้ทำไปในปีที่ผ่านมา และตั้งเป้าหมายสำหรับปีใหม่ ซึ่งก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดี ใน “Old Normal”

อย่างไรก็ตามหากมองว่าในวันนี้ เราได้เข้าสู่ยุค New Normal ที่มีดิสรัปชันหรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นในอัตราเร่ง บางทีเราอาจต้องลองถามตัวเองว่าการทบทวนและตั้งเป้าหมายปีละครั้งที่เป็น “Old Normal” ของเรานั้นเพียงพอหรือไม่ บางทีเราอาจไม่จำเป็นต้องรอเทศกาล เพื่อจะเริ่มตั้งเป้าหมายหรือเปลี่ยนแปลงตัวเองปีละครั้ง เพราะในเมื่อการเปลี่ยนแปลงภายนอกเกิดขึ้นถี่ขึ้น เร็วขึ้น รุนแรงขึ้น ตัวเราเองก็ควรจะมีการทบทวนและเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งขึ้นด้วยเช่นกันใช่ไหม? ในแง่ขององค์กรก็เช่นกัน ในวันนี้ทุกองค์กรตระหนักดีว่า องค์กรต้องเปลี่ยนแปลงในอัตราเร่งที่สูงขึ้น ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสภาพตลาด การแข่งขัน หรือความผันผวน ความไม่แน่นอนต่างๆ อย่างไรก็ตามหลายๆ องค์กรยังประสบปัญหาไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้รวดเร็วอย่างที่ต้องการ และหนึ่งในปัจจัยสำคัญคือ “คน” ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วทันกับดิสรัปชันที่เข้ามาจู่โจมในหลายมิติ จากประสบการณ์ของ PacRim ที่ได้ทำงานและเรียนรู้ร่วมกับองค์กรชั้นนำของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องถึง 28 ปี ดิฉันจึงอยากจะขอแบ่งปันข้อคิดสำคัญ 5 ข้อในการทำกระบวนการ ทรานส์ฟอร์มให้ประสบผลสำเร็จดังนี้   1.เริ่มต้นด้วยความชัดเจน (Clarity & Alignment) การเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงใดๆก็ตาม จะต้องมีความชัดเจนว่า “ทำไม” เราจึงต้องการเปลี่ยนแปลง “ทำไม” เราจึงต้องการทรานส์ฟอร์ม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหาก “ทำไม” เราไม่แข็งแรงพอ การทุ่มเท หรือ คอมมิทเมนท์ ของเราอาจจะหายไปได้เมื่อเจอกับอุปสรรคหนักๆ ที่น่าสนใจคือหลายครั้งเราจะพบว่า “ทำไม” ของเรามักจะมาจากเจตนาดีๆ ของเราที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าเพื่อตัวเราเอง เช่น การที่เราต้องการเป็นแม่ที่ดีขึ้น ก็เพราะเราอยากจะทำเพื่อลูกของเรา การที่เราต้องการจะเก่งขึ้น ก็เพราะเราคิดถึงลูกน้องของเรา หรือการที่องค์กรต้องการจะอยู่รอด ก็เพราะองค์กรคิดถึงพนักงาน การมี “ทำไม” หรือ “เป้าประสงค์” (Purpose) ที่แข็งแรงจะเป็นพลังพิเศษที่จะช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงให้ประสบผลสำเร็จ ถ้าตอนนี้องค์กรไหนยังหาไม่เจอ ดิฉันอยากแนะนำให้ไปคิดให้ทะลุปรุโปร่งและหาเหตุผลที่แท้จริงให้เจอก่อน หลังจากที่ได้ “ทำไม” มาแล้ว สเต็ปต่อไปคือการทำ Alignment ให้ทีมผู้นำในองค์กรมองเห็นภาพไปในทิศทางเดียวกัน และทำการสื่อสารออกไปให้เกิดความชัดเจน   2.ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงแบบองค์รวม (Holistic Solutions) หลายๆ องค์กรมักจะมีการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในแบบแยกส่วน หรือทำเป็นชิ้นๆ ที่ไม่สามารถนำมาปะติดประต่อหรือเชื่อมโยงเป็นภาพเดียวกันที่สวยงามได้ ทว่าการเปลี่ยนแปลงเพียงจุดเดียวนั้น อาทิ การทำ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน เฉพาะในส่วนของกระบวนการทำงาน หรือระบบเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนมายด์เซตของพนักงาน และวัฒนธรรมองค์กร มักจะไม่ประสบผลสำเร็จ การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในแบบ Holistic Solutions คือทำการทรานฟอร์มทั้งในมิติของธุรกิจ กระบวนการดิจิทัล วัฒนธรรมองค์กร ทีมผู้บริหาร และพนักงาน จะช่วยสร้างอิมแพคและ synergy ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมีประสิทธิผลที่ดีขึ้น    3.ทรานส์ฟอร์มเป็น กระบวนการไม่ใช่ “Event” การทำทรานส์ฟอร์เมชันเป็นกระบวนการ ไม่ใช่ “Event” หรือการจุดพลุเพียงครั้งเดียวจบ ต้องมีการตั้งใจออกแบบ ต้องมีคอมมิทเมนท์ และการ reinforce อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องนี้ PacRim เราจะให้คำแนะนำลูกค้าของเราเสมอว่าหากต้องการทรานส์ฟอร์มจะต้องมองเห็นภาพใหญ่ และมีประสบการณ์และทักษะในการออกแบบ Journey ซึ่งต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ (Art & Science) ในการขับเคลื่อนให้เกิดผลสำเร็จ   4.การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน เริ่มต้นด้วยก้าวเล็กๆ (Start with Small Steps) หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการทำทรานส์ฟอร์เมชัน คือการพยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน ซึ่งไม่มียาวิเศษใดที่จะเสกให้เกิดขึ้นได้ในพริบตา เพราะคนคือสิ่งมีชีวิต ที่มีความเชื่อ อุปนิสัยและพฤติกรรมเก่าๆที่ฝังรากไว้อยู่ ดังนั้นจะต้องมีความอดทนและเริ่มต้นไปทีละก้าว เหมือนกับการดูแลสุขภาพออกกำลังกายหรือการสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งจะต้องมีการกระทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งจึงจะเกิดผล   5.การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นด้วยตัวฉัน (Start with ME) ทุกการเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มด้วยตัวเราเองก่อน เพราะเรามีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงตัวเราเต็ม 100% ซึ่งในส่วนขององค์กรนั้นหมายความว่า ผู้นำขององค์กรจะต้องเป็นแบบอย่าง (Role Model) ของการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นในการทำทรานส์ฟอร์มทุกครั้ง PacRim จะแนะนำลูกค้าของเราให้เริ่มการทรานส์ฟอร์มที่ตัวผู้นำและทีมผู้นำองค์กรก่อนเสมอ สุดท้ายนี้ดิฉันอยากฝากข้อคิดถึงผู้อ่านบทความนี้ใน Forbes Thailand ทุกท่านว่า ในยุค New Normal นั้น “Every Day Is A New Year’s Day” เราสามารถเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆได้ทุกวัน จริงอยู่ที่เทคโนโลยีสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบ 10X ในชั่วข้ามคืนได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนแล้ว ด้วยก้าวเล็ก ๆทุกวันอย่างต่อเนื่องเท่านั้น เราจึงจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ติดตามอ่านเนื้อหาดีๆ จาก PacRim พาร์ทเนอร์ที่คุณไว้วางใจได้ ในการช่วยเร่งสปีดการ Transform และเพิ่มผลลัพธ์ให้กับธุรกิจ (Trusted Partner in Accelerating Transformation & Performance Improvement) ในทุกวันจันทร์แรกของเดือนทาง forbesthailand.com พรทิพย์ อัยยิมาพันธ์ ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร PacRim Group porntip_i@pacrimgroup.com

ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine