บทบาทและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ และการอยู่รอดของธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ในบริบทของโลกปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจในยุคดิจิทัล อีโคโนมี (Digital Economy) เกิดนวัตกรรมเทคโนโลยีมากมาย ทำให้ไม่สามารถทำการค้าขายและบริการแบบวิถีเดิมๆ ได้อีกต่อไป
อินเทอร์เน็ตมีการเชื่อมโยงถึงกันและกันได้ทั่วโลก ทั้งอุปกรณ์ คน ภาพและข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง (cloud computing), การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data analytics), ปัญญาประดิษฐ์ (artifitial intelligence-AI), การเรียนรู้เองของสมองกลคอมพิวเตอร์ (machine learning-ML), อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงก์ส (internet of things-IOT), หุ่นยนต์ (robot), บล็อกเชน (blockchain), ฟินเทค (fintech) และอื่นๆ ซึ่งล้วนจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจและชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
Digital Disruption & Transformation
กระแสของ Technology Disruption & Digital Transformation ของโลกภายใต้ความท้าทาย ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต่างต้องตื่นตัวให้ความสำคัญและเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเปรียบเสมือนการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ผ่านมาในยุค 3.0 แต่กระแสในครั้งนี้รุนแรงและมีผลกระทบมากกว่ามาก
การเปลี่ยนแปลงไปสู่ การทำธุรกรรมบนฐานดิจิทัล (e-Government Services & e-Business Services) มีความสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของเอกชนต่างต้องทุ่มเท เรียนรู้ เข้าใจ เข้าถึงการพัฒนาอย่างเร่งด่วน
e-Government Services (ภาครัฐ) และ e-Business Services (ภาคเอกชน) จะต้องรีบพัฒนา เพื่อให้เกิดแพลตฟอร์ม (platform) ต่างๆ เพื่อรองรับการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลายซึ่งจะสามารถเปลี่ยนผ่านจากระบบ manual-analog เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ digitize แทน
ตัวอย่างของบางประเทศที่สามารถสร้าง Platform e-Government Services เพื่อให้บริการแก่ประชาชน แก่ภาคธุรกิจเอกชนของประเทศนั้นๆ สามารถทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (online) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องเดินทางไปติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐด้วยตนเอง ทำให้ลดต้นทุนและลดค่าใช้จ่ายได้มาก และอีกตัวอย่างของธุรกิจอุตสาหกรรมภาคเอกชนของบางประเทศก็มี e-commerce platform ทำให้สามารถค้าขายได้ทั่วโลก สร้างความได้เปรียบอย่างมหาศาล
เตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง
ในอดีตเราจะเห็นการทำธุรกิจของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลกที่ก้าวขึ้นมาอยู่ในแนวหน้าเป็น 1 ใน 100 บริษัทของโลกมักอยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมัน อสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร การค้าปลีก
แต่ในปัจจุบันเบอร์ 1-5 กลับเป็นบริษัทที่พัฒนาธุรกิจบนฐานดิจิทัลทั้งสิ้น รายได้ของบริษัทเหล่านั้น มียอดรวมมากกว่าจีดีพีของหลายๆ ประเทศด้วยซ้ำ แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญของโลก และ Digital Disruption ได้ทำให้หลายๆ ธุรกิจแทบจะเลิกกิจการ แม้แต่โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ ธนาคาร ห้างสรรพสินค้าของหลายๆ แห่งต้องปิดสาขา และอื่นๆ
การปรับเปลี่ยนไม่ทันการจะทำให้ประเทศนั้นๆ ถูกครอบงำด้านเศรษฐกิจโดยไม่รู้ตัวจากประเทศที่มีเทคโนโลยีที่เหนือกว่า ดีกว่า เร็วกว่า แต่การที่จะเปลี่ยนแปลง Digital Transformation ต้องพัฒนาทั้งประเทศ ภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนต้องร่วมมือกัน เพื่อไม่ให้ประเทศต้องเป็นผู้ตามและบริโภคซื้อแต่นวัตกรรม เทคโนโลยีของคนอื่นมาใช้งานตลอดเวลา หากไม่รีบพัฒนาให้มีของตนเองก็จะตกเป็นเบี้ยล่างตลอดไป
ปรับ Mindset ก้าวพ้นกับดัก
สิ่งสำคัญที่สุดคือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและภาคธุรกิจเอกชนจะพัฒนากันอย่างไรบนพื้นฐานความเข้าใจบริบทของโลก Digital Transformation และมองโอกาสในครั้งนี้ที่รัฐบาลทุ่มเทงบประมาณมหาศาลในการลงทุนเพื่ออนาคตของประเทศ การสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี แพลตฟอร์ม Innovative Technology Platform e-Government Services & e-Business Services ของการให้บริการธุรกรรมออนไลน์จำนวนมากนั้น
ยกตัวอย่างเช่น การปรับตัวใช้ประสิทธิภาพและประโยชน์ของการทำธุรกรรมทางออนไลน์ของ การบินไทย ซึ่งร่วมกับ เน็ตเบย์ ให้บริการ TG-e-Import Service Payment Gateway โดยเป็นระบบที่ออกแบบนวัตกรรมควบคู่ระหว่างเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์และการชำระเงิน (online payment) สามารถทำงานพร้อมกันในคราวเดียวกันผ่านระบบ Gateway Netbay ที่มีการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศโดยตรงระหว่างการบินไทยและธนาคาร
ดังนั้น ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน จะต้องปรับเปลี่ยนแนวความคิด (mindset) เป็นอันดับแรกให้ได้ ขั้นตอนในการพัฒนาจะต้องมีความชัดเจนด้วยเป้าหมายและวัตถุประสงค์
ทั้งนี้ ในอดีตที่ผ่านมาแทบทุกภาคส่วนมักมีการคำนึงแต่ระบบ IT solution เป็นอันดับแรกตามงบประมาณที่ได้รับ หากต้องการเปลี่ยนผ่านและก้าวทันโลกที่จะมา Digital Disruption นั้นต้องเน้นเรื่อง mindset และการ implement เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุด ประเทศจึงหนีพ้นกับดักของการเป็น analog ที่มีวิถีการทำงานแบบเดิมๆ (manual) ปรับเปลี่ยนเป็น Digital Transformation
คลิกอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Forbes Thailand Magazine ฉบับ พฤษภาคม 2561 ในรูปแบบ e-Magazine