จากวันแรกที่ประชาคมอาเซียนเริ่มก่อร่างสร้างตัวในปี 1967 ท่ามกลางความขัดแย้งทางอุดมการณ์การเมืองในบริบทของสงครามเย็น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้อาเซียนสามารถเดินหน้าสร้างประชาคมได้อย่างแข็งแกร่งตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา
โอกาสที่จะเสริมสร้างความร่วมมือของประชาคมอาเซียนให้แข็งแกร่งมีเสถียรภาพยิ่งขึ้นคือค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ เวลานี้ หลายฝ่ายเริ่มมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการบูรณาการอาเซียน ที่เน้นหลักการไม่แทรกแซงและลงมติเป็นเอกฉันท์ตั้งแต่ก่อตั้ง
เห็นได้ชัดว่าประชาคมอาเซียนมีพัฒนาการก้าวกระโดดซึ่งแปลงสภาพจากความเคลือบแคลงของหลายๆ สู่การเป็นประชาคมตัวอย่าง เมื่อถนนทุกสายมุ่งสู่ภูมิภาคนี้ ประชาคมอาเซียนจึงจำเป็นเหลือเกินที่ต้องมุ่งมั่นพร้อมๆ ไปกับเร่งดำเนินการเพื่อบรรลุเจตนารมณ์เดิม
ยิ่งรวม ยิ่งรอด
อาเซียนเป็นภูมิภาคแห่งความแตกต่างหลากหลาย ทั้งภาษาวัฒนธรรม ระบอบการเมืองการปกครอง แต่เมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้ว อาเซียนคือตลาดที่มีศักยภาพล้นเหลือ
ไร้รอยต่อ
ตลาดใหญ่พร้อมกำลังซื้อจากคลื่นรุ่นใหม่
ด้วยจำนวนประชากรอาเซียนราว 640 ล้านคน ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากจีนและอินเดีย เยาวชนที่มีกำลังขับเคลื่อนและกล้าได้กล้าเสียจะสนับสนุนฐานแรงงานและฐานผู้บริโภคในอาเซียนในช่วงหลายปีข้างหน้า
ผ่านร้อนผ่านหนาว พาแข็งแกร่ง
เศรษฐกิจอาเซียนเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลกและคาดว่าจะขึ้นเป็นอันดับ 4 ในปี พ.ศ.2573 รองจากสหรัฐฯ จีนและอินเดีย การค้าระหว่างภูมิภาคเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และการค้าของอาเซียนช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าการรวมกลุ่มภายในอาเซียนยังคงแข็งแกร่ง โดยผ่านวิกฤตเศรษฐกิจ 2 ครั้ง ภูมิภาคนี้มีความแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ
อยู่กับดิจิทัลอย่างเท่าทัน
เทคโนโลยีในโลกยุคดิจิทัลเปลี่ยนคำจำกัดความของโลกไร้พรมแดน ในขณะที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นตัวกระตุ้นที่มีประสิทธิภาพในการกำหนดความได้เปรียบทางการแข่งขัน
เราต้องไม่ลืมที่จะใส่ใจ การเตรียมพร้อมและการพัฒนาบุคลากรให้เท่าทันอนาคตเช่นกัน อาทิ การใช้นโยบายและการริเริ่มที่ภาครัฐและเอกชนเป็นผู้นำในด้านต่างๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา การยกระดับทักษะอาชีพ
จากเจตนามุ่งสู่การปฏิบัติ จงตีเหล็กเมื่อยังร้อน น่าจะเป็นสุภาษิตที่เหมาะกับภาวะในตอนนี้ของอาเซียน เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประชาคมต้นแบบ ซึ่งทุกภาคส่วนควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอาเซียนให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนร่วมกัน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดที่มีศักยภาพในการลงทุนใหม่ๆ เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวของชุมชนเมืองอย่างรวดเร็ว มีโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานเกิดขึ้นมากมาย ประชากรมีรายได้มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงทำให้ภูมิภาคนี้สามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากบริษัทต่างๆ จากทั่วโลก
ทั้งนี้ จากตัวเลขประมาณการของธนาคารยูโอบี มูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียนจะเพิ่มขึ้นจาก 2.5 ล้านล้านเหรียญ เป็น 8.1 ล้านล้านเหรียญในปี พ.ศ.2573 ซึ่งจะทำให้อาเซียนกลายเป็นภูมิภาคที่มีความยิ่งใหญ่เชิงเศรษฐกิจอันดับ 4 ของโลก
มุ่งสู่อนาคตร่วมกัน