หลังโควิดเข้ายุคเฟื่องฟู Telehealth - Forbes Thailand

หลังโควิดเข้ายุคเฟื่องฟู Telehealth

FORBES THAILAND / ADMIN
23 Aug 2021 | 09:37 AM
READ 2356

การระบาดของโควิด-19 ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่กับวงการสาธารณสุขและการแพทย์ การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ การใช้ระบบดิจิทัลรองรับการให้บริการดูแลสุขภาพทางไกล หรือ Telehealth และการทำงานจากระยะไกล การเปลี่ยนแปลงนี้นำมาซึ่ง การให้บริการด้านสุขภาพผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ผลสำรวจ ECI 2020 ของนูทานิคซ์ระบุว่า โรงพยาบาลและองค์กรที่ให้บริการด้านสุขภาพหลายแห่งทั่วโลกมีแผนใช้ไฮบริดคลาวด์ภายใน 5 ปีต่อจากนี้ ความยืดหยุ่นของแพลตฟอร์มไฮบริดคลาวด์ทำให้ผู้ใช้มั่นใจต่อการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบดิจิทัลมากขึ้นกับบริการในรูปแบบ Telehealth เช่น การนัดหมายผ่านระบบเทเลเฮลธ์การส่งข้อความแจ้งเตือน ซึ่งเป็นรูปแบบที่เริ่มจากระบบคลาวด์ส่งไปยังคลินิกหรือโรงพยาบาล และต่อไปยังบ้านของผู้ป่วยทั้งยังช่วยงานหลังบ้าน เช่น การชำระเงิน และช่วยให้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก เช่น ภาครัฐ นักวิชาการ ได้อย่างราบรื่น การระบาดของโควิด-19 แสดงให้เราเห็นแล้วว่าเทเลเฮลธ์และการทำงานด้านสาธารณสุขและการแพทย์จากระยะไกลจะยังดำรงอยู่ ทั้งงานที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย การพบแพทย์แบบเวอร์ชวล และทางเลือกด้านเทเลเฮลธ์ต่างๆ จะกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยมีการพัฒนาด้านเทเลเฮลธ์อย่างจริงจัง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ร่วมมือกับหน่วยงานด้านสาธารณสุข และหลังโควิดเข้ายุคเฟื่องฟู Telehealthเครือข่าย HealthTech Startup ทั้งภาครัฐและเอกชน พัฒนา 5 นวัตกรรมเทเลเฮลธ์เพื่อเปิดให้คนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้ามาใช้งานได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยแอปพลิเคชันหลากหลายจัดกลุ่มเป็น 5 ระบบคือ ระบบแนะนำด้านการแพทย์เบื้องต้น ระบบคัดกรองผู้ป่วย ระบบบริการปรึกษาแพทย์ทางไกล ระบบการดูแลผู้ป่วย และระบบบริหารจัดการและกระจายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ซึ่งเป็นโรงพยาบาลรัฐที่เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ให้กับประชากรใน 14 จังหวัดภาคใต้ของไทย มีแผนที่จะพัฒนาระบบเทเลเมดิซีนเป็นของตัวเองในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถคุยกับบุคลากรทางการแพทย์แม้ว่ากฎข้อบังคับด้านสาธารณสุขและการแพทย์จะมีข้อห้ามในการใช้โซเชียลแพลตฟอร์มเพื่อติดต่อส่วนบุคคลไว้อย่างชัดเจน แต่ใช้เพื่อการให้คำแนะนำแก่สาธารณชนและการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั่วไปได้ ในอนาคตอันใกล้นี้แพลตฟอร์มเหล่านี้อาจใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลด้านสุขภาพของประชากร และใช้ในโครงการที่ต้องใช้บิ๊กดาต้าอื่นๆ ผู้รับบริการจะใช้ระบบต่างๆได้ดีเพียงใดเป็นความรับผิดชอบของผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขและการแพทย์ปัจจับสำคัญอย่างหนึ่งในการนำเวอร์ชวลเฮลธ์แคร์และเทเลเฮลธ์มาใช้ได้อย่างต่อเนื่องคือ อุปกรณ์ของผู้ใช้มีขีดความสามารถมากขึ้นแม้จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้อุปกรณ์มีความแข็งแรงทนทานรองรับการใช้งานอย่างหนักได้ แต่อุปกรณ์ก็จะยังคงมีขีดความสามารถ่ำ จนกว่าจะมีการติดตั้งบริการคลาวด์ที่แข็งแกร่งไว้ในอุปกรณ์นั้น ซึ่งอาจใช้ควบคู่กับระบบความปลอดภัยไบโอเมตริกซท์ใช้กันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ควรมีมาตรฐานการเตรียมระบบที่เหมาะสมและเน็ตเวิร์กควรมีแบนด์วิดท์เพียงพอที่จะจัดสรรการเข้าใช้งานระบบต่างๆ ในลักษณะเชื่อมต่อการทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นการเลือกใช้อุปกรณ์การสื่อสารให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่เป็นเรื่องสำคัญโรงพยาบาลสงขลานครินทร์เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและทีมบุคลากรทางการแพทย์อย่างมีระบบและเหมาะสม เช่น ทีมงานไอทีของโรงพยาบาลได้จัดทำเว็บเซอร์วิส และส่งลิงก์ผ่าน SMS ตามฐานข้อมูลที่มีอยู่บนระบบ HIS ของโรงพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยเลือกและยืนยันว่าจะรับยาผ่านการขนส่งไปรษณีย์หรือโลจิสติกส์อื่น หรือยังเลือกที่จะเดินทางมารับยาที่โรงพยาบาล เป็นต้นฃ ทั้งนี้การเลือกใช้ SMS เพราะเล็งเห็นว่าผู้รับบริการยังมีความหลากหลายทั้งเรื่องของอุปกรณ์และช่องทางสื่อสาร แต่ SMS เป็นบริการพื้นฐานที่โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องมีอยู่ประสิทธิภาพของระบบไอทีต่อสุขภาพแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีและขีดความสามารถของอุปกรณ์จะช่วยใช้ระบบไอทีทั้งขององค์กรด้านสาธารณสุขและการแพทย์และผู้รับบริการเชื่อมโยงถึงกันอย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าในอดีต แม้เราจะเคยตระหนักว่าการวินิจฉัยโรคจากระยะไกลและการสื่อสารแบบเรียลไทม์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีความสำคัญ แต่ ณ วันนี้มันมาถึงจุดวิกฤตที่ไม่มีไม่ได้แล้วดังนั้น การเข้าสู่ระบบได้อย่างรวดเร็วโดยระบบไม่หยุดทำงานกะทันหัน และบริการให้ความช่วยเหลือที่ให้บริการตลอดเวลา จะช่วยให้ดูแลผู้ป่วยได้เต็มประสิทธิภาพ แต่ระบบไอทีด้านสาธารณสุขและการแพทย์รุ่นใหม่นี้ก็สร้างความท้าทายในมุมมองของผู้ป่วยเช่นกัน เช่น การเข้าถึงและการมีส่วนร่วม รวมถึงเน็ตเวิร์กและแพลตฟอร์มซึ่งเป็นระบบหลังบ้าน สิ่งสำคัญคือ อุปกรณ์ต้องรองรับการแสดงผลและเลเยอร์การสตรีมของระบบเน็ตเวิร์คได้อย่างปลอดภัยนั่นคือผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงระบบด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสมจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในเวลาที่ต้องการและในรูปแบบที่เหมาะกับการใช้งาน นอกจากนี้เซิรฟ์เวอร์ที่รองรับระบบน็ตเวิร์กหลังบ้านต้องมีข้อมูลเชิงลึกที่จับต้องได้เพียงพอ และมีชั้นการควบคุมพอที่จะให้วิศวกรด้านเน็ตเวิร์กให้บริการกับเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขและการแพทย์และผู้ป่วยให้เข้าถึงระบบได้อย่างปลอดภัยในช่วงที่มีความต้องการใช้งานสูง

สาธารณสุข-บริการทางการแพทย์

นักวิเคราะห์เห็นพ้องกันว่า ปี 2564 จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกปีหนึ่งและเราจะไม่มีวันหวนคืนไปสู่โลกยุคก่อนโควิด-19 ได้อีกต่อไป โซลูชันเทเลเฮลธ์ต่างๆ ต้องทำางานร่วมกับงานด้านการดูแลผู้ป่วยทั้งหมด และสนับสนุนงานด้านการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพโซลูชันของนูทานิคซ์เป็นส่วนสำาคัญในการพัฒนาสถาปัตยกรรมไอทีของหน่วยงานด้านสาธารณสุขและการแพทย์หลายแห่ง และเราเชื่อว่าโครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ (Hyperconverged Infrastructure: HCI) จะช่วยให้องค์กรด้านสาธารณสุขและการแพทย์สามารถปรับขนาดการใช้งานตามที่จำเป็นต้องใช้เพื่อรองรับแอปพลิเคชันและโซลูชั่นที่ทั้งเกี่ยวและไม่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยได้อย่างยืดหยุ่น ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์
คลิกอ่านฉบับเต็ม และบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนกรกฎาคม 2564 ในรูปแบบ e-magazine