แรงงานข้ามชาติมองหาโอกาสการทำงานและมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้นทั่วโลกไม่เว้นแม้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแรงงานจากประเทศกัมพูชาและเมียนมาจำนวนมาก มุ่งมาที่ประเทศไทยเพื่อโอกาสในการหาเลี้ยงชีพที่ไม่มีในประเทศของตน ในขณะที่ประเทศไทยก็ได้ประโยชน์จากการต้อนรับแรงงานข้ามชาติเช่นกัน แต่การแสวงหาโอกาสการทำงานมักนำไปสู่ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับแรงงานเหล่านั้น จากข้อมูลขององค์กรต่างๆ เช่น องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หรือ International Labour Organization (ILO) ระบุว่า แรงงานข้ามชาติทั่วโลกมีความเปราะบางอย่างยิ่งต่อการถูกบังคับใช้แรงงาน
แรงงานข้ามชาติของไทยไม่เพียงแต่มีความเสี่ยงต่อการถูกเลือกปฏิบัติเท่านั้นแต่ยังอาจถูกบังคับให้ชำระค่านายหน้าในการจัดหางานในต่างแดนในอัตราที่สูงอีกด้วย ซึ่งหมายความว่าแรงงานข้ามชาติที่มองหาการจ้างงานที่ถูกกฎหมายอาจต้องเป็นหนี้ก้อนมหาศาลก่อนที่จะได้เริ่มงานซึ่งหนี้สินก้อนดังกล่าวอาจใช้เวลาหลายปีกว่าจะชำระคืนได้หมด
ภัยทั้งหลายยังไม่ได้จบลงแค่ตรงนี้ในการมองหางาน บางครั้งแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยไม่ได้มีทางเลือกมากพวกเขาจึงต้องทำงานกับนายจ้างที่ไม่ได้ดูแลเรื่องความปลอดภัยและการจ้างแรงงานที่ถูกกฎหมาย ประเด็นนี้เป็นประเด็นร้อนแรงในปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากกรณีที่รัฐบาลระงับการใช้มาตรการเข้มงวดในการลงโทษผู้ละเมิดกฎหมายแรงงานข้ามชาติฉบับใหม่ของไทย เนื่องจากเกรงว่าแรงงานจำนวนมากจะอพยพกลับประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงโทษปรับจากการทำงานอย่างผิดกฎหมายในประเทศในการเดินทางกลับถิ่นฐาน
แรงงานข้ามชาติอาจต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในอัตราสูงเพื่ออำนวยความสะดวกในการข้ามประเทศกลับมา และหลังจากที่พวกเขากลับมา เจ้าหน้าที่ที่ทุจริตยังเอาเปรียบพวกเขาด้วยการเรียกเก็บสินบน ทั้งนี้เป็นเพราะไม่มีงานในประเทศของพวกเขา ค่าธรรมเนียมในการทำเอกสารยืนยันตัวตนและการออกเอกสารอนุญาตทำงานที่ถูกกฎหมายซึ่งเรียกเก็บในอัตราที่ไร้การควบคุมยังคงมีอยู่ ในที่สุดพวกเขาจึงมีความเสี่ยงที่จะกลับไปเข้าวงจรการใช้บริการนายหน้าหางานซึ่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการหางานในต่างประเทศ
ปัจจุบันบริษัทไทยบางแห่งมีกลุ่มแรงงานหลักประกอบไปด้วยแรงงานชาวไทย เมียนมา และกัมพูชา ผ่านบริษัทนายหน้าที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องในประเทศเมียนมาและกัมพูชา
บริษัทให้ความสำคัญกับการลดช่องว่างในการเอาเปรียบแรงงานและการขู่กรรโชกจากนายหน้าในการหางานให้กับแรงงานเหล่านี้ แรงงานที่มีเอกสารยืนยันตัวตนและใบอนุญาตการทำงานเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานที่ไทยยูเนี่ยน และระบบของเรามีการรองรับการดำเนินการในเรื่องนี้สภาพหนี้สินอันเนื่องจากการหางานหรือแรงงานขัดหนี้ไม่ควรเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน ในปี 2559 ดังเช่นบริษัทแห่งหนึ่งที่ได้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการจัดหาแรงงานทั้งหมดในโรงงานผลิตและแปรรูปของบริษัทโดยมีผลบังคับใช้กับการจ้างงานทั้งหมดในอนาคตทั้งภายในประเทศไทยและต่างประเทศ
นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2558 บริษัทดังกล่าวได้ดำเนินการใช้จรรยาบรรณธุรกิจและแนวปฏิบัติด้านแรงงานฉบับปรับปรุงซึ่งครอบคลุมเรื่องการจ้างงานและการปฏิบัติต่อแรงงาน การกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานเรื่องสวัสดิการพนักงาน สิทธิประโยชน์ ค่าแรง อายุ เสรีภาพในการสมาคม สิทธิในการเจรจาต่อรอง และมาตรการสุขภาพและความปลอดภัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิทธิได้
จรรยาบรรณฯ ดังกล่าว ซัพพลายเออร์ทั้งหมดต้องลงนามรับทราบและปฏิบัติตาม เป็นการตั้งมาตรฐานการดำเนินงานที่ไทยยูเนี่ยนคาดหวังให้เกิดขึ้นทั้งระบบห่วงโซ่อุปทานการยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมการจัดหางานเป็นการดำเนินการตามการพัฒนาต่อเนื่องของนโยบายการจัดหาแรงงานข้ามชาติอย่างมีจริยธรรม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ หรือ Migrant Workers Rights Network (MWRN) ซึ่งเข้าไปดำเนินการตรวจสอบสภาพแรงงานในโรงงานทุกแห่งในเครือของบริษัทดังกล่าวระหว่างปี 2559
นอกจากนี้ยังได้ทำงานกับสถาบันอิสราและให้ข้อมูลเพื่อเป็นกรณีศึกษาในเรื่องระบบการจัดหาแรงงานโดยปราศจากการปฏิบัติเยี่ยงทาสเป็นเรื่องสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมและผู้มีส่วนได้เสียในการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดตลอดทั้งกระบวนการจัดหางานและย้ำกับบริษัทนายหน้าว่าการดำเนินการอย่างมีจริยธรรมที่ตรวจสอบได้เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามและมีความจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
การให้คำมั่นในการทุ่มเททรัพยากรและเวลาในการเผชิญกับประเด็นดังกล่าวและสร้างความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับบริษัทจัดหาแรงงาน และองค์กรไม่แสวงหากำไรในประเทศเมียนมาและกัมพูชา บริษัทดังกล่าวยังสามารถวางกระบวนการจัดหาแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติเป็นที่ปรึกษาและควบคุมดูแล ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากในการจัดหาแรงงานได้
ความริเริ่มเหล่านี้เป็นผลจากการมีพันธกิจร่วมกันในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้กับพนักงานทั้งหมดของบริษัทแห่งนั้น แล้วยังเป็นผู้นำในการดำเนินนโยบายและปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดในอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทยเพื่อแสดงให้ทุกคนเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แต่สิ่งสำคัญคือ การมีพันธมิตรที่สามารถช่วยสะท้อนให้บริษัทเห็นภาพสถานประกอบการในมุมของพนักงานและสร้างความเข้าใจในเรื่องแนวทางปฏิบัติด้านจริยธรรมที่ดีที่สุดในอนาคต
หนึ่งในแนวทางสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคตอย่างแท้จริงคือการที่พนักงานทั้งหมดทั้งไทยและทั่วโลกสามารถเข้าถึงความปลอดภัยและมีเสรีภาพในการเลือก หนทางนี้ไม่ง่าย เราจำเป็นต้องช่วยผลักดันธุรกิจรูปแบบใหม่ให้กับบริษัทจัดหาแรงงานในต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม งานสำคัญคือ ทั้งอุตสาหกรรมอาหารทะเล และอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งภาครัฐ องค์กรไม่แสวงหากำไร และผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด ร่วมมือกันในการขจัดการกดขี่แรงงานเพื่อนำไปสู่การจ้างงานอย่างถูกกฎหมาย ตราบใดที่ตัวแทนนายหน้าที่ไร้จริยธรรมยังคงหาพันธมิตรในการดำเนินธุรกิจอย่างไร้ศีลธรรม แรงงานจะยังคงถูกกดขี่และถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อไป ทั้งๆ ที่พวกเขาต้องการจะแสวงหาการจ้างงานที่ถูกกฎหมายและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
Darian McBain
ผู้อำนวยกำรกลุ่มกำรพัฒนาที่ยั่งยืน
บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
อ่านบทความทางด้านธุรกิจและการลงทุนได้ที่ Forbes Thailand Magazine ฉบับ กันยายน 2560 ในรูปแบบ e-Magazine