แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับซีไอโอ เพื่อมุ่งหน้าสู่ความเป็น "อัจฉริยะ" - Forbes Thailand

แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับซีไอโอ เพื่อมุ่งหน้าสู่ความเป็น "อัจฉริยะ"

FORBES THAILAND / ADMIN
04 Jan 2020 | 10:30 AM
READ 5552

เมืองต่างๆ ทั่วโลกกำลังอยู่ระหว่างการนำระบบนิเวศของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระหว่างกัน รวมถึงเซนเซอร์ ดาต้า และระบบต่างๆ เข้ามาใช้งานด้วยระดับความเร็วที่เพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลจาก Statista ที่ว่าเมืองใหญ่หลายแห่งใช้เงินเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าไปกับเทคโนโลยีเหล่านี้ภายในช่วงระยะเวลาเพียง 5 ปี

โดยระบบต่างๆ เหล่านี้กำลังเข้ามาช่วยปรับปรุงในด้านความปลอดภัยสาธารณะ (public safety) และให้บริการใหม่ที่ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายและปรับปรุงด้านประสิทธิภาพ เราเรียกทั้งหมดนี้ว่า “ชุมชนอัจฉริยะ (smart communities)” เมื่อไม่นานมานี้ เมืองแห่งหนึ่งในรัฐ Texas ได้แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าความสมาร์ทหรือความเป็นระบบอัจฉริยะ สามารถช่วยชีวิตผู้คนได้อย่างไร ด้วยการติดตาม (tracking) การแพร่กระจายของปัญหาด้านการเจ็บป่วย ประเภทของโรคและพื้นที่ที่มีการโทรแจ้งสายด่วน 911 เข้ามาในแต่ละช่วงเวลา เจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยสาธารณะสามารถระบุได้ถึงปริมาณของการเจ็บป่วยด้วยภาวะหัวใจวายที่เพิ่มจำนวนขึ้นในช่วงเช้าของเดือนในฤดูร้อนในชุมชนแห่งหนึ่ง ข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับนี้ นำไปสู่การจัดเตรียมรถพยาบาลให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในช่วงระยะเวลาที่มีความต้องการใช้งานสูงสุดภายในพื้นที่แห่งนั้น เพื่อปรับระยะเวลาที่ใช้ในการตอบสนองต่อการแจ้งเหตุทำได้ดีขึ้น และสามารถช่วยชีวิตของผู้ที่ประสบภาวะหัวใจได้ในที่สุด จากมุมมองของภาครัฐ ชุมชนอัจฉริยะแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการที่จะบริหารจัดการตัวเมืองได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถประหยัดเงินในกระบวนการต่างๆ ได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน (workflow) ให้กับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ พร้อมกับช่วยรับมือกับข้อมูลท่วมท้นที่หน่วยงานภาครัฐต้องเผชิญในช่วงเวลาของการปฏิรูปสู่ดิจิทัลนี้ แต่การจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของการเป็นชุมชนอัจฉริยะได้นั้น หน่วยงานภาครัฐต้องดำเนินการปฏิรูปอย่างชาญฉลาดและอย่างรวดเร็ว ด้วยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางด้านไอทีให้มีความทันสมัย โดยการปฏิรูปสู่ดิจิทัล (digital transformation) ได้เรียกร้องให้เมืองทั้งหลายให้การสนับสนุนอุปกรณ์ปลายทาง (edge) การวิเคราะห์ข้อมูลในระดับแอดวานซ์ และสภาพแวดล้อมทางด้านคลาวด์เพิ่มมากขึ้น แต่ต้องลดความเสี่ยงในด้านช่องโหว่ของการรักษาความปลอดภัย  

แนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างความเป็นอัจฉริยะ

เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องตระหนักว่า แม้การเดินทางไปสู่กระบวนการปฏิรูปดิจิทัลจะเป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจงสำหรับพื้นที่ในแต่ละเมืองหรือภูมิภาค การดำเนินการตามอย่างแนวการปฏิบัติที่ดีที่สุดจะเป็นการจัดเตรียมเครื่องมือที่ถูกต้องให้กับพวกเขาในการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ที่กีดขวางอยู่ พร้อมมุ่งหน้าไปสู่การเริ่มต้นเป็นสมาร์ทคอมมูนิตี้หรือชุมชนอัจฉริยะ - พูดถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ไม่ใช่กระบวนทัศน์ (paradigm) เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐมุ่งสู่ความสำเร็จ ซีไอโอ ควรจะกำหนดกรอบของสมาร์ทคอมมูนิตี้ในเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์ของประชาชน และการปรับปรุงธรรมาภิบาล ทั้งนี้ แนวคิดหรือคอนเซปท์ของสมาร์ทซิตี้ถือเป็นสิ่งที่ดีในการสร้างวิสัยทัศน์ -ให้คำมั่นในด้านการเงินในการมุ่งสู่ความสมาร์ท การติดตั้งเพื่อนำเทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆ มาใช้งานจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรเป็นจำนวนมาก รวมถึงการจ่ายเงินลงทุนล่วงหน้า การวางแผนดำาเนินงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์จึงมีความสำคัญทั้งนี้ ซีไอโอจำเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงแผนคืนทุนด้านการเงินที่อาจมาในรูปแบบการเพิ่มภาษีรายได้ ลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น หรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น -มุ่งเน้นชุมชนเป็นหลัก การก้าวสู่ความสมาร์ทควรแก้โจทย์ที่เป็นปัญหาสำหรับประชาชน หนึ่งในแนวทางปฏิบัติที่ได้ผลดีคือการเข้าไปมีส่วนร่วมในการ “สร้างวิสัยทัศน์” ร่วมกับชุมชน เพื่อค้นหาว่าคนเหล่านี้ให้ความสนใจเรื่องใด พร้อมกับหาวิธีในการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆ มาช่วยแก้ไขความกังวลเหล่านี้ หากคนภายในพื้นที่นี้มีความกังวลเรื่องของความปลอดภัย ก็สามารถนำไฟถนนอัจฉริยะมาใช้ในการโปรโมทเรื่องของความปลอดภัยได้ โดยต้องชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของโครงการชุมชนอัจฉริยะที่ประสบความสำเร็จ -พิจารณาเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก อันดับสุดท้าย และตลอดเวลา เมื่อมีการนำอุปกรณ์มาใช้งานมากขึ้น มีการเก็บรวบรวมข้อมูลมากขึ้น ทั้งผู้นำไอทีและผู้นำชุมชนจึงต้องระมัดระวังเรื่องการป้องกันบนไซเบอร์มากยิ่งขึ้น และต้องมั่นใจว่ามีการปกป้องในทุกช่องทางที่มีแนวโน้มว่าอาจโดนโจมตี ฉะนั้น บรรดาผู้เชี่ยวชาญจึงเห็นพ้องว่าต้องพิจารณาและให้ความใส่ใจเรื่องการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ทั้งสำหรับการใช้งาน IoT และในชุมชนอัจฉริยะตั้งแต่แรกเริ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่ช่องโหว่ในสภาพแวดล้อม IoT อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องแบบโดมิโนได้ -ปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัย เป็นการลงทุนด้านทรัพยากรที่ให้ความคุ้มค่า กระบวนการนี้ต้องมีการพิจารณาระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิม เพื่อหลีกเลี่ยงไซโลข้อมูล พร้อมปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย โดยผู้นำควรพิจารณาโซลูชั่นอย่างระบบโครงสร้างผสานรวมแบบคอนเวิร์จและไฮเปอร์คอนเวิร์จ ที่ให้ความสามารถในการขยาย ให้ความยืดหยุ่นและทำงานได้อย่างสอดประสาน การทำให้กระบวนการทำงานและการดำเนินงานไอทีที่ต้องทำอยู่เป็นประจำดำเนินไปได้โดยอัตโนมัติจะช่วยได้มาก -ตามรอยความสำเร็จของโครงการก่อนหน้า เมืองต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงหรือตัวแทนหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องที่มีแนวคิดริเริ่มเรื่องเมืองอัจฉริยะ หรือสมาร์ทซิตี้ นพดล ปัญญาธิปัตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ อยู่แล้ว สามารถให้คำแนะนำได้ นอกจากนี้พันธมิตรด้านเทคโนโลยีที่เคยทำงานร่วมกับภาครัฐในการนำโครงการสมาร์ทคอมมูนิตี้มาปรับใช้ ยังสามารถช่วยประเมินได้ว่าต้องอาศัยปัจจัยอะไรบ้างในแง่ของการปรับปรุงระบบไอทีให้มีความทันสมัย รวมไปถึงการบริหารจัดการข้อมูล งบประมาณ และกลยุทธ์ต่างๆ ในการนำไปปรับใช้ เมื่อก้าวสู่ขั้นตอนถัดไปของการดำเนินตามความริเริ่มด้านชุมชนสมาร์ท ขอให้คิดถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเหล่านี้ไว้ และเอาความก้าวหน้าที่เกิดเป็นแรงผลักดันลองดูตัวอย่างจากเมืองอัจฉริยะชั้นนำที่เริ่มดำเนินการไปแล้ว เช่น Barcelona สิงคโปร์ และ New York ก็จะเห็นถึงศักยภาพในการปรับปรุงคุณภาพชีวิต โปรแกรมที่เมืองเหล่านี้ใช้ดำเนินการในปัจจุบันพิสูจน์ให้เห็นถึงความคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นระบบแสงสว่างจาก LED เพื่อปรับปรุงการใช้พลังงานได้ดียิ่งขึ้น ถังขยะอัจฉริยะที่ใช้ระบบสุญญากาศและพื้นที่จัดเก็บที่อยู่ใต้ดินเพื่อลดมลพิษด้านกลิ่นและเสียง ความสำเร็จเหล่านี้ช่วยสร้างความเคลื่อนไหวในภาพใหญ่ขึ้น สร้างความริเริ่มที่ชาญฉลาดมากขึ้น เป็นความสามารถโดยรวมในการแก้ไขปัญหาท้าทายด้านสังคมและเศรษฐกิจที่จัดการยากที่สุดในปัจจุบัน โดยซีไอโอของหน่วยงานภาครัฐต่างก็ยังกังขาว่าจะเริ่มโดยที่ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ได้อย่างไร แต่การอาศัยความสำเร็จเหล่านี้ก็เป็นเสมือนรากฐานสำหรับเทศบาลเมืองของชุมชน ซึ่งบางคนอาจเรียกว่าเป็นความสมาร์ท “หากปราศจากความก้าวหน้าและการเติบโตที่ต่อเนื่อง คำว่าความสำเร็จและการบรรลุผลสำเร็จ ก็จะไม่มีความหมาย” Benjamin Franklin ได้กล่าวไว้   อ่านเพิ่มเติม   นพดล ปัญญาธิปัตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์
คลิกอ่านบทความทางธุรกิจอื่นๆ ได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนมกราคม 2563 ได้ในรูปแบบ e-Magazine