รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เปิดให้บริการเรียบร้อยแล้ว โดยเชื่อมต่อ 3 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ ช่วยหนุนราคาที่ดินในบริเวณที่รถไฟฟ้าพาดผ่าน และความสนใจซื้อของผู้บริโภคให้เพิ่มมากขึ้น
"รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว" เชื่อม 3 จังหวัดกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ย่นเวลาเหลือชั่วโมงครึ่ง การเปิดเดิน "รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว" ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต นอกจากจะเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะแล้ว ยังช่วยลดปริมาณการจราจรที่คับคั่งบนถนนพหลโยธิน และย่นระยะเวลาเดินทาง เดิมการเดินทางเชื่อม 3 จังหวัด หากขับรถส่วนตัวหรือใช้ระบบอื่นเดินทางจะใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือครึ่งค่อนวัน แต่เมื่อรถไฟฟ้า BTS เปิดบริการเต็มระบบ จะใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวน รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เมื่อเปิดให้บริการเดินรถเต็มระบบ จากสถานีคูคต (N24) ไปจนถึงสถานีเคหะฯ (E23) สถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จะมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 68.25 กิโลเมตร จำนวน 59 สถานี มีอาคารจอดแล้วจร 3 แห่งรองรับการเดินทาง โดยช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ อยู่สถานีเคหะฯ จอดได้ 783 คัน ส่วนช่วงหมอชิต-คูคต อยู่บริเวณถนนพหลโยธิน กม.25 ติดสถานีแยก คปอ. จอดรถได้ 1,042 คัน และสถานีคูคต สามารถจอดรถได้ 713 คัน โดยเส้นทางดังกล่าว ถือเป็นหนึ่งในเส้นทางรถไฟฟ้าที่มีความสำคัญของกรุงเทพฯ โซนเหนือ แนวรถไฟฟ้าพาดผ่านสถานที่ราชการและย่านชุมชนต่างๆ อาทิ ย่านสะพานใหม่ สายหยุด ตลาดยิ่งเจริญ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ โรงเรียนนายเรืออากาศ ย่านลำลูกกา และคูคต จากการขยายตัวของโครงข่ายรถไฟฟ้าที่กระจายตัวครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ส่งผลให้การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยกระจายตัวสู่พื้นที่รอบนอกปริมณฑลและชานเมืองเพิ่มมากขึ้น ราคาประเมินที่ดินรอบใหม่ แนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพิ่มขึ้น จากการเก็บข้อมูลราคาประเมินที่ดินแนวรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ในรอบปี 2564-2567 ของกรมธนารักษ์ พบว่า ราคาประเมินที่ดินในปทุมธานี เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.12 ราคาประเมินสูงสุดถนนพหลโยธิน (ธูปะเตมีย์-ซอยพหลโยธิน 87) ลำลูกกา 100,000 บาท/ตารางวา ต่ำสุดเป็นที่ดินไม่มีทางเข้าออกลำลูกกา 600 บาท/ตารางวา มีรายละเอียดดังนี้- ถนนพหลโยธิน (จากธูปะเตมีย์-ซอยพหลโยธิน 87) 100,000 บาท/ตารางวา
- ถนนพหลโยธิน 90,000-100,000 บาท/ตารางวา
- ถนนรังสิต-ปทุมธานี 75,000-100,000 บาท/ตารางวา
- ถนนติวานนท์ (306) 45,000-60,000 บาท/ตารางวา
- ทางหลวงสายนนทบุรี-ปทุมธานี (307) 40,000-50,000 บาท/ตารางวา
- ถนนรังสิต-ปทุมธานี (346) 35,000-50,500 บาท/ตารางวา
- ถนนคลองหลวง-บางขันธ์ 25,000-47,500 บาท/ตารางวา
- ทางหลวงสายนนทบุรี-บางบัวทอง (345) 20,000-40,000 บาท/ตารางวา
- ถนนพหลโยธิน-ลำลูกกา (ปท.3312) 14,000-56,000 บาท/ตารางวา
- ถนนพหลโยธิน ช่วงกรมทหารราบที่ 11-วงเวียนบางเขน-แยกกรมพลาธิการทหารอากาศ-ถนนลำลูกกา 130,000-250,000 บาท/ตารางวา
- ถนนรามอินทรา 170,000 บาท/ตารางวา
- ถนนสุขุมวิท ช่วงทางด่วนเฉลิมมหานคร-แยกอโศกมนตรี 750,000 บาท/ตารางวา
- ถนนพระราม 4 450,000-500,000 บาท/ตารางวา
- ถนนทองหล่อ 500,000 บาท/ตารางวา
- ถนนบางนา-ตราด 140,000-200,000 บาท/ตารางวา
- ถนนสุขุมวิท 15,000-160,000 บาท/ตารางวา
- ถนนบางนา-ตราด 45,000-100,000 บาท/ตารางวา
- ถนนเทพารักษ์ 50,000-120,000 บาท/ตารางวา
- ถนนปู่เจ้าสมิงพราย 120,000 บาท/ตารางวา
- ถนนตำหรุ-บางพลี 30,000-40,000 บาท/ตารางวา
ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine