กลยุทธ์ธุรกิจรับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว - Forbes Thailand

กลยุทธ์ธุรกิจรับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

FORBES THAILAND / ADMIN
31 Jul 2017 | 01:20 PM
READ 3832
วิกฤตซับไพรม์ (Subprime Crisis) หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) ในช่วงปี 2550 - 2551 ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกถดถอย สถาบันการเงินชั้นนำในหลายประเทศอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการล้มละลาย จนรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงเพื่อให้อยู่รอดได้ถึงแม้ว่า รัฐบาลและธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศได้ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนปรน เช่น การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำาถึงต่ำามาก การเข้าซื้อสินทรัพย์ของธนาคารโดยรัฐบาลเพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ หรือ มาตรการคิวอี (QE - Quantitative Easing) ควบคู่ไปกับนโยบายการคลังแบบขยายตัวเพื่อกระตุ้นภาคเศรษฐกิจต่างๆ อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดวิกฤตดังกล่าว แม้ว่าในช่วงปี 2559 เป็นต้นมา ภาวะเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลกมีสัญญาณการฟื้นตัว แต่การฟื้นตัวดังกล่าวสะท้อนเพียงเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้นโดยที่ความเปราะบางของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของหลายประเทศยังคงมีอยู่รวมถึงความเสี่ยงหลายด้านรุมเร้า สำหรับไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ความไม่มั่นคงทางการเมืองภายในประเทศ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่หนี้สินครัวเรือนคิดเป็นสัดส่วนเกินร้อยละ 80 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ได้รับการจัดทำาขึ้นโดยเน้นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้นวัตกรรม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่เพื่อให้ทันกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในระดับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว  

สำรวจกลยุทธ์ภาคเอกชน

สำหรับในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ดีลอยท์ (ประเทศไทย) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นกับผู้บริหารบริษัทไทยและบริษัทข้ามชาติ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 โดยที่ผู้บริหารระดับสูง (ผู้บริหาร) มากกว่า 100 รายจากอุตสาหกรรมการผลิตและบริการเข้าร่วมตอบแบบสอบถามครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในมุมมองและประสบการณ์ การกำาหนดกลยุทธ์แผนธุรกิจ และการดำาเนินกิจกรรมเชิงกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ผลการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้พบว่าในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้บริหารจะเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจโดยใช้เครื่องมือทางการบริหารหลายประเภทเข้ามาช่วย เช่น การควบคุมต้นทุนการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเงินทุนหมุนเวียน การจัดทำแบบจำลองทางการเงินการใช้กลยุทธ์ควบรวมและเข้าครอบครองกิจการ โดยมากกว่าร้อยละ 80 ของผู้บริหารให้ความเห็นว่า การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมาอยู่ในภาวะชะลอตัวแบบปานกลาง และผู้บริหารกว่าร้อยละ 50 ได้ประเมินการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยว่าไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ และร้อยละ 55 ของผู้บริหารที่ตอบแบบสำรวจเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัว กลับมามีอัตราการเจริญเติบโตตามปกติได้ภายในระยะเวลาประมาณ 3 ปี ในประเด็นเรื่องประสบการณ์การเลือกใช้กลยุทธ์ ผู้บริหารส่วนใหญ่สรุปว่า 1. การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินให้มีประสิทธิภาพ 2. การเน้นลูกค้าและการลงทุนที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์และ 3. การบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในอุตสาหกรรม โดยทั้ง 3 หัวข้อเป็น 3 กลยุทธ์หลักที่ถูกเลือกดำเนินการในภาวะที่เศรษฐกิจไทยชะลอตัว โดยผู้บริหารยังมองถึงปัจจัยความเสี่ยง 3 ด้าน ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศจีน การค้าระหว่างประเทศที่เซื่องซึม และการลดลงของราคาพลังงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังระบุถึงการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทส่วนใหญ่ที่คล้ายคลึงกันหรือไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ แม้ระดับความรุนแรงของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจะแตกต่างกัน โดยบริษัทส่วนใหญ่มักจะดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจโดยไม่คานึงถึงระดับความรุนแรง และระยะเวลาที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัว ขณะเดียวกันประสบการณ์ของผู้บริหาร ได้สะท้อนว่า การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของบริษัททุกขนาดธุรกิจยังไม่มีความแตกต่างกันในเชิงสถิติ โดยอ้างอิงผลการสำรวจในครั้งนี้ดีลอยท์เกิดคำถามที่ท้าทายว่าจริงหรือไม่ที่บริษัทกำหนดกลยุทธ์ แผนธุรกิจ และดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ได้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา สำหรับในภาพรวมของผู้บริหารที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้เห็นตรงกันว่า บริษัทของตนดำเนินธุรกิจในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในระดับปานกลางเป็นระยะเวลาที่ยาวนานและมีการดาเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เน้นเรื่องการบริหารสินทรัพย์ และหนี้สินให้มีประสิทธิภาพ การลงทุนที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ และการบริหารความเสี่ยงและมีความเชื่อมั่นว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยมีผลกระทบเชิงบวกต่อธุรกิจของบริษัทท้ายที่สุด ดีลอยท์มีข้อเสนอแนะจากประสบการณ์ให้บริการลูกค้าที่เผชิญปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยในลำดับแรก ผู้บริหารต้องประเมินว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจนั้นอยู่ในภาวะไม่รุนแรงปานกลาง หรือ รุนแรงมาก ทั้งนี้ ผู้บริหรระดับสูงต้องตระหนักและประเมินผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่มีต่อการดำเนินงานและผลประกอบการของบริษัทในมิติต่างๆ เพื่อลดและควบคุมผลกระทบดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีการเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในอนาคตได้อย่างสอดคล้องกับระดับความรุนแรงที่คาดการณ์ไว้ และเมื่อเศรษฐกิจกลับมาเจริญเติบโตตามปกติ บริษัทที่มีการเตรียมความพร้อมดีและเรียนรู้จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จะมีโอกาสพลิกกลับมาเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน สหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล รองผู้อำนวยการ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ชโทมัทสุ ไชยยศ จำกัด
คลิกอ่าน "กลยุทธ์ธุรกิจรับเศรษฐกิจโลกชะลอตัวโดย สหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล" ฉบับเต็ม ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ มิถุนายน 2560 ในรูปแบบ e-Magazine