การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจด้านการเงิน การธนาคาร และการลงทุน ที่เราคุ้นเคยกันมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นั้นมีเบื้องหลังมาจากการประยุกต์เทคโนโลยีต่างๆ เข้ากับธุรกรรมทางด้านการเงินจนเกิดเป็นคำว่า Fintech
หากย้อนพิจารณาก็จะพบว่าทุกอย่างต่างล้วนมีความเกี่ยวข้องกับ Fintech แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น การโอนเงินให้เพื่อน ให้ญาติ ผ่านทาง Mobile Banking การสั่งของ Online โดยการหักเงินผ่านระบบบัตรเครดิต อาทิ VISA, Mastercard การเริ่มต้นผ่อนชำระกับผู้ประกอบการ การลงทุนซื้อขายหุ้นผ่านระบบ Online หรือ ธุรกิจประกันที่ประยุกต์ใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายในการเก็บข้อมูลเพื่อพิจารณาค่าเบี้ยประกัน หรือการเกิดขึ้นใหม่ของบริษัทสตาร์ทอัพประกัน ที่ใช้ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และ AI ในการพิจารณาเบี้ยกัน เป็นต้นธุรกรรมไร้เงินสด (Cashless Payment) ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีการเข้าถึง ระบบ Internet ที่ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และ ติดอันดับต้นๆ ของกลุ่มประเทศ Southeast Asia (คนไทยสามารถเข้าถึง Internet ได้ถึง 69.5% ขณะที่การใช้โทรศัพท์ มีผู้ใช้ถึง 129.7% ข้อมูล ณ ม.ค. 2021) ซึ่งอาจจะเป็นรองแค่สิงคโปร์เท่านั้น ดังนั้น คาดว่าการเติบโตของธุรกิจ Fintech ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยน่าจะสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี ที่มา: https://datareportal.com/reports/digital-2021-thailand, ShiftProcessing.com เมื่อหันมาพิจารณาข้อมูลต่างประเทศ จากแผนภาพที่ 1 หากเปรียบเทียบจะพบว่าประเทศที่มีการเข้าถึง Internet สูงย่อมถือว่ามีระบบพื้นฐานที่ดีเพียงพอในการใช้ธุรกรรม FinTech แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า การใช้จ่ายด้วยระบบไร้เงินสด (Cashless) ในสหรัฐฯ ยังต่ำกว่าร้อยละ 50 ของธุรกรรมทั้งหมด ขณะที่อินเดียมีการเข้าถึง Internet ยังไม่สูงนัก การใช้ธุรกรรมไร้เงินสดจึงอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ดังนั้น หากมองถึงโอกาสในการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่ายังมีอีกมาก (โดยเฉพาะหากมองไปยังอนาคตที่การเข้าถึง Internet จะง่ายมากยิ่งขึ้นกว่านี้ แม้ในบางประเทศจะต้องใช้งบลงทุนสูงในการติดตั้งระบบ Internet อาจจะมาจากปัจจัยพื้นฐานของประเทศที่ยังไม่อำนวยมากนัก แต่การเกิดขึ้นของโครงการ SpaceXStarLink ซึ่งเป็นวงโคจรดาวเทียมระดับต่ำ จะทำให้ทุกคนในโลกสามารถใช้ Internet ได้ ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการเชื่อมต่อในหลายพื้นที่ แม้จะมีราคาสูงในตอนต้น แต่ท้ายสุดแล้วอุปสรรคทางด้านราคาก็จะหมดไป)Asia Pacific และ Europe เป็นกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตสูง
นอกจากนี้ ยังพบว่าตัวเลขคาดการณ์ Cashless Transaction Volume (กิจกรรมที่เกิดจากธุรกรรมไร้เงินสด) ในอีกไม่เกิน 10 ปี หรือ ภายในปี 2030 จะมีปริมาณการใช้ธุรกรรมไร้เงินสดเพิ่มสูงถึงร้อยละ 82 ระหว่างปี 2020 - 2025 และจากปี 2025 - 2030 จะยังเพิ่มขึ้นได้ต่ออีกร้อยละ 61 โดยปริมาณที่สูงเกิดขึ้นจากประเทศกลุ่ม Asia Pacific และ Europe ที่มา: PwC Strategy & Global Payment Model 2021การเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมใหม่ๆ ของธุรกิจในกลุ่ม FinTech
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การเกิดขึ้นของธุรกรรม FinTech ต่างๆ ยังอยู่ในระดับแค่เพียงเริ่มต้น หากย้อนกลับไปการแลกเปลี่ยนเงินผ่านเครื่องมือเริ่มต้นที่เครื่อง ATM ในยุคปี 1960 ตามมาด้วยการใช้บัตรเครดิต และล่าสุดการโอนเงินผ่านระบบโปรแกรม Digital Banking นั้นเป็นการค่อยๆ เปลี่ยน เปรียบเทียบได้กับการวิวัฒนาการ หรือ Evolution ที่ต้องอาศัยระยะเวลา แต่หลังจากนี้การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือ Revolution ดังนี้การเกิดขึ้นของ Central Bank Digital Currencies (CBDC)
-ปัจจุบันมีเพียง 5 ประเทศที่เป็นผู้ใช้ CBDC แต่การเปลี่ยนแปลงน่าจะเห็นชัดเจนมากขึ้น คือการประยุกต์ใช้ CBDC ในประเทศจีน ล่าสุดกำลังอยู่ในช่วงของการทดลอง และจะเปิดให้ใช้กว้างขึ้นในเทศกาลโอลิมปิกในฤดูหนาวปี 2022 ขณะที่ไทยเราจะเริ่มใช้ภายในปี เม.ย. 2022 ซึ่งเป็นโครงการต่อยอดจาก อินทนนท์ ชื่อ Retail CBDC (ใช้ในประชาชนกลุ่มเล็ก) และคาดว่าจะใช้งานจริงในปี 2023 -CBDC จะเป็นตัวเร่งให้เกิด Digital Economy ให้เร็วมากขึ้นไปอีก เนื่องจากการหันมาใช้ CBDC กันอย่างแพร่หลาย ย่อมส่งผลให้การหมุนเวียนของเงิน (Money Velocity) ที่สูงขึ้นจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม -เราสามารถประยุกต์ใช้ CBDC ได้ตรงกับเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น โครงการช่วยเหลือจากภาครัฐในช่วงโควิด-19 การโอนเงินอาจจะล่าช้า หรือ ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย แต่การใช้ CBDC ด้วยความสามารถของ Blockchain จะช่วยให้เงินเข้าถืงมือประชาชนได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และตรงตามวัตถุประสงค์การประยุกต์เทคโนโลยี Blockchain แพร่หลายมากขึ้น
-ตอนนี้เราคงรู้จัก Bitcoin ในฐานะสกุลเงิน Digital ที่เกิดจากเทคโนโลยี Blockchain ไปแล้ว แต่การใช้ Blockchain ในธุรกรรมด้าน FinTech ยังมีนวัตกรรมอีกมากมายที่จะเกิดขึ้นได้ อาทิ การประยุกต์ใช้ FinTech ไปกับระบบ E-Commerce และ Supply Chain ทั้งหมด ตั้งแต่การจ่ายเงินจนกระทั่งรับส่งสินค้าโดยไม่มีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง หรือ ใช้คนน้อยที่สุด ผ่านความสามารถของ Smart Contract ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ Blockchain รวมไปถึงธุรกรรมขายบ้าน หรือ รถยนต์มือ 2 เป็นต้นธุรกรรมผ่อนชำระ (Buy Now Pay Later) หนุนธุรกิจ E-Commerce
-ปัจจุบันยอดธุรกรรมผ่อนชำระ (Buy Now Pay Later หรือ BNPL) โดยเฉพาะในกลุ่มแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ E-commerce เปิดบริการให้สามารถผ่อนชำระได้มากขึ้น เราเชื่อว่าเป็นผลมาจากการเก็บข้อมูลลูกค้า (Big Data) ทำให้เข้าใจพฤติกรรมการใช้จ่าย และการสร้างระบบฐานข้อมูล (Credit Scoring) ที่ช่วยในการอนุมัติได้อย่างรวดเร็ว และจำกัดความเสี่ยงให้กับบริษัท – McKinsey’s Consumer Leding Pools ระบุเม็ดเงินทั้งหมดในหมวดธุรกรรมกู้ยืมแบบไม่มีหลักประกันในรูปแบบ BNPL จะโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 ระหว่างปี 2020–2023 -ล่าสุดผู้ประกอบการหลายบริษัทได้เตรียมความพร้อมขยายธุรกิจไปยัง BNPL อาทิ Paypal เข้าไปซื้อบริษัทสตาร์ทอัพ ญี่ปุ่น Paidy มูลค่า 2.7 พันล้านเหรียญฯ ซึ่ง Paidy ถือว่าเป็นบริษัทชั้นนำในธุรกิจ BNPL นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นยังถือว่าเป็นตลาด E-commerce ที่มีขนาดใหญ่อันดับ 3 ของโลก แต่ประชาชนยังชำระสินค้าด้วยเงินสดอยู่อีกมาก ส่วนในด้านธุรกรรม BNPL กำลังเป็นที่นิยมของวัยรุ่นในญี่ปุ่นอีกด้วย จะเห็นได้ว่าการใช้จ่ายผ่านธุรกรรมไร้เงินสด (Cashless Payment) จะยังสร้างโอกาสให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้องได้อีกมาก ขณะที่การใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ก็จะยิ่งช่วยให้ธุรกิจ FinTech เป็นหนึ่งในธีมการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว อ้างอิงข้อมูล: https://datareportal.com/reports/digital-2021-thailand PwC Strategy & Global Payment Model 2021 Shiftprocessing.com, ที่มาภาพ: Pixabay บทความโดย กันติพัฒน์ วงศ์สุคนธ์ Head of Wealth Advisory บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine