เศรษฐกิจบนฐาน Digital Economy - Forbes Thailand

เศรษฐกิจบนฐาน Digital Economy

FORBES THAILAND / ADMIN
27 Jun 2018 | 06:16 PM
READ 12330

บทบาทและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ และการอยู่รอดของธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ในบริบทของโลกปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจในยุคดิจิทัล อีโคโนมี (Digital Economy) เกิดนวัตกรรมเทคโนโลยีมากมาย ทำให้ไม่สามารถทำการค้าขายและบริการแบบวิถีเดิมๆ ได้อีกต่อไป

อินเทอร์เน็ตมีการเชื่อมโยงถึงกันและกันได้ทั่วโลก ทั้งอุปกรณ์ คน ภาพและข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง (cloud computing), การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data analytics), ปัญญาประดิษฐ์ (artifitial intelligence-AI), การเรียนรู้เองของสมองกลคอมพิวเตอร์ (machine learning-ML), อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงก์ส (internet of things-IOT), หุ่นยนต์ (robot), บล็อกเชน (blockchain), ฟินเทค (fintech) และอื่นๆ ซึ่งล้วนจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจและชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   Digital Disruption & Transformation กระแสของ Technology Disruption & Digital Transformation ของโลกภายใต้ความท้าทาย ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต่างต้องตื่นตัวให้ความสำคัญและเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเปรียบเสมือนการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ผ่านมาในยุค 3.0 แต่กระแสในครั้งนี้รุนแรงและมีผลกระทบมากกว่ามาก การเปลี่ยนแปลงไปสู่ การทำธุรกรรมบนฐานดิจิทัล (e-Government Services & e-Business Services) มีความสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของเอกชนต่างต้องทุ่มเท เรียนรู้ เข้าใจ เข้าถึงการพัฒนาอย่างเร่งด่วน  e-Government Services (ภาครัฐ) และ e-Business Services (ภาคเอกชน) จะต้องรีบพัฒนา เพื่อให้เกิดแพลตฟอร์ม (platform) ต่างๆ เพื่อรองรับการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลายซึ่งจะสามารถเปลี่ยนผ่านจากระบบ manual-analog เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ digitize แทน ตัวอย่างของบางประเทศที่สามารถสร้าง Platform e-Government Services เพื่อให้บริการแก่ประชาชน แก่ภาคธุรกิจเอกชนของประเทศนั้นๆ สามารถทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (online) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องเดินทางไปติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐด้วยตนเอง ทำให้ลดต้นทุนและลดค่าใช้จ่ายได้มาก และอีกตัวอย่างของธุรกิจอุตสาหกรรมภาคเอกชนของบางประเทศก็มี e-commerce platform ทำให้สามารถค้าขายได้ทั่วโลก สร้างความได้เปรียบอย่างมหาศาล   เตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ในอดีตเราจะเห็นการทำธุรกิจของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลกที่ก้าวขึ้นมาอยู่ในแนวหน้าเป็น 1 ใน 100 บริษัทของโลกมักอยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมัน อสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร การค้าปลีก  แต่ในปัจจุบันเบอร์ 1-5 กลับเป็นบริษัทที่พัฒนาธุรกิจบนฐานดิจิทัลทั้งสิ้น รายได้ของบริษัทเหล่านั้น มียอดรวมมากกว่าจีดีพีของหลายๆ ประเทศด้วยซ้ำ แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญของโลก และ Digital Disruption ได้ทำให้หลายๆ ธุรกิจแทบจะเลิกกิจการ แม้แต่โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ ธนาคาร ห้างสรรพสินค้าของหลายๆ แห่งต้องปิดสาขา และอื่นๆ การปรับเปลี่ยนไม่ทันการจะทำให้ประเทศนั้นๆ ถูกครอบงำด้านเศรษฐกิจโดยไม่รู้ตัวจากประเทศที่มีเทคโนโลยีที่เหนือกว่า ดีกว่า เร็วกว่า แต่การที่จะเปลี่ยนแปลง Digital Transformation ต้องพัฒนาทั้งประเทศ ภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนต้องร่วมมือกัน เพื่อไม่ให้ประเทศต้องเป็นผู้ตามและบริโภคซื้อแต่นวัตกรรม เทคโนโลยีของคนอื่นมาใช้งานตลอดเวลา หากไม่รีบพัฒนาให้มีของตนเองก็จะตกเป็นเบี้ยล่างตลอดไป   ปรับ Mindset ก้าวพ้นกับดัก สิ่งสำคัญที่สุดคือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและภาคธุรกิจเอกชนจะพัฒนากันอย่างไรบนพื้นฐานความเข้าใจบริบทของโลก Digital Transformation และมองโอกาสในครั้งนี้ที่รัฐบาลทุ่มเทงบประมาณมหาศาลในการลงทุนเพื่ออนาคตของประเทศ การสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี แพลตฟอร์ม Innovative Technology Platform e-Government Services & e-Business Services ของการให้บริการธุรกรรมออนไลน์จำนวนมากนั้น ยกตัวอย่างเช่น การปรับตัวใช้ประสิทธิภาพและประโยชน์ของการทำธุรกรรมทางออนไลน์ของ การบินไทย ซึ่งร่วมกับ เน็ตเบย์ ให้บริการ TG-e-Import Service Payment Gateway โดยเป็นระบบที่ออกแบบนวัตกรรมควบคู่ระหว่างเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์และการชำระเงิน (online payment) สามารถทำงานพร้อมกันในคราวเดียวกันผ่านระบบ Gateway Netbay ที่มีการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศโดยตรงระหว่างการบินไทยและธนาคาร ดังนั้น ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน จะต้องปรับเปลี่ยนแนวความคิด (mindset) เป็นอันดับแรกให้ได้ ขั้นตอนในการพัฒนาจะต้องมีความชัดเจนด้วยเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ ในอดีตที่ผ่านมาแทบทุกภาคส่วนมักมีการคำนึงแต่ระบบ IT solution เป็นอันดับแรกตามงบประมาณที่ได้รับ หากต้องการเปลี่ยนผ่านและก้าวทันโลกที่จะมา Digital Disruption นั้นต้องเน้นเรื่อง mindset และการ implement เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุด ประเทศจึงหนีพ้นกับดักของการเป็น analog ที่มีวิถีการทำงานแบบเดิมๆ (manual) ปรับเปลี่ยนเป็น Digital Transformation  
พิชิต วิวัฒน์รุจิราพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน)
 
คลิกอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Forbes Thailand Magazine ฉบับ พฤษภาคม 2561 ในรูปแบบ e-Magazine