Lei Jun นำ Xiaomi รุกธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า - Forbes Thailand

Lei Jun นำ Xiaomi รุกธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า

Lei Jun มหาเศรษฐีผู้ร่วมก่อตั้ง Xiaomi เดินหน้านำบริษัทรุกธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยมูลค่าการลงทุน 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ในอีก 10 ปีต่อจากนี้ เพื่อเข้าสู่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่เฟื่องฟูของจีน

Lei Jun

ผมจะบริหารจัดการโปรเจคนี้ด้วยตนเอง Lei กล่าว พร้อมเสริมว่าในอนาคต ผมหวังว่าจะได้เห็นรถยนต์ของ Xiaomi วิ่งอยู่บนท้องถนนทั่วโลก

การประกาศอย่างเป็นทางการของทางบริษัทนับเป็นการยืนยันข่าวลือเรื่องการเข้าลงทุนในธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าที่ออกมาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ปัจจุบัน ธุรกิจหลักของ Xiaomi คือ การจัดจำหน่ายสมาร์ทโฟน ซึ่งสร้างรายได้ให้กับบริษัทในปีที่แล้วถึงร้อยละ 60 คิดเป็นมูลค่า 2.459 แสนล้านหยวน (3.74 หมื่นล้านเหรียญ) โดยนับเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของโลก ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ร้อยละ 12 

ทั้งนี้ ท่ามกลางกระแสการหดตัวลงของตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลก Canalys บริษัทวิจัยด้านการตลาดรายงานว่า มีการส่งมอบสมาร์ทโฟนทั่วโลกอยู่ที่ 1.26 พันล้านชิ้นในปี 2020 ลดลงจากปีก่อนราวร้อยละ 7 ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19

ด้าน Lei Jun ผู้ซึ่งได้รับอานิสงส์จากสัดส่วนการถือครองหุ้นในบริษัท มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 2.4 หมื่นบ้านเหรียญ ครองตำแหน่งเป็นมหาเศรษฐอันดับที่ 13 ของจีนจากการประเมินของ Forbes

อย่างไรก็ดี นอกจากการหดตัวของตลาดแล้ว ทางบริษัทยังได้รับผลกระทบจากนโยบายต่างประเทศในสหรัฐฯ เช่นกัน โดยล่าสุดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผู้พิพากษาสหรัฐฯ ถอดถอน Xiaomi ออกจากบัญชีดำของรัฐบาลชั่วคราว ซึ่งเป็นคำสั่งของรัฐบาลอดีตประธานาธิบดี Donald Trump ที่กำหนดมาเพื่อสั่งห้ามให้ชาวอเมริกันลงทุนในบริษัทจีนแห่งนี้และอีกหลายๆ แห่ง ซึ่งได้ส่งผลให้หุ้นของบริษัทปรับตัวลงร้อยละ 10 หลังประกาศนโยบายดังกล่าวออกมา

ในที่นี้ นักวิเคราะห์ต่างมองว่า ธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าอาจกลายเป็นโอกาสในการเติบโตครั้งใหม่ของบริษัท หลังจากในช่วงที่ผ่านมา ผู้บริโภคชาวจีนเริ่มให้ความสนใจกับรูปแบบโมเดลรถยนต์ใหม่ที่ได้รับการเปิดเผยออกมา ที่นอกจากจะสามารถขับเคลื่อนได้อย่างอัตโนมัติแล้ว ยังเชื่อมต่อกับระบบสตรีมมิ่งเพลงและวิดีโอในรถยนต์ด้วยการสั่งการระยะไกลอีกด้วย โดยในปีนี้คาดว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในจีนจะเพิ่มเป็น 1.9 หมื่นคัน หรือราวร้อยละ 51 จากปีก่อนหน้า

บริษัทอินเทอร์เน็ตอาจคิดว่าพวกเขามีข้อได้เปรียบ เพราะรถยนต์เริ่มมีความอัจฉริยะมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขนาดเปรียบได้กับคอมพิวเตอร์ที่มี 4 ล้อ Yale Zhang นักวิเคราะห์จาก Automative Forsight บริษัทให้คำปรึกษาในเซี่ยงไฮ้กล่าว พร้อมเสริมว่าแต่การผลิตรถยนต์นำมาซึ่งความเสี่ยงที่สูงมาก เพราะไม่มีใครรู้ว่าการลงทุนของ Xiaomi ในครั้งนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่

ในที่นี้ Zhong ได้ชี้ให้เห็นถึงวัฏจักรเศรษฐกิจของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในจีนว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กว่า 100 สตาร์ทอัพต่างเดินหน้าคว้าโอกาสในตลาดที่กำลังเติบโตประเภทนี้ แต่หลังจากที่โครงการเงินอุดหนุนของรัฐบาลเริ่มลดน้อยลง ก็เหลือบริษัทเพียงไม่กี่แห่งที่ยังคงอยู่

สำหรับประเด็นนี้ Lei เผยว่า เขาได้ตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนก่อนเข้าลงทุนในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า หลังจากที่เริ่มประเมินและทำวิจัยตลาดตั้งแต่กลางเดือนมกราคมเราได้ประเมินจุดเสี่ยง และตระหนักดีว่าการลงทุนในโปรเจกต์นี้จะต้องใช้เงินหลายพันล้าน แล้วมีความเป็นไปได้ว่าอาจต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 3-5 ปีกว่าจะคืนทุน

ทั้งนี้ โฆษกของ Xiaomi ระบุว่า ทางบริษัทยังไม่สามารถให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีในการผลิตหรือเวลาในการเปิดตัวรถยนต์รุ่นแรก

โดยในช่วงก่อนหน้านี้ Lei เคยมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ผ่านทาง Shunwei Capital ธุรกิจร่วมลงทุนที่เขาร่วมก่อตั้งขึ้นในปี 2011 ที่มีบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Nio และ Xpeng อยู่ในพอร์ตฟอลิโอ ไม่เพียงเท่านี้ เขายังไ้ด้ลงทุนใน Momenta สตาร์ทอัพรถยนต์อัตโนมัติ ที่มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 1 พันล้านเหรียญหลังรอบระดมทุนในปี 2018

แปลและเรียบเรียงจากบทความ Chinese Smartphone Giant Commits $10 Billion For Electric Car Expansion เผยแพร่บน Forbes.com อ่านเพิ่มเติม: Monarch Tractor พร้อมเปิดตัว “แทรกเตอร์พลังงานไฟฟ้าไร้คนขับ” นอกตลาดสหรัฐฯ