หญิงเก่งแห่งวงการสตาร์ทอัพ เธอเรียกตัวเองว่า venture capitalist สั่งสมประสบการณ์ entrepreneur ตั้งแต่เมื่อครั้งเรียนที่อังกฤษ กระทั่งก้าวสู่วงการธุรกิจ และได้รับความไว้วางใจเป็นผู้อำนวยการดูแลกองทุน 500 TukTuks (พาร์ทหนึ่งของ 500 Startups กองทุนชื่อดังในสหรัฐอเมริกา) เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างนักลงทุนกับบริษัทสตาร์ทอัพที่มีแววโต และเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของสตาร์ทอัพดังๆ ของไทย
“การมาอยู่จุดนี้ คือการ follow passion ทุกคนในวงการสตาร์ทอัพต่างมี passion ของตัวเองมีความมุ่งมั่น ทุกคนช่วยเหลือกันเพื่อให้ประสบความสำเร็จไปด้วยกัน เหมือน one big family ส่วนเราจะรู้สึกภูมิใจมากที่เป็นฟันเฟืองหนึ่งให้เขาประสบความสำเร็จ” เป็นคำตอบของคำถามที่ว่าอะไรทำให้ ปารดา ทรัพย์ประเสริฐ ผู้อำนวยการ 500 TukTuks สาวดีกรีนักเรียนนอกด้าน Innovation Entrepreneur จากอังกฤษหลงใหลใน ecosystem นี้ จนเป็นเบื้องหลังความสำเร็จให้กับสตาร์ทอัพไทยหลายราย วันนี้ 500 TukTuks คือหนึ่งในกองทุนที่ลงทุนในสตาร์ทอัพมากที่สุดในประเทศไทย มีเงินลงทุนมากกว่า 1 พันล้านบาท เน้นนำเงินจากนักลงทุนมาบริหารและลงทุนในสตาร์ทอัพ แบ่งเป็นกองทุนแรกกว่า 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 500 ล้านบาท และกองทุนล่าสุดที่แยกออกมาอีก 20 ล้านเหรียญ หรือกว่า 600 ล้านบาท โดยใช้โมเดลความร่วมมือ 3 ด้าน คือ สตาร์ทอัพ กลุ่มเวนเจอร์ แคปปิตัล (VC) และบริษัทขนาดใหญ่ในไทย ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มธุรกิจ TCP บริษัทสหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัทวัชรพล และบริษัทอาคเนย์ประกันภัย โฟกัสการลงทุนในกลุ่มสตาร์ทอัพที่ทำตลาดในไทย และขยายไปยังกลุ่มประเทศ CLMV โดยพร้อมลงทุนตั้งแต่ในรอบ Seed จนถึง Series A นักลงทุนของ 500 TukTuks ประกอบไปด้วยบริษัทชั้นนำหลายแห่งของไทยและมหาเศรษฐีซึ่งสนใจในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี วันนี้ 500 TukTuks ลงทุนกับสตาร์ทอัพไปแล้วมากกว่า 50 บริษัท มีแผนลงทุนในสตาร์ทอัพเพิ่มขึ้นเป็น 100-200 บริษัทในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เป็นกองทุนเบื้องหลังที่ปั้นฝันให้สตาร์ทอัพไทยโลดแล่นได้ในระดับอินเตอร์ 500 TukTuks พยายามสร้างชุมชนสอนทำสตาร์ทอัพให้ผู้ประกอบการที่มีแวว มีฝีมือ พร้อมลุยมีผู้คอยให้คำปรึกษาดูโครงสร้างความร่วมมือขณะที่นักลงทุนที่สนใจให้เงินทุนสตาร์ทอัพในพอร์ตของ 500 TukTuks ไม่ใช่ใครก็ได้ แต่ต้องใช่นักลงทุนที่ให้ “added value” กับสตาร์ทอัพได้จริง “เราไม่ใช่แค่กองทุนแต่เป็น VC-backed ecosystem เป็นเครื่องจักรพัฒนาประเทศให้เกิดการจ้างงานเหมือนสหรัฐอเมริกา ที่จ้างงานเป็นแสนๆ ตำแหน่งมี digital talent เพิ่มขึ้นให้ประเทศ” หลักคิดของปารดาคือเน้นให้สตาร์ทอัพที่อยู่ในพอร์ตโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน เธอใช้คำว่าต้อง turn green หรือ มี positive cash flow “ปัญหาส่วนใหญ่ของสตาร์ทอัพคือจะเบิร์นเงินเยอะ เราไม่สนับสนุนแบบนั้น ควรเติบโตอย่างยั่งยืน จึงต้องดูอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันต้องหา strategic partner ให้ในเวลาที่เหมาะสม สตาร์ทอัพที่อยู่กับเรามีทุกประเภท ทั้งฟินเทค ทราเวลเทคพรอพเพอร์ตี้เทค เอ็ดดูเคชั่นเทค รวมถึงเฮลธ์เทค” “วงการสตาร์ทอัพไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้น ต้องทำให้เขามีโอกาสคิกออฟขึ้นมาให้ได้ อย่างน้อยใน 2 ปีนี้ เทียบเคียงเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ที่มีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นมูลค่าเกิน 1 พันล้านเหรียญแล้ว เราอยากเห็นยูนิคอร์นตัวแรกของไทยไม่เกิน 3-5 ปีจากนี้” ชีวิตช่วงแรกใน 500 TukTuks ที่ถือว่ายังเป็นกองทุนใหม่ คนภายนอกไม่เข้าใจสตาร์ทอัพ เธอ พยายามหาคนที่ช่วย educate ว่าสตาร์ทอัพต่างจากเอสเอ็มอีอย่างไร มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโลก หรือต่อประเทศไทยอย่างไร และทำไมต้องสนับสนุนความโดดเด่นของสตาร์ทอัพเมืองไทยที่แตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ คือเรื่อง customer behavior ความเข้าใจลูกค้า เธอว่าวันนี้ภาพรวมสตาร์ทอัพในไทยมีพัฒนาการดีขึ้น แต่ความเสี่ยงก็ยังมีถ้านักลงทุนไม่มีความรู้เรื่องสตาร์ทอัพ ขณะที่สตาร์ทอัพต้องรู้ valuation ของตัวเองว่าอยู่ตรงไหน หาความรู้ให้มากก่อนที่จะระดมทุน และลุ้นว่าสักวันสตาร์ทอัพไทยจะเป็นได้เหมือน Facebook, Alibaba หรือ Amazon ที่ทำได้มาแล้ว “สตาร์ทอัพอาจดูเป็นอาชีพหรือธุรกิจที่เท่ แต่จริงๆ เหนื่อยและยาก ทำทุกตำแหน่งไม่มีวันหยุดทำได้ทุกเวลา ถ้าไม่มี passion จะอยู่กับมันไม่ได้แต่ถ้าวันหนึ่งธุรกิจสำเร็จ เราจะรู้สึกภูมิใจที่ได้สร้างสิ่งที่คนใช้ได้จริงๆ หรือสร้างสิ่งที่ทำให้ประเทศเปลี่ยนไป” ภาพ: กิตติเดช เจริญพร อ่านเพิ่มเติม: พลภัทร ทรงธัมจิตติ และ Djoann Fal นำทัพ GetLinks คิดสูตรหางาน Digital Talent เปลี่ยนโลกคลิกอ่านเรื่องราวฉบับเต็มของ "500 TukTuks " ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ กรกฎาคม 2561 ในรูปแบบ e-Magazine