Garmin รายได้ Q1/67 ในไทยโต 25% ลุยเจาะเวลเนส จ่อเปิดตัว ECG App - Forbes Thailand

Garmin รายได้ Q1/67 ในไทยโต 25% ลุยเจาะเวลเนส จ่อเปิดตัว ECG App

Garmin ไตรมาส 1/67 กวาดรายได้ 1,380 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 49,680 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โตกว่า 20% ขณะที่รายได้ในไทยเติบโตกว่า 25% Garmin สะท้อนกำลังซื้อในตลาดและผู้บริโภคที่ให้ความมั่นใจในสินค้าจากกระแสการเปิดตัวสินค้าใหม่ เดินหน้าเร่งเครื่องไม่ผ่อน ปีนี้เตรียมเปิดตัว ECG App ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้


    มิสซี่ ยาง ผู้อำนวยการประจำ การ์มิน ประเทศไทย กล่าวว่า “หลังดำเนินกิจการมา 35 ปี ในไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา บริษัทฯได้ทุบสถิติการเติบโตทางรายได้ครั้งใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ด้วยยอดรับรู้รายได้สูงถึง 1,380 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 49,680 ล้านบาท เติบโตกว่า 20%

    ส่วนในประเทศไทย Garmin ได้เข้ามาเปิดสำนักงานอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2564 และได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้าชาวไทยมาโดยตลอด ไตรมาส 1/2567 ที่ผ่านมารายได้ในไทยเติบโตกว่า 25% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

    นอกจากนี้ Garmin ยังพบว่าสถิติการทำกิจกรรม (Activity) จาก Garmin Connect เฉลี่ยต่อเดือน เติบโตขึ้นกว่า 39% ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา และยังพบว่าจะมีการทำ Activity สูงขึ้นเป็นพิเศษในช่วงที่มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า กระแสการออกกำลังกายในไทยยังคงเติบโต เพียงแต่ต้องการผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้ามาช่วยกระตุ้น

    อีกทั้งคนไทยยังมีกำลังซื้อ และให้ความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ของ Garmin โดยความสำเร็จในครั้งนี้ มีแนวคิด Beat Yesterday เป็นหลักยึดสำคัญในการเดินหน้าขององค์กร ผลักดันให้เราพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้สวมใส่ทั้งในด้านดีไซน์และการส่งมอบข้อมูลสุขภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตทั้งระหว่างการซ้อม และในชีวิตประจำวันได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น”

    “นอกจากนั้นแล้วเรายังมีกลยุทธ์การขยายธุรกิจแนวดิ่ง (Vertical Integration) ซึ่งหมายถึงการที่ Garmin เป็นผู้ดำเนินการเองทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การพัฒนาด้านวิศวกรรม การผลิต การตลาด ตลอดจนการให้บริการ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรของเรา ทำให้เราสามารถควบคุมคุณภาพทั้งสายการผลิต และเพิ่มความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็ว เท่าทันอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต และการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน

    “เราจึงมั่นใจที่จะส่งมอบบริการหลังการขายที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าของเรา ผ่านการขยายเวลารับประกันสินค้านาน 2 ปีสำหรับลูกค้าที่ซื้อสินค้าเราตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังได้พัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง และล่าสุด Garmin สมาร์ทวอทช์ได้รับใบอนุญาตการใช้งานเครื่องมือแพทย์จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในเรื่องการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยแอปพลิเคชั่น (ECG App) เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งจะพร้อมให้บริการในไตรมาส 3 ปีนี้” มิสซี่ กล่าวเพิ่มเติม


    ด้าน หรรษา อาภานุกูล ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การตลาด การ์มิน ประเทศไทย กล่าวว่า “จากพอร์ตสินค้าอันหลากหลายที่ Garmin มีอยู่ ทั้งกลุ่มเวลเนส (Wellness) เอาท์ดอร์ (Outdoor) และกีฬาเฉพาะด้าน (Specialty) พบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สินค้ากลุ่มเอาท์ดอร์เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มผู้ใช้ชาวไทยคิดเป็น 48% (ในแง่ของจำนวนยูนิตที่ขายได้) รองลงมาเป็นสินค้ากลุ่มกีฬาเฉพาะด้านคิดเป็น 32% ส่วนสินค้ากลุ่มเวลเนสคิดเป็น 20%

    “ทำให้ในปีนี้ กลุ่มสินค้าเวลเนสจึงเป็นโจทย์ของเราในการทำลายภาพจำเดิมที่ผู้บริโภคมีต่อ Garmin ในฐานะสมาร์ทวอทช์สำหรับนักกีฬาและมืออาชีพ ซึ่งเราวางกลยุทธ์ว่าปีนี้จะเน้นการสื่อสารการตลาดที่เข้าใกล้ผู้บริโภคชาวไทยมากขึ้น และทำให้ผู้บริโภคเชื่อว่า Garmin คือ สมาร์ทวอทช์ที่เข้าใจคุณและเป็นสมาร์ทวอทช์สำหรับทุกคน (Garmin is what you want)”

    Garmin จึงรีเฟรชแบรนด์ ด้วยการสื่อสารผ่านเมสเสจ Be More, Beat Yesterday ที่ยังคงให้ความสำคัญกับการเชิญชวนให้ทุกคนออกไปสัมผัสประสบการณ์ใหม่ และเป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้นในทุกวัน แต่เปลี่ยนวิธีคิด และปรับมุมมองกลุ่มเป้าหมายใหม่ เพื่อทำการสื่อสารการตลาดให้ตรงกับแต่ละกลุ่มอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป็น

    (1) กลุ่มมือใหม่ (Beginner) คือกลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มหันมาสนใจดูแลสุขภาพและเริ่มต้นออกกำลังกาย

    (2) กลุ่มรักสุขภาพ (Health Concern) คือกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    (3) กลุ่มนักกีฬา (Athlete) หรือกลุ่มที่มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพเพื่อพิชิตสถิติหรือเป้าหมายใหม่ๆ

    โดย Garmin จะจัดทัพสินค้าแบบมิกซ์โปรดักต์หลากหลายดีไซน์ ตอบรับทุกความต้องการ 3 กลุ่มเป้าหมายหลัก ในราคาเริ่มต้น 5,290 – 57,990 บาท

    พร้อมปฏิวัติแผนการสื่อสารเพื่อทำการสื่อสารเข้าใกล้กลุ่มคนทั้ง 3 กลุ่ม ภายใต้แนวคิด “Garmin มีดีมากกว่าที่คิด หาข้อที่ใช่...แล้วไปต่อ” เพื่อขยายประสบการณ์การใช้งานที่เหนือกว่า ฉายภาพให้ทุกคนเห็นว่า Garmin ไม่ใช่สมาร์ทวอทช์สำหรับนักกีฬาเท่านั้น แต่สามารถเข้าไปอยู่ในไลฟ์สไตล์ของคนทุกกลุ่ม

    Garmin ยังต่อยอดจุดยืน ของการตั้งเป้าเป็นสมาร์ทวอทช์ที่เข้าใจคุณและสมาร์ทวอทช์สำหรับทุกคน (Garmin is what you want) ไปสู่การผสานเทคโนโลยีเข้ากับการใช้ชีวิตเพื่อส่งมอบสินค้าภายใต้มาตรฐานความแม่นยำของ Garmin โดยมุ่งเน้น 3 มิติสำคัญ ได้แก่

    24/7 MONITORING – ระบบที่มอนิเตอร์ข้อมูลได้ต่อเนื่อง ความอึดของอายุแบตเตอรี่ใน Garmin ทุกรุ่นที่อยู่ได้ไม่ต่ำกว่า 5 วัน ทำให้สามารถมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง

    COMFORT – ระบบเพื่อการดูข้อมูลอย่างสะดวกสบาย กับ Garmin Connect ที่เป็นตัวช่วยเก็บข้อมูลด้านสุขภาพหรือการฝึกซ้อมของผู้ใช้งานซึ่งอยู่ในแอปพลิเคชั่นเดียว ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ สามารถเรียกใช้งานและดูข้อมูลได้ทันทีที่ต้องการ

    RELIABLE TECHNOLOGY – เทคโนโลยีที่น่าเชื่อถือ ซึ่งได้แก่ FIRSTBEAT ผู้ให้ผลวิเคราะห์ด้านความเครียด การฟื้นตัว และการออกกำลังกาย มีการวิจัยความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ (HRV) มากกว่า 2 ทศวรรษ

    โดยเทคโนโลยีของ FIRSTBEAT จะแปลงข้อมูลการเต้นของหัวใจจากเซ็นเซอร์ในอุปกรณ์ของ Garmin และเปลี่ยนเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาใช้งานต่อได้จริงในรูปแบบ Stress Score และ Body Battery บนสมาร์ทวอทช์ของ Garmin ซึ่งทำให้ทุกการฝึกซ้อมและการพักผ่อนบาลานซ์ ไม่ต้องคาดเดา

    ทั้งนี้ Garmin ตั้งเป้าการเติบโตในปีนี้ในระดับ Double Digit



​​เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ : ไม่ใช่แค่มือถือ! แต่ซัมซุงใช้ AI ใน “ทีวี-เครื่องซักผ้า-ตู้เย็น-แอร์” ด้วย ตั้งเป้าเป็นผู้นำ AI-Product ทุกเซกเมนต์

ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine